ข้อมูลเบื้องต้นของการประกวดแข่งขัน
รูปแบบของการแข่งขัน
การแข่งขันที่มีการจัดงานในสถานที่จริง
วันที่จัดกิจกรรม
วันที่ต้องเข้าร่วม Onsite: 17 พ.ค. และ 31 พ.ค. เพื่อ Workshop และคัดเลือก หากผ่านเข้ารอบ จะต้องเข้านำเสนอในรอบชิงต่อในวันที่ 31 ส.ค. และ 30 พ.ย.
วันที่รับสมัครวันสุดท้าย
จันทร์ 21 เมษายน 2568
การจัดทีมสมัครเข้าร่วม
ทีมละไม่เกิน 5 คน (ทางโครงการมี Openchat ตามหาสมาชิก หากคนไม่พอ)
ค่าใช้จ่ายในการสมัคร
ฟรี
คุณสมบัติ (ระดับการศึกษา/ช่วงอายุ/อื่นๆ)
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือนิสิตนักศึกษาผู้กำลังศึกษาในหลักสูตรอุดมศึกษา / ปวช
ของรางวัล
เกียรติบัตร และเงินรางวัลมูลค่ารวม 37,500
สถานที่จัดกิจกรรม
สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ (มีรถรับส่ง) (อยู่ตรงไหน?)
กิจกรรมนี้จัดโดย (ติดต่อผู้จัด คลิกที่ไอคอนด้านล่าง)
กลุ่มนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
คำอธิบายกิจกรรม
รายละเอียดการแข่งขัน
โครงการแฮกกาธอนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ (CNMI HACK)
หลักการและเหตุผล
เนื่องจากสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2560 และได้เปิดเป็นวิทยาเขตสำหรับให้มีการเรียนการสอน สำหรับนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีทั้ง 4 หลักสูตร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 ถึงแม้ว่าในปัจจุบันสถาบันฯ ได้มีการพัฒนาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี (Campus Life) ของทั้งนักศึกษาและบุคลากรอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังพบว่ายังมีด้านที่สามารถพัฒนาต่อยอดให้ดีขึ้นต่อไปได้ เพื่อให้สอดคล้องไปกับ Sustainable Development Goal ของคณะฯ และมหาวิทยาลัยโดยนักศึกษาสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาไปพร้อมกัน (student engagement) อาทิ เช่น การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม (Green Campus) และด้านชีวิตความเป็นอยู่ เป็นต้น โดยโครงการ CNMI Hackathon จะเปิดรับสมัครนักศึกษารามาธิบดีผู้ที่ใช้ชีวิต และเข้าใจสภาพแวดล้อมของวิทยาเขตรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์อย่างแท้จริงมาสำรวจ และวิเคราะห์ ถึงสาเหตุของปัญหาที่พบในสถาบันฯ ซึ่งในระหว่างโครงการจะมีการจัด Capacity Building Workshop ซึ่งจะมีการเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ เรื่องการวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาผ่านการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพต่อผู้เข้าแข่งขัน เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้ความสามารถของพวกเขาอย่างเต็มที่เพื่อช่วยกันหาวิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ใน วิทยาเขตรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ได้อย่างเหมาะสมที่สุด ซึ่งในท้ายที่สุดจะมีการแข่งขันกันเพื่อหาทีมที่สามารถ ทำความเข้าใจปัญหาที่พบเจอภายในวิทยาเขตรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านนโยบาย หรือสิ่งประดิษฐ์ ที่จะช่วยให้สถาบันฯ มีสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ของนักศึกษาและบุคลากรที่ดีขึ้นได้อย่างเหมาะสมที่สุดและนำแนวคิดเหล่านั้นมาพัฒนาต่อยอดต่อไป นอกจากนี้โครงการนี้ยังเตรียมพร้อมให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความเป็นผู้นำ ความรับผิดชอบ และความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมต่อองค์กร
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อส่งเสริมการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)
และทักษะการทำงานเป็นทีม (Teamwork) ของนักศึกษารามาธิบดี - เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของบุคลากรและนักศึกษารามาธิบดีภายในสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์
- เพื่อพัฒนาแนวคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมของนักศึกษารามาธิบดี
- เพื่อสร้างทักษะการคิดและแก้ไขปัญหาเชิงระบบแก่นักศึกษารามาธิบดี
คุณสมบัติผู้สมัคร
- ทีมละไม่เกิน 5 คน
โดยต้องมีสมาชิกในทีมเป็นนักศึกษาภายในคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ไม่จำกัดสาขา อย่างน้อย 1 คน - มีสถานภาพเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
หรือนิสิตนักศึกษาผู้กำลังศึกษาในหลักสูตรอุดมศึกษา - สมาชิกทุกคนในทีมต้องสามารถเข้าร่วมการแข่งขัน Final Pitching
และกิจกรรม Workshop ตามกำหนดการของโครงการได้
รายละเอียดการแข่งขัน
เป้าหมายของการแข่งขันในโครงการ CNMI HACK คือการยกระดับคุณภาพชีวิตในวิทยาเขต CNMI แนวคิดหลักของโครงการนี้คือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาและบุคลากรในวิทยาเขต
ผ่านแนวทางที่สร้างสรรค์ ยั่งยืน และคุ้มค่าในระยะยาว โดยแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อย่อย ดังนี้
- ความสะดวกในการเดินทาง (Mobility & Accessibility)
การพัฒนาระบบการเดินทางภายในวิทยาเขตให้มีความสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้แนวทางที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ เข้าถึงได้ทุกกลุ่ม
ตัวอย่างแนวคิด:- การออกแบบเส้นทางเดินและจักรยานให้สะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น
- การใช้แอปพลิเคชันที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้บริการรถกอล์ฟหรือรถรับส่ง
- การพัฒนาระบบเช่าจักรยาน
- การให้ความสะดวกในการเดินทางแก่ผู้ที่มีความพิการ หรือ ผู้บาดเจ็บ
- สุขภาพกายและใจ (Physical & Mental Health)
การพัฒนาแนวทางที่ส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจ โดยเสนอวิธีการที่ช่วยให้นักศึกษาและบุคลากรสามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพได้ง่าย
ตัวอย่างแนวคิด:- การสร้างพื้นที่กระตุ้นการออกกำลังกายและการสร้างสังคมที่สนับสนุนกัน
- โครงการพัฒนาสุขภาวะและการบริโภคที่ดี
- ระบบการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต
- การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (Resource Management & Sustainability)
การพัฒนาการจัดการทรัพยากรภายในวิทยาเขตเพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยการใช้เทคโนโลยีหรือวิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดการพลังงาน น้ำ ขยะ อย่างมีประสิทธิภาพ ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด
ตัวอย่างแนวคิด:- การติดตั้งระบบพลังงานทดแทน
- การสร้างระบบการแยกขยะ
- การสร้างแคมเปญส่งเสริมการลดใช้ทรัพยากร เช่น พลาสติก
- สิ่งอำนวยความสะดวก (Facilities)
การพัฒนาและปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกภายในวิทยาเขตเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของนักศึกษาและบุคลากรอย่างครบถ้วน เช่น อาคาร ห้องเรียน สถานที่พักผ่อน หอพัก หรือพื้นที่สำหรับการเรียนรู้และการทำกิจกรรมสังคม ที่มีความ สะดวกสบาย ทันสมัย และ เข้าถึงได้ง่าย สำหรับทุกคน
ตัวอย่างแนวคิด:- การปรับปรุงห้องเรียนให้มีเทคโนโลยีทันสมัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
- การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในแคมปัส
- การสร้างพื้นที่ทำงานร่วมกันที่สามารถรองรับการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งแบบกลุ่มและเดี่ยว
กิจกรรมภายในโครงการ
- การแข่งขันรอบ Proposal: ระหว่างวันที่ 21 มีนาคม – 21 เมษายน พ.ศ. 2568
- Capacity Building and Insight Providing Session: จัดขึ้นวันที่ 17 พฤษภาคม ณ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ โดยประกอบไปด้วยกิจกรรม 2 ส่วน คือ
- Capacity Building โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อเพิ่มพูนทักษะและความสามารถของผู้เข้าแข่งขันในด้านธุรกิจและนวัตกรรมผ่านการใช้เครื่องมือต่างๆ ประกอบด้วยทักษะการคิดและแก้ไขปัญหาเชิงระบบของผู้เข้าแข่งขัน (โดยใช้ Design Thinking Methods, Problem Solution Fits), ทักษะการนำเสนอไอเดียที่ดี (เช่น การสร้าง Presentation, การออกแบบ UX/UI) และทักษะการวางแผนการจัดทำโครงการ (เช่น การจัดทำงบประมาณ)
- Insight Providing Session พาผู้เข้าแข่งขันเดินชม CNMI campus และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ เพื่อเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจต่อสภาพตัวแคมปัส และปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
- Final Round Pitching: วันที่ 31 พฤษภาคม ณ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ทั้ง 8 ทีมเข้าแข่งขันกันนำเสนอโครงการ และให้คณะกรรมการตัดสินเพื่อหาผู้ชนะ 3 อันดับแรก ซึ่งจะมีโอกาสพัฒนาโครงการเพื่อให้เกิดขึ้นจริง
รายละเอียดเงินรางวัล
ผู้ชนะ 3 อันดับแรก จะต้องทำการพัฒนาโครงการของตนเองและมีการส่งความคืบหน้าต่อโครงการ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- การนำเสนอความคืบหน้าครั้งที่ 1 วันที่ 31 สิงหาคม 2568:
การรายงานความคืบหน้าของการพัฒนาโครงการ และมีการเขียนข้อเสนอเปิดโครงการเสร็จสิ้น พร้อมกับส่งเสนอแก่โครงการต้นกล้ารามาธิบดี หรือกองกิจการนักศึกษาแพทย์ - การนำเสนอความคืบหน้าครั้งที่ 2 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2568:
การรายงานปิดจบโครงการของผู้เข้าแข่งขัน โดยจะมีการแบ่งเงินรางวัลเป็น 2 งวด ประกอบไปด้วย หลังชนะการแข่งขันในวันที่ 31 พฤษภาคม 2568 และ การนำเสนอความคืบหน้าครั้งที่ 1 วันที่ 31 สิงหาคม 2568
หมายเหตุ
สมาชิกในทีมสามารถมาจากโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่แตกต่างกันได้ และสามารถมีทั้งนักเรียนและนิสิตนักศึกษาภายใน 1 ทีมได้
หนึ่งทีมสามารถส่งผลงานเข้าแข่งขันได้เพียง 1 หัวข้อย่อยเท่านั้น และไม่สามารถมีชื่อสมาชิกซ้ำกันมากกว่า 1 ทีมได้ แม้จะแข่งขันในหัวข้อย่อยที่แตกต่างกัน