ข้อมูลเบื้องต้นของการประกวดแข่งขัน
รูปแบบของการแข่งขัน
การแข่งขันที่ส่งผลงานแล้วรอการประกาศผล
วันที่จัดกิจกรรม
พฤษภาคม – กรกฎาคม 2567
วันที่รับสมัครวันสุดท้าย
พุธ 31 กรกฎาคม 2567
การจัดทีมสมัครเข้าร่วม
บุคคลเดี่ยว
ค่าใช้จ่ายในการสมัคร
ฟรี
คุณสมบัติ (ระดับการศึกษา/ช่วงอายุ/อื่นๆ)
บุคคลทั่วไป
ของรางวัล
เงินรางวัลและใบประกาศนีบัตรมูลค่ารวมกว่า 50,000 บาท
สถานที่จัดกิจกรรม
เป็นกิจกรรมออนไลน์
กิจกรรมนี้จัดโดย (ติดต่อผู้จัด คลิกที่ไอคอนด้านล่าง)
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ บ. แกมมาโก้ ประเทคไทย จำกัด
คำอธิบายกิจกรรม
การศึกษา วิจัย หรือทำงานทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มีวิถีการปฎิบัติที่เป็นระเบียบแบบแผน นำมาซึ่งผลลัพท์ที่เชื่อถือได้ เป็นที่ยอมรับทั้งในแวดวงวิทยาศาสตร์ และเป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงนั้น เปี่ยมไปด้วยความรู้ จินตนาการและความมุ่งมั่นพยายามของผู้ปฏิบัติไม่น้อยไปกว่าการทำงานในด้านอื่น ๆ ซึ่งมีคุณค่า มีความวิจิตรงดงามที่่น้อยคนจะได้สัมผัส โดยรูปภาพถือเป็นสื่อแบบหนึ่ง ที่นอกจากจะใช้แสดงแบบจำลอง แสดงข้อมูลหรือใช้เป็นหลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์แล้ว ยังถูกใช้สะท้อนความทรงจำ ความประทับใจ หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานทางด้านวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย
อพวช. ขอเชิญชวนนักวิทย์ นักคิด นักวิจัยมาร่วมถ่ายทอดเรื่องราว ความประทับใจ ความงดงามที่เกิดขึ้นในงานทางด้านวิทยาศาสตร์เหล่านั้น ให้สังคมได้รับรู้ ได้สัมผัสความวิจิตรของงานวิจัยไปด้วยกัน โดยการส่งภาพพร้อมคำบรรยายถึงความงามและความสำคัญของภาพนั้น ผู้สนใจเข้าร่วมส่งผลงานโปรดเตรียมข้อมูล 4 ส่วนหลัก คือ ภาพ ชื่อภาพ คำบรรยายประกอบภาพ และข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ เทคโนโลยี หรือเทคนิคที่ใช้สร้างภาพ
ประเภทที่เปิด ผลงานยอดเยี่ยม และผลงานยอดนิยม
ระยะเวลาส่งผลงาน วันนี้ ถึง 31 ก.ค. 2567
ระยะเวลาโหวตผลงานประเภทยอดนิยม ไม่เกิน 10 ส.ค. 2567 (โปรดติดตามการประกาศ)
1. ภาพ
เป็นภาพที่เกี่ยวข้องหรือเกิดขึ้นในการปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของเจ้าของภาพเอง
เป็นภาพเชิงวิทยาศาสตร์ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์พื้นฐาน หรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์สาขาใดก็ได้ เช่น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิศวกรรมศาสตร์ ธรณีศาสตร์ สิ่งแวดล้อม สุขภาพและการแพทย์ เป็นต้น โดยขอสงวนสิทธิ์สำหรับภาพที่สร้างขึ้นมาเพื่อความสวยงามเป็นหลัก อย่างเช่น ภาพในเชิงวิจิตรศิลป์ ทัศนศิลป์ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
ไฟล์ภาพควรมีความละเอียดระดับ HD ขึ้นไป ด้านที่สั้นที่สุดของภาพไม่ต่ำกว่า 720 pixels โดยส่งในรูปแบบไฟล์ JPEG PNG หรือ TIFF
2. ชื่อภาพ
ตั้งชื่อภาพยาวไม่เกิน 100 ตัวหนังสือ (character)
3. คำบรรยายประกอบภาพ
คำบรรยายต้องเป็นภาษาไทย และใช้ภาษาที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่าย ที่อาจจะอธิบายถึงสิ่งที่ปรากฎอยู่ในภาพ วิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สาระความรู้ หรือแรงบันดาลใจที่เกี่ยวข้องกับภาพ ตลอดจนบทบาท หรือความสำคัญของภาพที่มีต่อการปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของเจ้าของภาพ
ประเภทยอดเยี่ยม คำบรรยายต้องมีความยาวระหว่าง 250-700 ตัวหนังสือ (character)
ประเภทยอดนิยม คำบรรยายต้องมีความยาวระหว่าง 150-700 ตัวหนังสือ (character)
4. ข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ เทคโนโลยี หรือเทคนิคที่ใช้สร้างภาพ
คำอธิบายเกี่ยวกับอุปกรณ์ เทคโนโลยี หรือเทคนิคที่ใช้ผลิตภาพ
ตัวอย่าง (1) ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (TEM) ที่อัตราขยาย 500,000 เท่า และปรับแต่งสีของภาพด้วยโปรแกรม Photoshop
(2) ใช้กล้องจุลทรรศน์แบบ Phase Contrast ถ่ายภาพผ่านกระบวนการ X-ray หรือ Radioactive เป็นต้น
ยาวไม่เกิน 300 ตัวหนังสือ (character)
ภาพที่ส่งไม่จำกัดอุปกรณ์ เทคโนโลยี หรือเทคนิคในการสร้างภาพ อย่างเช่น ภาพถ่ายจากกล้องดิจิทัล กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนไมโครสโคป แบบจำลอง ภาพสแกนจากภาพวาด ไดอะแกรม หรือภาพที่ผลิตจากคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
รางวัลสำหรับการประกวด
ประเภทผลงานยอดเยี่ยม
รางวัลชนะเลิศ 10,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 8,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 6,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
รางวัลชมเชย (ถ้ามี) 2,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
ประเภทผลงานยอดนิยม
รางวัลชนะเลิศ 3,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 2,500 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 2,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
รายละเอียดและกติกาเพิ่มเติม พร้อมส่งผลงานที่ https://contest.nsm.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=117&Itemid=701