‘ไม่ชอบอ่านหนังสือไม่ใช่เรื่องที่ผิด’ เพราะปัจจุบันการหาความรู้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในหนังสือเท่านั้น 📖 ซึ่งเราสามารถเลือกได้เลยว่าแบบไหนเข้ากับไลฟ์สไตล์ของเรามากที่สุด และวันนี้ AFTERKLASS ก็จะมาแบ่งปันช่องทางหาความรู้ที่สนุก แถมจำเนื้อหาได้ง่าย สำหรับคนที่ขี้เกียจอ่านหนังสือมาฝาก
1. ดูรายการแนว Edutainment จาก YouTube 💻
รายการแนว Edutainment เป็นการรวมกันระหว่างสาระความรู้ 🤓 + ความบันเทิง 🤣 มีจุดเด่นคือดึงดูดความสนใจได้ดี และทำให้คนเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย โดยเราสามารถดูรายการแนวนี้ได้ผ่านช่องทาง YouTube เช่น
📌 Point of View ช่องสายวิชาการสุดฮิตที่เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ รวมไปถึงวรรณคดีของไทยและต่างประเทศ ให้ออกมาสนุก เข้าใจง่ายและเห็นภาพ
📌สัมภเวศิลป์ ช่องที่พาไปวิเคราะห์เรื่องราวหลอนในหนัง การ์ตูน หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลก โดยเชื่อมกับศาสตร์ศิลปะ ผ่านการเล่าเรื่องอย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้น่าติดตามและร่วมลุ้นทุกอีพี
2. Podcast ฟังเพลินแถมจำง่ายกว่าอ่าน 🎧
การตั้งใจฟังจะทำให้เราจดจ่อกับสิ่งที่ได้ยิน เมื่อเรายิ่งอิน และเปิดรับสารด้วยความเข้าใจจากสิ่งที่ฟังแล้ว ก็จะช่วยให้เราจดจำเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น แนะนำ Podcast น่าฟังเพิ่มพลังสมอง เช่น
📌 R U OK ช่องเกี่ยวกับจิตวิทยาที่วิเคราะห์อารมณ์และพฤติกรรม ทำให้เราหันกลับมาสำรวจตัวเองมากขึ้น ฟังแล้วจะรู้สึกรักตัวเองเพิ่มขึ้น 200%
📌 คำนี้ดี เป็นช่องเกี่ยวกับการพูดคุยภาษาอังกฤษในหัวข้อต่าง ๆ ทั้งเรื่องใกล้ตัวรวมถึงหัวข้อแปลก ๆ ที่ดึงดูดใจ ทำให้การฝึกภาษาอังกฤษของเราจะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป
3. จด ๆ เขียน ๆ ด้วยวิธีการเรียนแบบ Online Learning ✍️
การเขียนลงบนกระดาษ เป็นหนึ่งในวิธีช่วยในการท่องจำเนื้อหา เพราะจะได้ฝึกจัดลำดับความคิด สรุปประเด็นสำคัญ และการที่จะทำให้เราเขียนได้มากที่สุดก็คือการเรียน ซึ่งเดี๋ยวนี้มีห้องเรียนมากมายถูกยกขึ้นมาวางไว้บนอินเทอร์เน็ตแล้ว เช่น
📌 ThaiMOOC เว็บไซต์เรียนออนไลน์ฟรี ที่ได้รับความร่วมมือจากรัฐ และมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย มีหลักสูตรที่หลากหลายให้เลือกเรียน
📌 CHULA MOOC เว็บไซต์เรียนออนไลน์ของจุฬาฯ มีความหลากหลายตามแต่ละคณะ โดยเข้าเรียนผ่านระบบ Courseville ที่สามารถเชื่อมต่อด้วย Facebook ได้
📌 CMU Lifelong Education เว็บไซต์เรียนออนไลน์จาก มช. มีหลักสูตรที่หลากหลาย ทุกคนสามารถลงเรียนได้ สมัครเรียนฟรี
4. เรียนรู้ด้วย Visual Note Taking จดบันทึกด้วยการคิดเป็นภาพ 🖌️
อะไรก็เห็นไม่ชัดเท่าการเห็นภาพ เพราะการเขียนภาพจะช่วยให้เราเข้าใจอะไรง่ายขึ้น อย่างการใช้เทคนิค ‘Visual Note Taking’ จะเป็นการนำสิ่งที่เราได้ยิน เห็น หรือคิด วาดออกมาเป็นภาพ 🖼 ซึ่งไม่จำเป็นต้องวาดรูปสวย แต่ต้องสื่อสารออกมาได้ดี ง่าย และเข้าใจ ก็จะช่วยทบทวนความจำของเราได้ แถมยังช่วยให้มองอะไรได้ชัดเจนขึ้น ใครที่อยากลองฝึกทำ Visual Note Taking สามารถเรียนรู้ได้จากคอร์สนี้เลย 👉 Visual Note Taking เขียนด้วยภาพเข้าใจง่ายกว่า โดยครูปูเป้ ปรียนันท์ ตันติพงษ์วณิช เจ้าของเพจ 👉 Visual Telling Thailand
5. แลกเปลี่ยนความรู้สลับกันเป็นผู้เล่าและผู้ฟัง 🧑🏫
การได้เล่าในสิ่งที่เรารู้ ไม่ว่าจะด้านประสบการณ์ที่เจอมา หรือแม้กระทั่งการเรียน หากเรานำมาแชร์กับผู้อื่นได้นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีการทบทวนสิ่งที่เราเคยเรียนรู้มาได้เป็นอย่างดี 🗣
ยิ่งถ้าอยู่ในฐานะผู้สอนหรือผู้ที่ต้องทบทวนบทเรียนให้กับเพื่อน จะช่วยให้เราจำเนื้อหาได้มากที่สุดถึง 90% เลยทีเดียว แต่การที่จะสอนหรืออธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้นั้น ต้องมีทักษะด้านการสื่อสาร รวมถึงการรู้จักเชื่อมโยงด้วย โดยเราสามารถฝึกได้ด้วยการเข้าสังคม 🫂
หากใครที่เข้าสังคมไม่เก่ง ลองฝึกจากสิ่งง่าย ๆ อย่างการเพิ่มความกล้าเปิดบทสนทนากับผู้อื่นก่อน กล้าที่จะถามในสิ่งที่เราไม่รู้ หรือพาตัวเองไปอยู่ในสังคมใหม่ โดยอาจเริ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ ที่ตัวเองกำลังอินอยู่ มันก็จะช่วยเพิ่มทักษะการสื่อสารให้เราอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้
หรือถ้าอยากได้ตัวช่วยเราก็ขอแนะนำช่องสอนปรับบุคลิกการเข้าสังคม เช่น
📌 krungor ช่องที่ช่วยปรับความคิดและทัศนคติตัวเองให้ดีขึ้น รวมถึงวิธีวางตัวเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้อื่น
📌gareengreenaf7 ช่องที่สอนเรื่องการใช้คำพูดในสถานการณ์ต่าง ๆ ว่าควรพูดอย่างไรให้ดูดี และคำพูดไหนที่ไม่ควรพูดบ้าง
มีแหล่งความรู้ให้เลือกเพียบบบ น้อง ๆ คนไหนชอบสไตล์ไหนก็ลองคลิกเข้าไปดูรายละเอียดกันได้เลยนะ
ไม่ว่าจะอายุน้อยหรือมาก การเติมความรู้ให้สมองก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของตัวเองไม่ให้หยุดอยู่กับที่ 💁♂️ หากใครที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ เดี๋ยวนี้การหาความรู้ก็มีมากมายให้เลือกแล้ว ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ดังนั้นมาหาความรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดไปด้วยกันเถอะ
เขียนโดย พี่ ๆ ทีมงาน AFTERKLASS