กดแชร์เอาไว้อ่านทีหลัง หรือแชร์ให้เพื่อน คลิกด้านล่างเลยจ้า
ประกวดแข่งขัน

SPARK THE LOCAL 2024 by PTT การประกวดพัฒนาสินค้าชุมชน

ปิดรับสมัครแล้ว

ข้อมูลเบื้องต้นของการประกวดแข่งขัน

รูปแบบของการแข่งขัน

การแข่งขันที่มีการจัดงานในสถานที่จริง

วันที่จัดกิจกรรม

ช่วงเดือนกรกฎาคม – พฤศจิกายน 2567

วันที่รับสมัครวันสุดท้าย

จันทร์ 9 กันยายน 2567

การจัดทีมสมัครเข้าร่วม

ทีมละ 1-5 คน

ค่าใช้จ่ายในการสมัคร

ฟรี

คุณสมบัติ (ระดับการศึกษา/ช่วงอายุ/อื่นๆ)

บุคคลทั่วไป

ของรางวัล

เงินรางวัล มูลค่ารวม 240,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

สถานที่จัดกิจกรรม

ตึก ปตท. สำนักงานใหญ่ และ ร้านเด็ดแฟร์ สยามสแควร์

กิจกรรมนี้จัดโดย (ติดต่อผู้จัด คลิกที่ไอคอนด้านล่าง)

บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)


อย่าลืมแอดไลน์ @CAMPHUB

คำอธิบายกิจกรรม

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

  • เพื่อเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ในชุมชนได้ใช้ศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนา ต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชน
  • เพื่อขยายโอกาสในการสร้างฐานลูกค้าและผู้บริโภคกลุ่มใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชน
  • เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชน

โจทย์การประกวด

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสร้างแผนพัฒนาสินค้าและการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน ประเภท “อาหารแปรรูป” ภายใต้แนวคิด “ปรับปรุง แปลงโฉม ปั้นแบรนด์”

  • “ปรับและปรุง” ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปของไทย ให้ถูกใจ และ ถูกปากลูกค้าได้มากขึ้น
  • “แปลง” โฉมสินค้า ให้บรรจุภัณฑ์ทันสมัย เพิ่มมูลค่าในราคาเหมาะสม
  • “ปั้น” แบรนด์ให้ปัง เล่าเรื่องราวสะท้อนเอกลักษณ์ชุมชนและความโดดเด่นของสินค้าให้เป็น ที่จดจำ

เงื่อนไขการส่งผลงาน

  • ในการส่งผลงานเข้าประกวด กำหนดให้ใช้ผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชน ประเภทอาหารแปรรูป ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานรับรอง และชุมชนเจ้าของผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชนต้องมีความสนใจในการพัฒนาสินค้าในอนาคต
  • ผู้สมัครจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชนที่เลือก หรือได้รับการยินยอมให้ใช้ผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชนนั้นในการส่งประกวด
  • ผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชนที่เลือกมาส่งประกวด จะต้องสามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน
  • ผู้สมัครจะต้องกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม (Google Form) ให้ครบถ้วน และ Upload ไฟล์นำเสนอผลงานในรูปแบบคลิปสั้น (ถ้ามี) โดยเป็นคลิปที่มีความยาวไม่เกิน 5 นาทีและขนาดไฟล์ไม่เกิน 10GB และ/หรือ Upload ไฟล์นำเสนอผลงานในรูปแบบไฟล์ pdf (ถ้ามี)
  • ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้นๆ ด้วยตนเอง ห้ามทำซ้ำ ดัดแปลง เลียนแบบผลงานของบุคคลอื่นๆ หรือนำผลงานของผู้อื่นมาส่งหรือส่งในนามผู้อื่น โดยผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งเข้าประกวดนั้น เป็นผลงานที่ตนเองเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียง ผู้เดียว รวมถึงไม่มีข้อผูกมัดเรื่องลิขสิทธิ์ในตัวผลงานกับหน่วยงานหรือองค์กรใดๆ และไม่ขัดต่อกฎหมาย และต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยเผยแพร่สู่สาธารณะมาก่อน หากตรวจพบว่ามีการทุจริต ถือว่าสละสิทธิ์การแข่งขันและรับรางวัล แม้จะประกาศผลไปแล้วทางผู้จัดงานสามารถเรียกคืนรางวัลได้
  • ผู้สมัครยินดี และตกลงยินยอมให้ผลงานเป็นกรรมสิทธิ์ และลิขสิทธิ์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยขอสงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ หรือลดทอนเนื้อหาได้ตามความเหมาะสม โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ตอบแทนทั้งสิ้น
  • ผู้สมัครจะต้องไม่เปิดเผย ทําสําเนาหรือทําการอื่นใดทํานองเดียวกันแก่องค์กรหรือบุคคลอื่น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เท่านั้น
  • เงินรางวัลที่ได้รับ จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เงินรางวัลตามกฎหมาย 5%
  • ผู้เข้าแข่งขันทุกคน ถือว่าได้รับทราบ และยอมรับในเงื่อนไขการเข้าร่วมการประกวดเรียบร้อยแล้ว
  • ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

คุณสมบัติและเงื่อนไขการสมัคร

  • ผู้สมัคร จะต้องมีอายุระหว่าง 18-40 ปี (หรือเทียบเท่า) ณ วันที่สมัครเข้าร่วมการประกวด
  • จำนวนสมาชิกในทีมไม่เกิน 5 คน/ทีม โดยผู้สมัครทุกคน สามารถลงชื่อสมัครได้เพียงทีมเดียวเท่านั้น หากเกิดกรณีทีมที่มีผู้แข่งขันซ้ำ ทีมจะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันทันที
  • แต่ละทีมมีสิทธิ์ส่งผลงานได้ทีมละ 1 ผลงานเท่านั้น
  • หากทีมหรือสมาชิกภายในทีมมีคุณสมบัติไม่ตรงกับกฎระเบียบการแข่งขัน หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือทำผิดกฎกติกาที่ตั้งไว้ ทีมจะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันทันที
  • ผู้สมัครยินยอมให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นำภาพกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอดโครงการ ไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ และสามารถนำมาใช้พัฒนาต่อเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและองค์กร โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ และไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

กำหนดการการประกวด

  • 15 กรกฎาคม – 9 กันยายน 2567 – เปิดรับสมัคร
  • 9 กันยายน 2567 (เวลา 18.00 น.) – ปิดรับผลงาน
  • 10-12 กันยายน 2567 – คณะกรรมการคัดเลือกผลงานรอบแรก (15 ทีม)
  • 13 กันยายน 2567 – ประกาศรายชื่อทีมที่เข้ารอบ 15 ทีม
  • 18 กันยายน 2567 – 15 ทีม นำเสนอผลงาน รอบ Audition ณ ปตท. สำนักงานใหญ่
  • 20 กันยายน 2567 – ประกาศรายชื่อทีมที่เข้ารอบ Final (5 ทีม)
  • 25 กันยายน 2567 – 5 ทีม รับข้อเสนอแนะและคำปรึกษาจากที่ปรึกษาโครงการ
  • 26 กันยายน – 7 พฤศจิกายน 2567 – พัฒนาผลงานเพื่อนำเสนอในรอบ Final
  • 8-10 พฤศจิกายน 2567 – นำเสนอผลงานรอบ Final ที่งานร้านเด็ดแฟร์

การคัดเลือกผลงานรอบที่ 1 : ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม – วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2567

ผู้สมัครต้องส่งแผนพัฒนาสินค้าและการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน ประเภท “อาหารแปรรูป” ภายใต้แนวคิด “ปรับปรุง แปลงโฉม ปั้นแบรนด์” โดยใส่รายละเอียดให้ครบถ้วนลงในแบบฟอร์ม (Google Form) ที่ทาง ปตท. กำหนดไว้ ภายในวันจันทร์ 9 กันยายน 2567 เวลา 18.00 น. ซึ่งคณะกรรมการจะทำการคัดเลือกผลงานที่ส่งเข้าประกวด จำนวน 15 ผลงาน เพื่อผ่านเข้าสู่รอบ Audition โดยจะประกาศรายชื่อ 15 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบ Audition ในวันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2567 ทาง Facebook : ชุมชนยิ้มได้ โดยกลุ่ม ปตท.

การคัดเลือกผลงานรอบ Audition : นำเสนอผลงานในวันพุธที่ 18 กันยายน 2567

15 ทีมที่เข้ารอบจะต้องนำเสนอผลงานกับคณะกรรมการ ณ ปตท. สำนักงานใหญ่ ถ.วิภาวดีรังสิต หรือผ่านทาง Online (ในกรณีที่ไม่สามารถเดินทางมาได้) ในวันพุธที่ 18 กันยายน 2567 โดยแต่ละทีมจะมีเวลาในการนำเสนอ 10 นาที และเปิดโอกาสให้คณะกรรมการซักถาม 5 นาที โดยทีมงานจะทำการติดต่อเพื่อนัดหมายเวลาในการนำเสนออีกครั้ง โดยจะประกาศรายชื่อ 5 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบ Final ในวันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2567 ทาง Facebook : ชุมชนยิ้มได้ โดยกลุ่ม ปตท.

เกณฑ์การตัดสินผลงานรอบที่ 1 และรอบ Audition

  1. ด้านผลิตภัณฑ์ (20 คะแนน)
    1.1 คุณภาพของสินค้า (คุณภาพของวัตถุดิบ กระบวนการแปรรูป และมาตรฐานรับรองที่ได้รับ) (10 คะแนน)
    1.2 เอกลักษณ์ ความโดดเด่นและแตกต่างของสินค้า (10 คะแนน)
  2. ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (30 คะแนน)
    2.1 ความสวยงามและความคิดสร้างสรรค์ (15 คะแนน)
    2.2 ความสะดวกในการใช้งาน (15 คะแนน)
  3. ด้านการตลาด (30 คะแนน)
    3.1 ระบุกลุ่มเป้าหมาย ช่องทางการสื่อสาร ช่องทางจำหน่าย ชัดเจนและสอดคล้องกัน (15 คะแนน)
    3.2 เอกลักษณ์ของแบรนด์โดดเด่น สวยงาม น่าจดจำ และมีเรื่องราวที่สนใจ (15 คะแนน)
  4. ด้านความยั่งยืน (10 คะแนน)
    4.1 ด้านสังคม (การทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน การสะท้อนเอกลักษณ์ อนุรักษ์วัฒนธรรม ฯลฯ) (10 คะแนน)
  5. มีแผนการพัฒนาที่ชัดเจน เห็นภาพ (10 คะแนน)

รับคำแนะนำจากที่ปรึกษา : พบที่ปรึกษาวันพุธที่ 25 กันยายน 2567

5 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบ Final เข้าพบที่ปรึกษาพัฒนาผลงาน ณ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ถ.วิภาวดีรังสิต ในวันพุธที่ 25 กันยายน 2567 เพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยน รับคำแนะนำ สำหรับนำไปปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชนตามที่ได้นำเสนอ ให้เกิดเป็นรูปธรรม ซึ่งแต่ละทีมจะมีเวลาในการเข้าพบคณะกรรมการไม่เกิน 60 นาที โดยทีมงานจะทำการติดต่อเพื่อนัดหมายเวลาในการนำเสนอ อีกครั้ง
หลังจากได้รับคำแนะนำจากที่ปรึกษาพัฒนาผลงานแล้ว ทั้ง 5 ทีมที่ผ่านเข้ารอบ Final จะต้องทำการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชน ให้เห็นภาพชัดเจนทั้งก่อนและหลัง รวมถึงออกแบบแผนการตลาดที่สามารถใช้ได้จริง เพื่อนำเสนอและวางจำหน่ายจริงในรอบ Final ที่งานร้านเด็ดแฟร์ โดย ปตท. จะมีงบประมาณในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชนต้นแบบ และเตรียมการต่างๆ ทีมละไม่เกิน 20,000 บาท
เงินจำนวน 20,000 บาทจะต้องนำไปใช้ในการพัฒนาสินค้าต้นแบบตามที่ได้นำเสนอต่อคณะกรรมการ

การตัดสินผลงานรอบสุดท้าย (Final) : นำเสนอผลงานในวันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567

5 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบ Final สมาชิกในทีมทุกคนจะต้องมานำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการที่งาน “ร้านเด็ดแฟร์” ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2567 โดยแต่ละทีมจะได้รับการจัดสรรพื้นที่บูธสำหรับจำหน่ายและจัดแสดงสินค้า จำนวน 1 บูท
แต่ละทีมจะมีเวลาในการนำเสนอผลงาน 15 นาที และเปิดโอกาสให้คณะกรรมการซักถาม 10 นาที ไม่จำกัดเทคนิคหรือรูปแบบในการนำเสนอ โดยจะประกาศทีมที่ได้รับรางวัลภายในงานร้านเด็ดแฟร์

เกณฑ์การตัดสินรอบ Final

  1. ด้านผลิตภัณฑ์ (15 คะแนน)
    1.1 คุณภาพของสินค้า (คุณภาพของวัตถุดิบ กระบวนการแปรรูป และมาตรฐานรับรองที่ได้รับ) (5 คะแนน)
    1.2 เอกลักษณ์ ความโดดเด่นและแตกต่างของสินค้า (10 คะแนน)
  2. ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (35 คะแนน)
    2.1 ความสวยงามและความคิดสร้างสรรค์ (15 คะแนน)
    2.2 ความสะดวกในการใช้งาน (10 คะแนน)
    2.3 ความเป็นไปได้จริง (Feasibility ในด้านการผลิตและด้านต้นทุน) (10 คะแนน)
  3. ด้านการตลาด (35 คะแนน)
    3.1 ระบุกลุ่มเป้าหมายชัดเจน (5 คะแนน)
    3.2 เอกลักษณ์ของแบรนด์สวยงามและเป็นที่จดจำ (10 คะแนน)
    3.3 เรื่องราวของแบรนด์น่าสนใจ (10 คะแนน)
    3.4 วางแผนการสื่อสารแบรนด์ได้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในด้านช่องทางการสื่อสารและเนื้อหา และช่องทางการจัดจำหน่าย (10 คะแนน)
  4. ด้านความยั่งยืน (15 คะแนน)
    4.1 คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (5 คะแนน)
    4.2 ผลกระทบต่อชุมชน (10 คะแนน)
    4.2.1 ด้านเศรษฐกิจ (ผลประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับจากการพัฒนาสินค้านี้)
    4.2.2 ด้านสังคม (การทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน การสะท้อนเอกลักษณ์ อนุรักษ์วัฒนธรรม ฯลฯ)

รางวัลการประกวด

รางวัลชนะเลิศ : เงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 : เงินรางวัล 70,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 : เงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 3 และ 4 : เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
และโอกาสในการเข้าร่วมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนร่วมกับ ปตท.

ติดต่อสอบถาม

E-Mail: [email protected]
Facebook : ชุมชนยิ้มได้ โดย กลุ่ม ปตท.
Tel : 02-537-2169 และ 02-537-1118


CAMPHUB ไม่ได้เป็นผู้จัดกิจกรรมนี้ หากมีข้อสงสัยน้องๆ สามารถสอบถามจากผู้จัดได้โดยตรงนะครับ

กดแชร์เอาไว้อ่านทีหลัง หรือแชร์ให้เพื่อน คลิกด้านล่างเลยจ้า

ข้อมูลผู้เขียน

ทีมข่าวค่าย/กิจกรรม CAMPHUB

ส่งข้อมูลค่ายและกิจกรรมการศึกษามาประชาสัมพันธ์ที่เว็บแคมป์ฮับ ฟรี! คลิกเลยที่ www.camphub.in.th/sendcamp