กดแชร์เอาไว้อ่านทีหลัง หรือแชร์ให้เพื่อน คลิกด้านล่างเลยจ้า
บทความ

แก้ปัญหาการเรียนตามกระแส พร้อมทำความรู้จัก “Business DNA” ไปกับ Warwick Institute

บทความนี้ได้รับการสนับสนุนจาก  Warwick Institute

“เราชอบเรียนอะไร ?”
“ทำไมเรียนบัญชีถึงมั่นคง ?”
“คณะที่พ่อแม่อยากให้เข้าตรงใจกับความชอบของเราจริงหรือ ?”

นี่คือคำถามที่คาใจของเด็กยุคใหม่หลายคน เพราะปัญหาที่น่ากังวลในปัจจุบันไม่ใช่การที่เด็กไทยไม่มีศักยภาพ แต่คือ “การที่เด็กหมดโอกาสในการแสดงศักยภาพ เพราะดันต้องเรียนในสาขาคณะที่ตัวเองไม่ชอบ” ในเมื่อความต้องการของพ่อแม่ไม่สอดคล้องกับ Passion ของเด็ก สุดท้ายจึงต้องลงเอยที่การซิ่ว หรือการทนเรียนให้จบปริญญาตรี แล้วค่อยย้ายคณะหนีตอนต่อป.โท

สวัสดีฮะชาวค่ายที่น่ารักทุกคน พบกับบทความพิเศษจาก พี่ช้าง กันอีกครั้ง!

วันนี้พี่มีโอกาสสัมภาษณ์มุมมองของพี่แบงค์ อภิชัย ไชยวินิจ และ พี่บี เกรียงศักดิ์ ไชยวินิจ ผู้ก่อตั้ง Warwick Institute โรงเรียนเตรียมอินเตอร์ จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์​ สถาบันชั้นแนวหน้าสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อปัญหาที่เกิดขึ้น

พร้อมร่วมเปิดใจน้องมิ้นท์ อมรรัตน์ อออุตสาหกิจ และ น้องเฟอร์ ภาสินี ยังประภากร เด็กยุคใหม่ที่มีประสบการณ์ตรงต่อปัญหาดังกล่าว

ปัญหาที่พี่แบงค์ พี่บีพบมากในเด็กยุคใหม่ที่กำลังจะเข้ามหาวิทยาลัย

เมื่อความต้องการของพ่อแม่ไม่สอดคล้องกับ Passion ของเด็ก คนที่จะเหนื่อยก็คือตัวเด็กเอง

พี่แบงค์: ปัญหาที่พี่เจอเลยก็คือพ่อแม่มักจะอยากให้ลูกเลือกคณะที่มั่นคง แต่คำถามคือในยุคนี้ ยุคที่เทคโนโลยีมันก้าวไกลและเร็วขนาดนี้ คณะที่มั่นคงมันยังมั่นคงจริง ๆ เหรอ

เช่น พ่อแม่หลายท่านมองว่าคนทำงานไฟแนนซ์ ลงทุนในตลาดหุ้น เป็นสายการเรียนที่รายได้ดีและทำให้ชีวิตมั่นคง ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน

แต่ลองคิดดูดี ๆ อีก 10-20 ปี AI อาจจะเข้ามาทำหน้าที่แทนคนเหล่านั้น ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มมีให้เห็นแล้ว พอถึงวันนั้นเด็กจะทำยังไงในเมื่อคณะที่จบมา ความรู้ที่มีมา มันไปทำอาชีพต่อไม่ได้ แถมสิ่งที่เรียนมาก็ไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองรักเสียอีก Passion ในการทำงานเพื่อพัฒนาตัวเองและสู้ต่อการแข่งขันที่สูงก็อาจจะไม่เหลือหรอ

พี่แบงค์ อภิชัย ไชยวินิจ ผู้ก่อตั้งและประธาน Warwick Institute

พี่บี: พี่เห็นด้วยกับพี่แบงค์ เด็กส่วนมากเลือกคณะตามค่านิยม ไม่ก็ตามพ่อแม่ นั่นแปลว่าเขาอาจต้องใช้เวลา 4 ปี หรือทั้งชีวิตไปกับสิ่งที่ไม่ใช่

หลายคนที่เรียนอินเตอร์ก็จะมีค่านิยมที่ว่า ถ้าเก่งก็จะเรียน BBA จุฬาฯ หรือธรรมศาสตร์ เพราะเป็นคณะกลาง ๆ นำไปประยุกต์ได้ง่ายและเป็นที่ยอมรับ ทั้งที่ตัวเองอาจจะไม่ได้ชอบ

“พี่รู้สึกเสียดายโอกาสที่เยาวชนของประเทศจะได้ทำตามความฝัน เสียดายที่ความรู้จากปริญญาใบนั้นอาจจะไม่ได้ใช้”

พี่บี เกรียงศักดิ์ ไชยวินิจ ผู้ก่อตั้ง Warwick Institute และกูรู SAT Math เมืองไทยด้วยประสบการณ์การสอนมากกว่า 22 ปี

ในฐานะที่มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับการเลือกคณะที่ตัวเองไม่ชอบ น้องมิ้นท์ น้องเฟอร์คิดว่าการเลือกคณะสำคัญกับเรามากแค่ไหน

มิ้นท์: สำคัญมาก เพราะมันคือพื้นฐานของอนาคต

ถ้าเลือกคณะที่ไม่ชอบ ก็อาจจะต้องทนกับงานที่ไม่ชอบไปตลอดชีวิต

น้องมิ้นท์ คณะวารสารฯ อินเตอร์ ธรรมศาสตร์ (BJM) (แถวที่ 2 คนที่ 2 จากซ้าย)

เฟอร์: เราคิดเหมือนมิ้นท์นะ เพราะเอาจริง ๆ เวลาคนเราจะเรียนอะไร ความชอบเป็นตัวแปรที่สำคัญมาก

เราจะตั้งใจกับวิชาที่เราชอบมากกว่าวิชาอื่น ดังนั้นถ้าเราเลือกคณะที่เราชอบและทำได้ดี เราก็น่าจะมีแรงผลักดันในการเรียนจนสามารถไปได้ไกลอย่างที่เราคาดหวัง

น้องเฟอร์ คณะจิตวิทยา อินเตอร์ จุฬาฯ (JIPP) (คนที่ 2 จากขวา)

พี่บี: พี่ขอเสริมว่ามันสำคัญจริง ๆ เพราะถ้าได้ทำ ได้เรียนในสิ่งที่ตัวเองรัก ต่อให้ไม่ร่ำรวย เราก็จะมีความสุขในทุกวัน

แต่ถ้าต้องทำในสิ่งที่ไม่ชอบ มันจะเหมือนการทำตามหน้าที่ ใช้ชีวิตแต่ละวันโดยไม่มีความสุข เพราะแบบนี้พี่ถึงอยากให้น้องเลือกคณะที่น้องชอบจริง ๆ

อยากให้มิ้นท์กับเฟอร์แชร์ประสบการณ์เรื่องที่ตัดสินใจซิ่วหน่อย ว่าทำไมถึงตัดสินใจแบบนั้น แล้วตอนนี้เป็นยังไงบ้าง

มิ้นท์: ตอนแรกมิ้นท์เรียนเศรษฐศาสตร์ อินเตอร์ ธรรมศาสตร์ (BE)

พ่อกับแม่คิดว่าน่าจะเอามาต่อยอดธุรกิจที่บ้านได้ แต่เอาเข้าจริง มิ้นท์ไม่รู้ว่าเลยว่า BE เรียนเกี่ยวกับอะไร ทีนี้พอเข้าไปเรียนก็ไม่ชอบ ต้องอ่านหนังสือเยอะมาก ๆ มันไม่ใช่ตัวเรา เราชอบทำกิจกรรม ชอบเรียนรู้นอกห้องเรียน

สุดท้ายเลยตัดสินใจซิ่วไปเรียน BJM (วารสารฯ อินเตอร์ ธรรมศาสตร์) ตอนนี้คือสนุกที่จะเรียน เราได้ทำกิจกรรมหลายอย่าง ซึ่งที่บ้านก็โอเค เพราะเรามีไปทำงานนอก ทำแล้วที่บ้านเห็น เค้าก็ยอมรับและรู้สึกว่าเราเลือกทางเดินที่ถูกต้องให้กับตัวเอง

น้องเฟอร์ คณะจิตวิทยา อินเตอร์ จุฬาฯ (JIPP) (คนที่ 3 จากซ้าย)

เฟอร์: ของเฟอร์ ตอนแรกเรียน BE (เศรษฐศาสตร์ อินเตอร์ ธรรมศาสตร์) เหมือนกับมิ้นท์

ตอนนั้นมีวิชา Psychology เป็นวิชาเลือก เราเรียนแล้วรู้สึกชอบมาก ๆ ทุกวันที่ไปเรียนวิชานี้จะตื่นเต้นสุด ๆ แต่วิชาของคณะเรากลับเฉย ๆ พอมาเรียนจริง ๆ เรารู้สึกว่าเศรษฐศาสตร์มันไกลตัว ดูเป็นนามธรรม เราชอบจิตวิทยามากกว่า

สุดท้ายย้ายมาเรียน JIPP (จิตวิทยา อินเตอร์ จุฬาฯ) คือแฮปปี้นะ มันอาจจะมียากบ้าง แต่พอเราชอบ เราจะมองว่ามันเป็นความท้าทายใหม่ ๆ สุดท้ายมันก็คือสิ่งที่เราสนใจอยู่ดี

พี่แบงค์คิดว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ควรใช้ในการเลือกคณะ

พี่แบงค์: มี 2-3 อย่างให้ลองพิจารณานะ

1. เช็คว่า DNA ของเรา

ลักษณะนิสัย บุคลิกของเรามันเหมาะที่จะเรียนคณะนั้น ๆ รึเปล่า เช่น ถ้าเป็นคนไม่ชอบตัวเลข ไม่ชอบการแข่งขันสูง คุณก็อาจจะไม่เหมาะกับ BBA (บัญชี อินเตอร์ จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์)

2. ไปดูหลักสูตรและวิชาที่เรียนของคณะต่าง ๆ

อาจจะเลือกมาสัก 4-5 คณะที่น่าจะใช่ก็ได้ แล้วพิจารณาเลยว่าเราชอบวิชาที่จะเรียนแต่ละตัวในแต่ละคณะหรือเปล่า คุณอาจจะไม่ชอบทุกวิชาซึ่งไม่เป็นไร ไปเช็คมาว่าชอบวิชาในคณะไหนมากที่สุด ตอนจบคุณอาจจะเซอร์ไพรส์ว่าคุณดันชอบวิชาในคณะที่ไม่ใช่เป้าหมายของคุณเลยก็ได้

3. เราพร้อมรับความท้าทายของคณะเหล่านั้นและพร้อมที่จะพัฒนาตัวเองต่อไปมากน้อยแค่ไหน

คุณพร้อมที่จะใฝ่รู้ในสายงานนั้นและพัฒนามันไปตลอดชีวิต (Lifelong learning) หรือเปล่า นี่คือปัจจัยที่พี่ว่าควรใช้เลือกคณะ

ยังมีเด็กไทยหลายคนที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไรกันแน่ แบบนี้พี่แบงค์ พี่บีมีคำแนะนำยังไงบ้างครับ

พี่บี: นี่ไงคือเหตุผลที่ Warwick Institute จัด Forum ครั้งนี้

เราพยายามเฟ้นหาบุคคลซึ่งเป็นที่สุดในเมืองไทยซึ่งจบจากคณะสายธุรกิจ การเงิน การธนาคาร อย่าง บัญชี เศรษฐศาสตร์ และนิเทศฯ จากทั้งจุฬาฯ และธรรมศาสตร์มาบอกเล่าประสบการณ์ เด็กจะได้เห็นว่าสิ่งที่ตัวเองจะไปเจอในคณะและสายงานอาชีพต่าง ๆ มันเป็นยังไง

ถ้าวันนี้น้องเสิร์ชกูเกิล น้องคงได้รู้แค่หลักสูตร แต่ถ้ามางาน Decode your BUSINESS DNA forum น้องจะได้เห็นความรู้สึกและประสบการณ์จริง รวมไปถึงความท้าทายและโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ จึงน่าจะมีประโยชน์มากสำหรับน้อง ๆ ที่ยังลังเลหรืออยากคอนเฟิร์มตัวเอง

พี่แบงค์: พ่อแม่ก็มีส่วนสำคัญในการเลือกคณะของน้อง ๆ

พี่จึงอยากให้พ่อแม่มาชมงาน พวกเขาจะได้เปิดใจฟังมุมมองของโลกการทำงานยุคปัจจุบันว่าเป็นยังไง บางทีภาพในสายงานนี้ที่สวยงาม อาจเต็มไปด้วยขวากหนามและคราบน้ำตาตอนประกอบอาชีพก็ได้ แล้วลูกคุณพ่อคุณแม่ไหวมั้ย พร้อมมั้ย และชอบมันจริง ๆ รึเปล่า

สุดท้ายขอให้พี่แบงค์ พี่บีฝากอะไรถึงเด็กยุคนี้สักเล็กน้อยครับ

น้อง ๆ เฟรชชี่จาก Warwick Institute ที่ประสบความสำเร็จในการสอบเข้าเรียนคณะอินเตอร์ในรั้วจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์กว่า 3,000 คนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

พี่แบงค์: ในอนาคตจะไม่มีคำว่าคณะหรืออาชีพที่ยั่งยืน แต่ในอนาคตยังมีคำว่าความฝันและ Passion

ดังนั้นจงเชื่อในการเรียนตามความฝัน ไม่ใช่คณะและอนาคต ความชอบของเราแค่บังเอิญไปตรงกับคณะต่าง ๆ ก็เท่านั้นเอง หากต่อไปชีวิตไม่ได้เป็นไปอย่างที่เราคิด เราก็สามารถใฝ่เรียนและพัฒนาตนเอง (Lifelong Learning) ตามสิ่งที่ตนรักจนก้าวข้ามอุปสรรคและประสบความสำเร็จได้

พี่บี: การเลือกคณะก็เหมือนกับการติดกระดุมเม็ดแรก ถ้าเราพลาดเม็ดอื่น ๆ ก็จะพลอยผิดไปด้วย

วันนี้กระดุมเม็ดแรกอยู่ในกำมือของเด็กมัธยมที่ประสบการณ์น้อย Decode your BUSINESS DNA forum จะบอกเราว่า เราควรเอามือที่ใสสะอาดไปติดกระดุมอย่างไร จึงจะประสบความสำเร็จและมีความสุข

พี่แบงค์ พี่บี: แล้วเจอกันนะน้อง ๆ

โลกธุรกิจยุคใหม่ “ใช่หรือไม่” สำหรับคุณ

ร่วมค้นหาคำตอบพร้อมถอดรหัส “BUSINESS DNA” ไปกับ 5 นักธุรกิจ การเงิน การธนาคารชั้นนำของเมืองไทยในงาน Decode your BUSINESS forum

กิจกรรมเปิดบ้านคนสายธุรกิจโดย Warwick Institute โรงเรียนเตรียมอินเตอร์ จุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ ร่วมรับฟังเส้นทางสู่ความสำเร็จจากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของเมืองไทย อันได้แก่

  • คุณปราโมทย์ เดชะบุญศิริพานิช อดีต CFO, P&G ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท ปุริ จำกัด เจ้าของแบรนด์ ปัญญ์ปุริ นิสิตเก่าจากคณะ BBA (Bachelor of Business Administration, International Business Management) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คุณชาริณี กัลยาณมิตร ผู้คร่ำหวอดในวงการ Startup ที่รู้จักกันดีอย่าง MOXY บริษัทผู้พลิกวงการช้อปปิ้งออนไลน์ของเมืองไทย และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท ORAMI ประเทศไทย นักศึกษาเก่าจากคณะ BBA (Bachelor of Business Administration, Finance) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คุณคณิน พีระวัฒนชาติ หัวหน้าฝ่ายวางกลยุทธ์ บริษัท Grab ประเทศไทย ทั้งยังมีผลงานบทความร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยอย่าง บทบาทของรัฐบาลท้องถิ่นกับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม ศิษย์เก่าจากคณะ EBA (Bachelor of Arts, Economics – First Class Honor) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คุณวิน พรหมแพทย์ เจ้าของรางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2549 ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง CFA Chief Investment Officer, CIMB-Principal Asset ศิษย์เก่าจากคณะ BE (Bachelor of Arts in Economics, International Program)
  • คุณสนธยา ตั้งสันติกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด แมคโดนัลด์ ประเทศไทย ผู้มีประสบการณ์โชกโชนในแวดวงโฆษณาและการตลาดทั้งในและต่างประเทศ นิสิตเก่าจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พบกันวันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน 2562

เวลา 9.00 – 12.00 น.
ห้องประชุมดวงเดือน พิศาลบุตร อาคารประชุมสุข อาชวอำรุง
ชั้น 1 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในงานนอกจากจะได้ตรวจสอบ BUSINESS DNA ในตัวคุณ และรู้วิธีการเตรียมตัวเข้าคณะยอดฮิตทั้ง 5 อย่างชาญฉลาด นอกจากนั้น Warwick Institute ยังเปิดโอกาสให้ได้พูดคุยกับรุ่นพี่ที่เรียนอยู่ใน 5 คณะด้วย

ดูรายละเอียดกิจกรรม LINE @warwick ลงทะเบียนออนไลน์ตรงนี้เลย!

ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ – 25 พฤษภาคม 2562
ที่

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ 02-658-4880

กดแชร์เอาไว้อ่านทีหลัง หรือแชร์ให้เพื่อน คลิกด้านล่างเลยจ้า

ข้อมูลผู้เขียน

พี่ช้าง

พี่ช้าง ทีมงานแคมป์ฮับสุดคิ้วท์ นักศึกษาคณะ ICT มหิดลที่มีใจรักในค่าย :)