ข้อมูลเบื้องต้นของการประกวดแข่งขัน
รูปแบบของการแข่งขัน
การแข่งขันที่มีการจัดงานในสถานที่จริง
วันที่จัดกิจกรรม
พฤหัส 5 กันยายน 2567
วันที่รับสมัครวันสุดท้าย
ศุกร์ 30 สิงหาคม 2567
การจัดทีมสมัครเข้าร่วม
บุคคลเดียว (รับ 30 คน)
ค่าใช้จ่ายในการสมัคร
ฟรี
คุณสมบัติ (ระดับการศึกษา/ช่วงอายุ/อื่นๆ)
นักเรียน ม.ต้น ม.ปลาย ปวช. ปวส. ปริญญาตรี
ของรางวัล
รางวัลมูลค่ารวม 3,500 บาท
สถานที่จัดกิจกรรม
อาคารA ห้อง A601 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เลขที่ 1771/1 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
กิจกรรมนี้จัดโดย (ติดต่อผู้จัด คลิกที่ไอคอนด้านล่าง)
สาขา การจัดการการท่องเที่ยวและการบริการบริการเชิงนวัตกรรม คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
คำอธิบายกิจกรรม
โครงการ TOURISM STORY TELLING
แข่งขัน เล่าเรื่อง เมืองรอง ต้องมาลองดูเป็นภาษาอังกฤษ
1. การสมัครเข้าร่วม
1.1 สถาบันการศึกษาสามารถส่งนักเรียน/นักศึกษาโดยไม่จำกัดจำนวน โดยนักเรียน/นักศึกษาเป็นผู้ที่ศึกษาในสถานบันการศึกษานั้น
1.2 ต้องเป็นนักเรียน/นักศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น-ปลาย หรือ การศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือ ระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือ ระดับปริญญาตรี
1.3 สมัครเข้าร่วมแข่งขันผ่าน https://forms.gle/vu6a7rQhVBFVp9nd9 ในวันที่ 23 สิงหาคม 2567
2. หัวข้อการแข่งขัน
2.1 แข่งขันเล่าเรื่องสร้างสรรค์เรื่องราว (Telling Story) ให้กับแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมในจังหวัดเมืองรอง โดยเลือก 1 จังหวัดจาก 55 จังหวัด คือ
- ภาคเหนือ 16 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สุโขทัย ลำพูน อุตรดิตถ์ ลำปาง แม่ฮ่องสอน พิจิตร แพร่ น่าน กำแพงเพชร อุทัยธานี และพะเยา
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี อุบลราชธานี หนองคาย เลย มุกดาหาร บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ สุรินทร์ สกลนคร นครพนม ร้อยเอ็ด มหาสารคาม บึงกาฬ กาฬสินธุ์ ยโสธร หนองบัวลำภู และอำนาจเจริญ
- ภาคกลาง, ภาคตะวันออก, ภาคตะวันตก 12 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี สุพรรณบุรี นครนายก สระแก้ว ตราด จันทบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม ปราจีนบุรี ชัยนาท อ่างทอง และสิงห์บุรี
- ภาคใต้ 9 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล ชุมพร ระนอง นราธิวาส ยะลา และปัตตานี
2.2 เลือก 1 หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในจังหวัดเมืองรอง จากหัวข้อดังต่อไปนี้
- “สถานที่ท่องเที่ยวที่ซ่อนเร้นในเมืองรอง” – เล่าเรื่องเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่เป็นที่รู้จักมากนักในจังหวัดเมืองรอง
- “อาหารและของฝากในเมืองรอง” – นำเสนออาหารหรือของฝากที่มีความพิเศษและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนั้นๆ
- “วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น” – เล่าเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีที่น่าสนใจในจังหวัดเมืองรอง
- “เรื่องราวจากประวัติศาสตร์และตำนานเมืองรอง” – นำเสนอเรื่องราวทางประวัติศาสตร์หรือตำนานที่น่าสนใจในจังหวัดนั้น
- “กิจกรรมและการผจญภัยในเมืองรอง” – เล่าเรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมที่น่าสนใจที่นักท่องเที่ยว
3. การนำเสนอผลงาน
3.1 การแข่งขันถูกจัดขึ้นในวันพฤหัสบดี ที่ 5 กันยายน 2567 ณ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
3.2 ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 5 นาทีในการพูดนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ แบ่งเป็น
3.2.1 ผู้เข้าร่วมการแข่งขันสามารถนำเสนอเนื้อหาที่เตรียมมาได้อย่างอิสระ (การอธิบาย/การใช้ PowerPoint/การแสดง/การนำเสนอสิ้นค้าต้นแบบ เป็นต้น) 3 – 4 นาที
3.2.2 การถาม-ตอบ 1 นาที
4. เกณฑ์การตัดสิน
- ความน่าสนใจของเนื้อหา (20 คะแนน)
- การวิจัยและความถูกต้องของข้อมูล (20 คะแนน)
- ความคิดสร้างสรรค์ (20 คะแนน)
- การใช้ภาษาและการสื่อสาร (20 คะแนน)
- การตอบคำถาม (20 คะแนน)
5. รางวัล
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้รับ ทุนการศึกษามูลค่า 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้รับ ทุนการศึกษามูลค่า 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้รับ ทุนการศึกษามูลค่า 500 บาท พร้อมเกียรติบัตร
(ผู้เข้าร่วมการแข่งขันและอาจารย์ที่ปรึกษาของผู้เข้าแข่งขันทุกคนได้รับเกียรติบัตร)