ข้อมูลเบื้องต้นของการประกวดแข่งขัน
รูปแบบของการแข่งขัน
การแข่งขันที่มีการจัดงานในสถานที่จริง
วันที่จัดกิจกรรม
เสาร์ 2 – อาทิตย์ 3 พฤศจิกายน 2567
วันที่รับสมัครวันสุดท้าย
ศุกร์ 25 ตุลาคม 2567
การจัดทีมสมัครเข้าร่วม
ทีมละ 3-5 คน
รับ 50 คน (10-12 ทีม)
ค่าใช้จ่ายในการสมัคร
ฟรี
คุณสมบัติ (ระดับการศึกษา/ช่วงอายุ/อื่นๆ)
15 – 23 ปี
ของรางวัล
รางวัลมูลค่ารวม 8,000 บาท
สถานที่จัดกิจกรรม
ชั้น 5, ตึก LX, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (อยู่ตรงไหน?)
กิจกรรมนี้จัดโดย (ติดต่อผู้จัด คลิกที่ไอคอนด้านล่าง)
Mental Health AI Hackathon
คำอธิบายกิจกรรม
โอกาสสำหรับคนมีของ!! งานนี้สมัครฟรี มีเกียรติบัตร
มาร่วม Hack สร้าง AI สายสุขภาพจิตในงาน Mental Health AI Hackathon
ในวันที่ 2 – 3 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
Theme การแข่งขัน: “Social Factors and Mental Health Impact” โดยสามารถส่งผลงานได้ในประเด็นใดประเด็นหนึ่งหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับ 5 ประเด็นดังนี้
Social Connection: ความเครียดจากความสัมพันธ์ ความรัก ครอบครัว รวมทั้งการเผชิญหน้ากับความรุนแรงในความสัมพันธ์
Study & Education: ความเครียดจากการเรียนรู้ การขาดอิสระในการเลือกอาชีพ สภาพแวดล้อมในการเรียน
Safety and Financial Stability: ความเครียดจากการขาดพื้นที่ปลอดภัย โอกาสในการสร้างรายได้ ความมั่นคงทางการเงิน
Stressor Management: ความเครียดจากการไม่สามารถจัดการต้นเหตุของความเครียด ความรุนแรงรอบตัว การสร้างความเข้าใจด้านสุขภาพจิต
Support System and Access to mental health service: อุปสรรคการเข้าถึงบริการสุขภาพจิต การจัดการสภาพจิตใจในสถานการณ์วิกฤต สุขภาพจิตในชุมชน
รางวัลรวมมูลค่ากว่า 8,000 บาท
คุณสมบัติทีม:
รับสมัครเยาวชนอายุ 15 – 23 ปี ทั้งระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา
มีสมาชิกทีม 3 – 5 คน (มัธยมและอุดมศึกษาสามารถรวมทีมกันมาได้)
ในทีมต้องมีคนที่สามารถสร้าง Digital Product ได้ เพื่อสร้าง Digital Product ด้าน Mental Health
คัดเลือกเพียงจำนวน 50 คน (10 – 12 ทีม)
กำหนดการ:
เปิดรับสมัคร: วันนี้ – 25 ตุลาคม 2567
ประกาศผู้เข้าร่วม: 26 ตุลาคม 2567
กำหนดการสำหรับทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ
กิจกรรมเสริมทักษะก่อนงาน: 27 ตุลาคม 2567
วันแข่งขัน Hackathon: 2 – 3 พฤศจิกายน 2567 – มี Mentor Slot ให้ในวันงาน
กิจกรรมเสริมทักษะหลังงาน: 10 พฤศจิกายน 2567
เกณฑ์การคัดเลือก
Innovation and Creativity (30%) ความคิดสร้างสรรค์และความเป็นนวัตกรรมด้านสุขภาพจิต
Technical Implementation (30%) ผลงานที่ส่งเป็นผลงานทางเทคโนโลยี มีการเขียนโค้ดหรือต้นแบบผลงาน
Impact and Feasibility (30%) ผลกระทบและความเป็นไปได้ในการต่อยอดผลงานและการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต
Presentation and Communication (10%) การนำเสนอผลงาน และความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิต