ข้อมูลเบื้องต้นของการประกวดแข่งขัน
รูปแบบของการแข่งขัน
การแข่งขันที่มีการจัดงานในสถานที่จริง
วันที่จัดกิจกรรม
เดือนพฤศจิกายน 2566 – มกราคม 2567
วันที่รับสมัครวันสุดท้าย
ศุกร์ 15 ธันวาคม 2566
การจัดทีมสมัครเข้าร่วม
บุคคลเดี่ยว (รับ 40 คน)
ค่าใช้จ่ายในการสมัคร
ฟรี
คุณสมบัติ (ระดับการศึกษา/ช่วงอายุ/อื่นๆ)
เยาวชนอายุ 17-23 ปี และ กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ของรางวัล
ทุนการศึกษามูลค่ารวมกว่า 500,000 บาท และโอกาสลัดฟ้าไปอัพสกิลกันไกลถึงประเทศเยอรมนี
สถานที่จัดกิจกรรม
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ คลองห้า ปทุมธานี (อยู่ตรงไหน?)
กิจกรรมนี้จัดโดย (ติดต่อผู้จัด คลิกที่ไอคอนด้านล่าง)
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย
คำอธิบายกิจกรรม
เยาวชนนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในแง่มุมต่าง ๆ ในหัวข้อ “ฟื้น คืน ระบบนิเวศ – Ecosystem Restoration” ภายใต้แนวคิดการปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศทั่วโลก ซึ่งทศวรรษแห่งสหประชาชาตินั้นเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2573 ซึ่งถือเป็นเส้นตายสำหรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นช่วงเวลาที่นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะสามารถป้องกันวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง พร้อมแนวทางและรูปแบบการสื่อสารวิทยาศาสตร์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการสร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจถึงการเน้นย้ำความสำคัญของการบริหารจัดการระบบนิเวศเพื่อจัดการทรัพยากรดิน น้ำ และสิ่งมีชีวิตอย่างบูรณาการ รวมถึงความจำเป็นในการยกระดับความพยายามในการจัดการกับปัญหาการแปรสภาพของผืนดินเป็นทะเลทราย ความเสื่อมโทรมของที่ดิน การกัดเซาะและความแห้งแล้ง การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการขาดแคลนน้ำ ซึ่งถูกมองว่าเป็นปัญหาสำคัญที่มีความท้าทายในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วโลก เพื่อมุ่งหวังให้เกิดการแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ ในฐานะนักสื่อสารวิทยาศาสตร์จึงมีความจำเป็นในการหาแนวทางและรูปแบบการสื่อสารที่มีเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์ เพื่อให้การสื่อสารวิทยาศาสตร์บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
การรับสมัคร
เยาวชนที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 19 สามารถสมัครผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ https://www.nsm.or.th/nsm/th/ytsa พร้อมส่งลิงค์คลิปวิดีโอแนะนำตัวเอง แนวคิดเรื่องที่จะสื่อสารและรูปแบบของการสื่อสารที่จะใช้ภายใน 3 นาที และ proposal ตามแบบฟอร์มที่กำหนด ในหัวข้อที่กำหนด โดยสามารถเลือกนำเสนอเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ หมดเขตรับสมัคร วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2566
ข้อกำหนดในการส่งคลิปวิดีโอการนำเสนอเรื่องราววิทยาศาสตร์ใน 3 นาที
เยาวชนที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการทูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทย ครั้งที่ 19 จัดทำคลิปโดยมีรายละเอียดดังนี้
แนะนำตัวเอง
แนวคิดในเรื่องที่จะนำเสนอสอดคล้องกับหัวข้อที่กำหนด และเป็นหัวข้อและสาระที่ผู้นำเสนอจัดทำขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีการคัดลอกผลงานการนำเสนอของผู้อื่น อาทิ โครงสร้างเรื่องในการนำเสนอ
วิธีการและรูปแบบในการนำเสนอ หัวข้อในการนำเสนอ สคริปต์ที่ใช้ในการนำเสนอ เป็นต้น
สามารถเลือกใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษในการนำเสนอ โดยเลือกนำเสนอภาษาใดภาษาหนึ่งเท่านั้น
จะต้องบันทึกการถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์ภายใต้หัวข้อที่กำหนดภายในเวลา 3 นาที และไม่น้อยกว่า 2 นาที 30 นาที
รูปแบบการสื่อสาร
ผู้สมัครจะต้องนำเสนอรูปแบบการสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่จะใช้ในการนำเสนอที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่ตนได้กำหนด เช่น การพูดถ่ายทอดเรื่องราววิทยาศาสตร์ (Talk), การนำเสนอด้วยรูปแบบการแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show), การแสดงสาธิต (Demon), เล่านิทาน, การแสดงละคร, ละครหุ่น (mini puppet theatre), หนังสือ pop up, คลิปอะนิเมชั่น, การ์ตูนเล่าเรื่อง, ละครวิทยุ, หนังสั้น หรืออื่น ๆ
หมายเหตุ: ไม่อนุญาตให้นำคลิปของผู้อื่นที่ไม่ใช่ผลงานตนเองส่งเข้าประกวด หากพบว่ามีการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในการสมัคร จะพิจารณาตัดสิทธิ์ในการแข่งขัน
ประกาศผลคัดเลือกรอบแรก ในวันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2566 ผ่านทาง Website ของ อพวช: www.nsm.or.th ผู้ที่ได้รับคัดเลือกจะได้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมการพัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในรูปแบบออนไลน์
ประกาศผลคัดเลือกรอบที่ 2 ในวันจันทร์ที่ 9 มกราคม 2566 ผ่านทาง Website ของ อพวช ผู้ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ อพวช. คลองห้า จำนวน 3 วัน ระหว่าง 08.00 – 21.00 น. เพื่อพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ จากหน่วยงานระดับประเทศ