ข้อมูลเบื้องต้นของการประกวดแข่งขัน
รูปแบบของการแข่งขัน
การแข่งขันที่มีการจัดงานในสถานที่จริง
วันที่จัดกิจกรรม
เสาร์ 18 พฤศจิกายน 2566
วันที่รับสมัครวันสุดท้าย
จันทร์ 30 ตุลาคม 2566
การจัดทีมสมัครเข้าร่วม
ทีมละ 2 คน
(รับ 420 ทีม)
ค่าใช้จ่ายในการสมัคร
ทีมละ 350 บาท
คุณสมบัติ (ระดับการศึกษา/ช่วงอายุ/อื่นๆ)
กําลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และต้อง ไม่มีรายชื่อเป็นผู้แทนหรือตัวสํารองศูนย์ สอวน. (เคมี) ในการเข้าร่วมการแข่งขันเคมีโอลิมปิกวิชาการ ระดับชาติปี 2566 ครั้งที่ 19 หากพบจะตัดสิทธิ์และสงวนสิทธิ์การเข้าแข่งขัน Chemtest ครั้งที่ 42 และ Chemtest ครั้งที่ 43 ของโรงเรียนนั้น ๆ ทันที
โรงเรียนสามารถส่งนักเรียนเข้าแข่งขันได้ไม่เกิน 2 ทีม แต่ละทีม จําเป็นต้องมีอาจารย์ผู้ควบคุมทีมเห็นชอบและลงชื่อรับรองในการสมัครเข้าแข่งขัน
ของรางวัล
• รางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษา พร้อมโล่พระราชทานสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และเกียรติบัตร
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทุนการศึกษา พร้อมเกียรติบัตร
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทุนการศึกษา พร้อมเกียรติบัตร
• รางวัลชมเชย 2 รางวัล ทุนการศึกษา พร้อมเกียรติบัตร
** ผู้ที่เข้าร่วมแข่งขันทุกท่านจะได้รับเกียรติบัตรเข้าร่วมแข่งขัน **
สถานที่จัดกิจกรรม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน (จะแจ้งห้องสอบให้ทราบก่อนวันแข่งขัน) (อยู่ตรงไหน?)
กิจกรรมนี้จัดโดย (ติดต่อผู้จัด คลิกที่ไอคอนด้านล่าง)
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
คำอธิบายกิจกรรม
วันและเวลาการรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน – 30 ตุลาคม 2566
วันสอบแข่งขันตอบปัญหาเคมี 18 พฤศจิกายน 2566
สถานที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
กติกาการรับสมัคร
- กําลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
- ไม่มีรายชื่อเป็นผู้แทนหรือตัวสํารองศูนย์ สอวน. (เคมี) ในการเข้าร่วมการแข่งขันเคมีโอลิมปิกวิชาการระดับชาติปี 2566 ครั้งที่ 19 หากพบจะตัดสิทธิ์และสงวนสิทธิ์การเข้าแข่งขัน Chemtest ครั้งที่ 42 และ Chemtest ครั้งที่ 43 ของโรงเรียนนั้น ๆ ทันที
- เป็นการแข่งขันประเภททีม ทีมละ 2 คน โรงเรียนสามารถส่งนักเรียนเข้าแข่งขันได้ไม่เกิน 2 ทีม แต่ละทีมจําเป็นต้องมีอาจารย์ผู้ควบคุมทีมเห็นชอบและลงชื่อรับรองในการสมัครเข้าแข่งขัน โดยในวันแข่งขันอาจารย์ผู้ควบคุมทีมไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้แต่สามารถเข้าร่วมงานนิทรรศการได้
- การเปลี่ยนผู้เข้าแข่งขัน สามารถเปลี่ยนแปลงได้ก่อนวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 เวลา 18.00 น. เท่านั้น หลังพ้นกําหนดดังกล่าวจะไม่อนุญาตให้เปลี่ยนผู้เข้าแข่งขันทุกกรณี
- รับจํานวนจํากัด 420 ทีม เมื่อครบ 420 ทีมแล้ว จะทําการปิดแบบฟอร์มการรับสมัครทันที
- หากพบว่าผู้เข้าแข่งขันทําผิดกติกาการรับสมัคร จะถูกตัดสิทธิ์ทันที และขอสวนสิทธิ์ไม่คืนค่าสมัครสอบไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
ช่องทางการรับสมัคร
- สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มการสมัครสอบได้ทาง
Facebook: Chemtest Kasetsart University และ Instragram: Chemtest.ku - กรอกแบบฟอร์มการสมัครและชําระเงินเป็นทีม ทีมละ 350 บาท เลขบัญชี 235-298145-9 ธนาคารไทยพาณิชย์ ชื่อบัญชี ตอบปัญหาเคมี
- แนบหลักฐานการสมัคร ดังนี้
1) แบบฟอร์มการสมัคร
2) รูปถ่ายหน้าตรงในชุดเครื่องแบบนักเรียน ไม่จํากัดพื้นหลัง
3) สําเนาบัตรประชาชนหรือบัตรนักเรียน (พร้อมเซ็นสําเนาถูกต้อง)
4) หนังสือรับรองว่าไม่มีรายชื่อเป็นผู้แทนศูนย์ สอวน. (เคมี) (พร้อมลงนามผู้อํานวยการ)
5) หลักฐานการชําระเงิน
หมายเหตุในกรณีที่หลักฐานไม่ครบถ้วนจะถือว่าการสมัครสอบเป็นโมฆะ
รางวัลการแข่งขัน
- รางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษา พร้อมโล่พระราชทานสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และเกียรติบัตร
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทุนการศึกษา พร้อมเกียรติบัตร
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทุนการศึกษา พร้อมเกียรติบัตร
- รางวัลชมเชย 2 รางวัล ทุนการศึกษา พร้อมเกียรติบัตร
รูปแบบการสอบแข่งขัน
การสอบคัดเลือกรอบที่ 1: 2 ชั่วโมง 30 นาที
ในการแข่งขันรอบนี้เป็นการสอบรูปแบบปรนัยและอัตนัย แต่ละทีมจะได้รับข้อสอบและกระดาษคําตอบอย่างละ 1 ชุด เนื้อหาในข้อสอบครอบคลุมเนื้อหาวิชาเคมีระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งหมด อาจมีการประยุกต์เนื้อหาเพิ่มเติม โดยผู้เข้าแข่งขันไม่สามารถใช้อุปกรณ์ในการคํานวณทุกชนิด
ข้อสอบมีทั้งหมด 55 ข้อ แบ่งเป็น 3 ตอน เวลาในการทําข้อสอบ 2 ชั่วโมง 30 นาที รวม 90 คะแนน
ตอนที่ 1 ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือกแบบเลือกตอบตัวเลือกที่ถูกต้องที่สุด 1 ตัวเลือก แต่ละข้อจะมีคะแนนเท่ากับ 1 คะแนน ทั้งหมด 38 ข้อ รวม 38 คะแนน
ตอนที่ 2 ข้อสอบอัตนัยแบบเลือกตอบ การเขียนตอบใช้ปากกาหมึกสีน้ําเงินในการตอบเท่านั้น ทั้งหมด 8 ข้อ รวม 20 คะแนน
ตอนที่ 3 ข้อสอบอัตนัยแบบเติมคําตอบ การเขียนตอบใช้ปากกาหมึกสีน้ําเงินในการตอบเท่านั้น ทั้งหมด 9 ข้อ รวม 32 คะแนน
การสอบคัดเลือกรอบที่ 2: 2 ชั่วโมง 30 นาที
ในการแข่งขันรอบนี้เป็นการแข่งขันทําแล็บปฏิบัติการ โดยผู้เข้าแข่งขันจะได้รับแนวทางในการทําแล็บปฏิบัติการ และกระดาษคําถามเพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันตอบคําถามระหว่างการทําปฏิบัติการ โดยกรรมการคุมสอบจะเตรียมเครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์ให้กับผู้เข้าแข่งขัน
- เกณฑ์การคัดเลือกคิดคะแนนเป็น
คะแนนการสอบรอบที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 60
(คะแนนเดียวกับคะแนนที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามารอบที่ 2)
คะแนนการสอบรอบที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 40
รวมทั้งหมด 100 คะแนน - ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 และรางวัลชมเชยในพิธีปิด
ระเบียบการสอบ
ขอความร่วมมือผู้เข้าสอบอ่านและทําความเข้าใจระเบียบการสอบอย่างละเอียด หากพบว่ากระทําผิดระเบียบจะถือว่า ไม่มีสิทธิ์สอบ และ/หรือดําเนินการให้ การสอบของผู้กระทําผิดเป็นโมฆะ
- ผู้เข้าสอบจะต้องแต่งกายชุดนักเรียนของสถาบันที่ตนกําลังศึกษาอยู่เข้าสอบเท่านั้น
- อนุญาตให้ผู้เข้าสอบนํา ปากกาน้ําเงิน ดินสอ ยางลบ ปากกาลบคําผิด บัตรประชาชนหรือบัตรนักเรียน เข้าสอบได้เท่านั้น
- ไม่อนุญาตให้ผู้เข้าสอบสวมนาฬิกาทุกประเภทเข้าสอบ โดยในห้องสอบจะมีนาฬิกาใหญ่เตรียมไว้ให้
- ผู้เข้าสอบสามารถสวมใส่เสื้อกันหนาวเข้าสอบได้
- ไม่อนุญาตให้ผู้เข้าสอบนําเครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์คํานวณทุกชนิดเข้าห้องสอบ และทางผู้จัดสอบจะไม่รับฝากเครื่องมือสื่อสารดังกล่าว
**หมายเหตุ การแข่งขันรอบที่ 2 กรรมการคุมสอบจะเตรียมเครื่องคิดเลขวิทยาศาสตร์ให้กับผู้เข้าสอบเพื่อใช้ในการแข่งขัน - ไม่อนุญาตให้ผู้เข้าสอบนําอาหารและเครื่องดื่มเข้าสอบ แต่อนุโลมให้สามารถนําน้ําเปล่าเข้าสอบได้
- ไม่อนุญาตให้ผู้เข้าสอบออกจากห้องสอบเมื่อการสอบได้เริ่มขึ้นแล้ว หากผู้เข้าสอบต้องเข้าห้องน้ําสามารถเข้าได้โดยจะมีผู้คุมสอบพาไป หากมีอาการเจ็บป่วยที่วินิจฉัยแล้วว่าไม่สามารถสอบต่อได้ผู้เข้าสอบสามารถยุติการสอบได้โดยจะต้องเซ็นใบยอมรับข้อตกลงเพื่อเป็นหลักฐาน
- จากข้อ 6 หากผู้เข้าสอบในทีมเดียวกันอีกท่านไม่ประสงค์จะหยุดสอบ ผู้เข้าสอบดังกล่าวสามารถขอสิทธิ์ในการทําข้อสอบที่เหลือทั้งหมดต่อเพียงผู้เดียวได้
- ไม่อนุญาตให้ผู้เข้าสอบพูดคุยกันระหว่างสอบ ทั้งนี้หมายรวมถึงการพูดคุยระหว่างทีมและพูดคุยกับกรรมการคุมสอบ หากมีความประสงค์จะขออนุญาตกระทําการใด ๆ จากกรรมการคุมสอบขอให้ยกมือขึ้นและรอจนกว่ากรรมการคุมสอบจะ เดินไปพูดคุยด้วย
- การกระทําใดก็ตามที่ผิดต่อระเบียบที่กล่าวมาแล้วในข้อ 1-8 ไม่ว่าจะเป็นการกระทําด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม กรรมการคุมสอบประจําห้องสอบมีสิทธิ์เด็ดขาดในการถอดถอนสิทธิ์ในการสอบ และ/หรือดําเนินการให้การสอบของผู้กระทําผิดเป็นโมฆะ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกรรมการคุมสอบ
ในวันจัดการแข่งขัน ระเบียบการแข่งขันอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานที่สอบ เวลาสอบ และผู้เข้าสอบ