ข้อมูลเบื้องต้นของการประกวดแข่งขัน
รูปแบบของการแข่งขัน
ส่งผลงานทางออฟไลน์/ออนไลน์ แล้วรอการประกาศผล
ช่วงเวลาจัดกิจกรรม
กุมภาพันธ์ – กันยายน 2564
วันที่รับสมัครวันสุดท้าย
ศุกร์ 14 พฤษภาคม 2564 เวลา 17.00 น.
ขยายเวลาถึง ศุกร์ 28 พฤษภาคม 2564
การจัดทีมสมัครเข้าร่วม
ทีมละ 2 คน
ค่าใช้จ่ายในการสมัคร
ฟรี
คุณสมบัติ (ระดับการศึกษา/ช่วงอายุ/อื่นๆ)
ม.ต้น
ของรางวัล
ทุนการศึกษามูลค่ารวมกว่า 70,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร
สถานที่จัดกิจกรรม
พิจารณาและประกาศผลทางออนไลน์
กิจกรรมนี้จัดโดย (ติดต่อผู้จัด คลิกที่ไอคอนด้านล่าง)
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
คำอธิบายกิจกรรม
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ มีภารกิจหลักในการส่งเสริมการสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์ให้กับสังคมไทยให้ตระหนักถึงความสำคัญต่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยบูรณาการองค์ความรู้และส่งเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อให้เยาวชนเกิดความคิดริเริ่มสรางสรรค์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสร้างเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ ประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านธรรมชาติวิทยาระดับประเทศ โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติจัดขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ จนปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า ๕ ปี ได้รับการตอบรับจากเยาชนเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นการประกวดโครงงานที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติวิทยา ผ่านการนำเสนอที่สร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ เพื่อศึกษาข้อมูลรวบรวมข้อมูลทั้งโดยตรงผ่านการพูดคุยกับนักวิทยาศาสตร์หรือผู้รู้ในท้องถิ่น ตลอดจนค้นคว้าผ่านแหล่งข้อมูลอื่น ๆ โดยการเรียนรู้ตามอัธยาศัย เพื่อพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ตามหัวข้อที่กำหนด
โดยปีนี้จัดการประกวดขึ้นภายใต้หัวข้อ “พืชผักและผลไม้ไทยเพื่อความยั่งยืนในอนาคต” (Thai Vegetables and Fruits for Sustainable Future ) โดยมุ่งเน้นให้เยาวชนศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ด้านธรรมชาติวิทยาที่ตนเองสนใจในท้องถิ่น เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างการดำรงชีวิตของเยาวชนเข้ากับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวในท้องถิ่น และเป็นพื้นที่สำหรับเยาวชนได้มีโอกาสแสดงศักยภาพในด้านต่าง ๆ เช่น การคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ การสื่อสารและถ่ายทอดเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ ผ่านการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านธรรมชาติวิทยาและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมการสร้างสังคมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์อันเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาคุณภาพของประชากรอันเป็นทรัพยากรสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
โดย ๔๐ ทีมที่ผ่านการคัดเลือก จะได้เข้าร่วมประกวดในรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติผ่านรูปแบบออนไลน์