กดแชร์เอาไว้อ่านทีหลัง หรือแชร์ให้เพื่อน คลิกด้านล่างเลยจ้า
ประกวดแข่งขัน

“TIA2023” โอกาสของผู้สร้างนวัตกรรมรุ่นใหม่ มาถึงแล้ว!

ปิดรับสมัครแล้ว

ข้อมูลเบื้องต้นของการประกวดแข่งขัน

รูปแบบของการแข่งขัน

การแข่งขันที่มีการจัดงานในสถานที่จริง

วันที่จัดกิจกรรม

มิถุนายน – กันยายน 2566

วันที่รับสมัครวันสุดท้าย

ศุกร์ 5 พฤษภาคม 2566

การจัดทีมสมัครเข้าร่วม

เดี่ยวหรือทีมไม่เกิน 3 คน
รับ 40 ทีม

ค่าใช้จ่ายในการสมัคร

ฟรี

คุณสมบัติ (ระดับการศึกษา/ช่วงอายุ/อื่นๆ)

สำหรับนักเรียนมัธยมปลาย นิสิต นักศึกษา และอาชีวะ อายุไม่เกิน 25 ปี

ของรางวัล

ถ้วยรางวัลพระราชทานฯ และเงินรางวัลรวมมูลค่ามากกว่า 100,000 บาท

สถานที่จัดกิจกรรม
ค่ายอบรมพัฒนาผลงาน STEAM4INNOVATOR : Online
การประกวดรอบรองชนะเลิศ (ประกวดรอบที่ 1) : งานมหกรรมวิทยาศาสตร์ 2566
การประกวดรองชิงชนะเลิศ (ประกวดรอบที่ 2) : สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
กิจกรรมนี้จัดโดย (ติดต่อผู้จัด คลิกที่ไอคอนด้านล่าง)

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์


อย่าลืมแอดไลน์ @CAMPHUB

คำอธิบายกิจกรรม

ตามหาผลงานวัตกรรม
จากนวัตกรรุ่นเยาว์ทั่วประเทศ!!

โอกาสของผู้สร้างนวัตกรรมรุ่นใหม่ มาถึงแล้ว !!!!
โครงการ Thailand Innovation Awards 2023 (TIA2023) สำหรับนักเรียนมัธยมปลาย นิสิต นักศึกษา และอาชีวะ ที่มีผลงานนวัตกรรมอยู่ แล้วต้องการพัฒนาเพื่อส่งประกวดให้เป็นสุดยอดนวัตกรรม !!

กลับมาอีกครั้งกับค่าย STEAM4INNOVATOR Camp 2023 ที่จะพาทุกคนมาตะลุยค้นหาขุมทรัพย์ต่าง ๆ พร้อมกับกิจกรรมสนุก ๆ ในแต่ละ Stage ของ STEAM4INNOVATOR สะสมคะแนนแลกรับของรางวัลมากมาย

วิธีการสมัคร

  1. Download แบบฟอร์มการเขียนข้อเสนอโครงการรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 ได้ที่ https://shorturl.asia/uEzgI
  2. ตัวแทนกลุ่ม (1 คน)* กดสมัครเข้าร่วมโครงการ TIA2023 โดยกรอกข้อมูลและ Upload ไฟล์ในรูปแบบ PDF ได้ที่ https://steam4i.nia.or.th/camp/detail/32

สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 5 พฤษภาคม 2566

คุณสมบัติ

  • นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและนักศึกษาระดับ ปวช.
  • นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปวส.หรือเทียบเท่า ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งได้แก่ มหาวิทยาลัย ทั้งของรัฐและเอกชน หรือสถาบันเทียบเท่าทั่วประเทศ
  • ผู้สมัครต้องมีอายุไม่เกิน 25 ปี
  • กลุ่มละไม่เกิน 3 คน

ลักษณะผลงาน

นวัตกรรมที่เป็นผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการใหม่ โดยให้ความสำคัญประเด็นหลัก STEAM for Creative Economy คือ เป็นนวัตกรรมที่ใช้ศาสตร์ทางด้าน วิทยาศาสตร์(Science) เทคโนโลยี(Technology) วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) ศิลป(Art) คณิตศาสตร์(Mathematics) แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์ เป็นรูปธรรม อาทิ ทางด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน หรืออื่นๆ ซึ่งจะส่งผลให้สังคมดี ประชามีสุข อย่างยั่งยืน
ผลงานและสาขาการประกวด เป็นผลงานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์ การออกแบบที่คิดค้นขึ้นใหม่ หรือแนวคิดซึ่งอาจพัฒนาให้เป็นประโยชน์ด้านการผลิต หรือถึงขั้นจดสิทธิบัตรได้ ทั้งนี้หากเป็นการดัดแปลง หรือปรับปรุงให้ดีขึ้นจากต้นแบบที่มีอยู่แล้วจะต้องแจ้งให้ทราบถึงต้นแบบของผลงาน สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครอบคลุมด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ-ชีวภาพ สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์การแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีทางเกษตร-ทางอาหาร รวมทั้งวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

เกณฑ์การพิจารณา

  • ประเด็นปัญหา ที่มาของผลงาน และการแก้ปัญหาเชิงเทคนิค
  • ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เเละระดับความใหม่
  • ศักยภาพเเละความเป็นไปได้เชิงเทคนิคของผลงาน
  • ศักยภาพและความเป็นไปได้ในการพัฒนาเชิงอุตสาหกรรมหรือพาณิชย์ได้ โดยคำนึงถึงตลาดและผลกระทบเชิงเศรษฐกิจหรือสังคม
  • ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ความสมบูรณ์ของเอกสาร คุณภาพของผลงานเเละการนำเสนอ

เปิด Timeline เส้นทางสู่การเป็นนวัตกร

  1. สมัครเข้าร่วม : วันนี้ – 5 พฤษภาคม 2566 > ฟรี ไม่เสียค่าใช่จ่าย
  2. คัดเลือกและประกาศผล : 2 มิถุนายน 2566 > 40 ทีม ที่จะเข้าสู่การแข่งขัน โดยแบ่งเป็น ระดับมัธยมปลาย/ปวช. และระดับปริญญาตรี/ปวส. ระดับละ 20 ทีม
  3. ค่ายนวัตกรรุ่นเยาว์ STEAM4INNOVATOR Camp (online) : 10 – 11 และ 17 – 18 มิถุนายน 2566 > เรียนรู้กระบวนการสร้างและพัฒนานวัตกรรม Excrusive Camp (@NIA) : 23 – 24 มิถุนายน 2566 > เสริมทักษะและเทคนิคเจ๋ง ๆ ก่อนการประกวด
  4. ปรึกษาและพัฒนาผลงาน : กรกฎาคม 2566 > ขอรับคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาผลงาน
  5. ส่งร่างผลงานและแผนธุรกิจ : 1 สิงหาคม 2566 > ส่งอัพเดทผลงานที่พัฒนาแล้ว เพื่อไปประกวดรอบรองชนะเลิศ
  6. การประกวดรอบรองชนะเลิศ (ประกวดรอบที่ 1) ณ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์ : 20 สิงหาคม 2566 > พร้อมออกสู่สนามประกวดรอบรองชนะเลิศ (รอบที่ 1) และจะมี 8 ทีม ที่จะผ่านเข้าสู่รอบถัดไป
  7. การประกวดรองชิงชนะเลิศ (ประกวดรอบที่ 2) ณ NIA : 16 กันยายน 2566 > ออกสู่สนามรอบสุดท้าย ค้นหาสุดยอดนวัตกรรม
  8. พิธีมอบรางวัลในวันนวัตกรรมแห่งชาติ : 5 ตุลาคม 2566 > ร่วมรับรางวัลในงานนวัตกรรมแห่งชาติ
  9. ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ เตรียมความพร้อมก่อนการประกวดเวทีระดับประเทศ
  10. * ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ต่อยอดการประกวดเวทีระดับประเทศ : พ.ศ. 2567

กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


ผลงานที่เข้าร่วมประกวดในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จะได้รับเกียรติบัตร สำหรับผลงานที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมประกวดในระดับประเทศ (รอบรองชนะเลิศ) จะได้รับรางวัลพัฒนาผลงาน ผลงานละ 5,000 บาท และผลงานในรองชิงชนะเลิศ จะได้รับรางวัลดังนี้

นิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรีหรือปวส.

  • รางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานฯ เงินรางวัล 50,000 บาท เกียรติบัตร และสนับสนุนการประกวดในเวทีระดับประเทศ
  • รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 1 โล่เกียรติยศ เกียรติบัตร และเงินรางวัล 30,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 2 โล่เกียรติยศ เกียรติบัตร และเงินรางวัล 20,000 บาท
  • รางวัลชมเชย เกียรติบัตร

นักเรียน นักศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ ปวช.

  • รางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานฯ เงินรางวัล 20,000 บาท เกียรติบัตร และสนับสนุนการประกวดในเวทีระดับประเทศ
  • รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่1 โล่เกียรติยศ เกียรติบัตร และเงินรางวัล 15,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่2 โล่เกียรติยศ เกียรติบัตร และเงินรางวัล 10,000 บาท
  • รางวัลชมเชย เกียรติบัตร

หมายเหตุ

  • หากสาขาใดไม่มีโครงการที่สมควรได้รับรางวัลในบางรางวัล คณะกรรมการตัดสินมี สิทธิ์งดการให้รางวัลหรือปรับเปลี่ยนเงินรางวัลได้ตามความเหมาะสม
  • ผู้สมัครหรือผลงานที่ไม่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ จะไม่มีสิทธิ์ได้รับรางวัล
  • เมื่อส่งใบสมัครแล้วไม่สามารถเปลี่ยนตัวสมาชิกในทีม
  • การประกวดผลงานรอบชิงชนะเลิศในเดือนกันยายน ทุกทีมที่เข้ารอบต้องอยู่แสดงผลงาน
  • การตัดสินของคณะกรรมการถือว่าเป็นที่สิ้นสุด ไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น
  • สมาคมฯ ไม่ถือสิทธิในการเป็นเจ้าของผลงานที่ส่งเข้าประกวด
  • ผลงานที่มีผู้ร่วมจัดทำหลายคนจะต้องตกลงกันเองในการแบ่งรางวัล หรือคัดเลือกผู้ ที่จะไปต่างประเทศ

เรียนรู้ STEAM4INNOVATOR อย่างเข้มข้นทั้ง 4 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 Insight รู้ลึก รู้จริง
ขั้นตอนที่ 2 Wow! IDEA คิดสร้างสรรค์ไอเดีย
ขั้นตอนที่ 3 Business Model แผนพัฒนาธุรกิจ
ขั้นตอนที่ 4 Production & Diffusion การผลิตและการกระจาย

และได้รับประสบการณ์อย่าง exclusive ใกล้ชิดกับพี่ผู้ประกอบการ (Founder) และรุ่นพี่ในค่าย TIA
ที่จะมาแชร์จุดเริ่มต้นของธุรกิจและการฝ่าฟันทุกอุปสรรค์ อยากรู้แล้วใช่ไหมว่าจะเป็นใคร …
ขอให้เป็นคนพิเศษที่จะเปิดเผยเฉพาะในค่าย เท่านั้นจ้า !

อย่าลืม! Upload ไฟล์ PDF แบบฟอร์มการเขียนข้อเสนอโครงการรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23
(ตั้งชื่อไฟล์ : TIA23_ชื่อผลงาน.pdf)
Download แบบฟอร์มการเขียนข้อเสนอโครงการรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 ได้ที่ https://shorturl.asia/uEzgI

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  1. Page Facebook : TIA : Thailand Innovation Awards
  2. Email : [email protected]
  3. โทร. 088-014-8795 (วรางคณา)

CAMPHUB ไม่ได้เป็นผู้จัดกิจกรรมนี้ หากมีข้อสงสัยน้องๆ สามารถสอบถามจากผู้จัดได้โดยตรงนะครับ

กดแชร์เอาไว้อ่านทีหลัง หรือแชร์ให้เพื่อน คลิกด้านล่างเลยจ้า

ข้อมูลผู้เขียน

ทีมข่าวค่าย/กิจกรรม CAMPHUB

ส่งข้อมูลค่ายและกิจกรรมการศึกษามาประชาสัมพันธ์ที่เว็บแคมป์ฮับ ฟรี! คลิกเลยที่ www.camphub.in.th/sendcamp