ข้อมูลเบื้องต้นของกิจกรรมนี้
รูปแบบกิจกรรม
จัดกิจกรรมในสถานที่จริง แบบค้างคืน
วันที่จัดกิจกรรม
ศุกร์ 19 – จันทร์ 22 มกราคม 2567
วันที่รับสมัครวันสุดท้าย
ศุกร์ 15 ธันวาคม 2566
จำนวนที่รับ
80 คน
ค่าใช้จ่าย
350 บาท (จ่ายหลังประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วม)
คุณสมบัติ (ระดับการศึกษา/ช่วงอายุ/อื่นๆ)
ม.ปลาย / ปวช.
หรือเทียบเท่าระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
สถานที่จัดกิจกรรม
วิทยาลัยการปกครอง จังหวัดปทุมธานี (อยู่ตรงไหน?)
กิจกรรมนี้จัดโดย (ติดต่อผู้จัด คลิกที่ไอคอนด้านล่าง)
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เพิ่มเติม
คำอธิบายกิจกรรม
“ค่ายเยาวชนนักรัฐศาสตร์” เป็นกิจกรรมที่จัดทำให้กับเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และกรอบวิธีการเรียนรู้ทางรัฐศาสตร์ ส่งเสริมให้เยาวชนผู้เข้าร่วมสามารถอภิปรายความคิดเห็นหรือข้อถกเถียงของตนเองร่วมกับผู้อื่นในประเด็นวาระสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงขณะหนึ่ง ๆ รวมถึงเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ทำความรู้จัก แลกเปลี่ยนทัศนะ และซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมกับเพื่อนใหม่ รุ่นพี่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ รวมถึงวิทยากรและคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ
กิจกรรมภายในค่าย เช่น การทำกิจกรรมในรูปแบบกลุ่มย่อย กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมห้องเรียนจำลองคณะรัฐศาสตร์ กิจกรรมเตรียมความพร้อมสู่การสอบเข้าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ การฟังบรรยายทางวิชาการ การชมภาพยนตร์และอภิปรายบทเรียนจากภาพยนตร์ การตั้งคำถามกับตนเอง การเล่นกิจกรรมสถานการณ์จำลอง (simulation) ฯลฯ (สามารถชมภาพถ่ายกิจกรรมค่ายเยาวชนนักรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ครั้งที่ผ่านมาได้ทาง Facebook Page: Singhnoy – ค่ายเยาวชนนักรัฐศาสตร์ )
🗣💥ค่ายเยาวชนนักรัฐศาสตร์ในครั้งนี้จึงกลับมาพร้อมกับธีม “i?” อัตลักษณ์แบบใด
ที่จะพาว่าที่สิงห์น้อยทุกคนไปทำความรู้จักกับคำว่า “อัตลักษณ์”ที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่เรื่องของความงาม และสภาวะที่อัตลักษณ์บางกลุ่มต้องประสบปัญหาในการแสดงออก ผ่านมุมมองทางรัฐศาสตร์ สังคมวิทยา และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยค่ายนี้ชวนให้ทุกคนตั้งคำถามว่าเพราะอะไรกลุ่มอัตลักษณ์หลายกลุ่มถึงแสดงอัตลักษณ์ของตนออกมาไม่ได้ ปัญหานี้เกี่ยวข้องกับสังคม การเมือง รัฐ และโลกของเราอย่างไร แล้วทางออกของปัญหานี้ควรจะเป็นแบบใด
เพื่อให้เยาวชนผู้เข้าร่วมในฐานะนักรัฐศาสตร์รุ่นเยาว์ตระหนักว่าสภาวะอัตลักษณ์ในวิกฤติเกี่ยวข้องกับสังคมและการเมืองอย่างแยกขาดจากกันไม่ได้ ตั้งคำถามกับชุดความรู้และพลวัติทางอำนาจ (Power dynamic) ในประเด็นอัตลักษณ์ที่มีแพร่หลายในปัจจุบันอย่างมีวิจารณญาณ ตลอดจนเชิญชวนให้ถกเถียงอภิปรายว่าเยาวชนจะสร้างสังคมในขั้นต้นอย่างไร ให้กลุ่มอัตลักษณ์เผชิญวิกฤตินี้น้อยลงอย่างสร้างสรรค์ !!!