ข้อมูลเบื้องต้นของการประกวดแข่งขัน
รูปแบบของการแข่งขัน
การแข่งขันที่มีการจัดงานในสถานที่จริง
วันที่จัดกิจกรรม
กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม 2565
วันที่รับสมัครวันสุดท้าย
ศุกร์ 11 มีนาคม 2565
ขยายเวลาถึง อังคาร 22 มีนาคม 2565
การจัดทีมสมัครเข้าร่วม
โครงงานละไม่เกิน 2 คน ครูที่ปรึกษา 1 คน
ค่าใช้จ่ายในการสมัคร
ฟรี
คุณสมบัติ (ระดับการศึกษา/ช่วงอายุ/อื่นๆ)
นักเรียนระดับ ม.ต้นหรือเทียบเท่า (ม.1-3)
ของรางวัล
ทุนการศึกษามูลค่ารวมกว่า 50,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร
สถานที่จัดกิจกรรม
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี (ดูแผนที่)
กิจกรรมนี้จัดโดย (ติดต่อผู้จัด คลิกที่ไอคอนด้านล่าง)
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
คำอธิบายกิจกรรม
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มีพันธกิจหลักในการส่งเสริมการสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์ให้กับสังคมไทยให้ตระหนักถึงความสำคัญต่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยบูรณาการองค์ความรู้และส่งเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อให้เยาวชนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสร้างเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมหาวิทยาลัยบูรพา และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)หน่วยงานร่วมจัดโครงการ “การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านธรรมชาติวิทยาระดับประเทศ ประจำปี ๒๕๖๕” เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่า (ม.๑-๓) ได้ศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านธรรมชาติวิทยาผ่านการพูดคุยกับนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือผู้รู้ในท้องถิ่น เป็นการส่งสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาซึ่งเป็นทักษะสำคัญแห่งศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้พัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้านธรรมชาติวิทยา อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ด้านธรรมชาติวิทยา สำหรับเยาวชน ครู และสถาบันการศึกษา
ทั้งนี้ ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ประกาศให้ปี พ.ศ. 2565 ให้เป็นปีสากลแห่งการประมงพื้นบ้าน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำ (2022 the International Year of Artisanal Fisheries and Aquaculture-IYAFA) โดยมีองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization หรือ FAO) เป็นหน่วยงานหลักที่เข้ามามีบทบาทโดยตรงในการขับเคลื่อนนโยบาย แนวทางการแก้ไขปัญหา การจัดการการให้ความรู้ และถ่ายทอดองความรู้ที่ได้แก่ชุมชนและประเทศ รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ถึงบทบาทสำคัญของการประมงพื้นบ้าน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำทั้งน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อยในการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงจากความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมที่รุนแรงในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลต่อผลผลิตสัตว์น้ำที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างการดำรงชีวิตของเยาวชนเข้ากับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวในท้องถิ่น อีกทั้งยังเปิดพื้นที่สำหรับเยาวชนได้มีโอกาสแสดงศักยภาพในด้านต่าง ๆ เช่น การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การสื่อสารและถ่ายทอดเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ผ่านการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านธรรมชาติวิทยาและสิ่งแวดล้อม การประกวดโครงงานครั้งนี้จึงได้กำหนดหัวข้อ ประมงพื้นบ้าน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำ สู่วิถีแห่งความยั่งยืน (Artisanal Fisheries and Aquaculture for Sustainable Living) เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการทำประมงและการเพาะเลี้ยงอันเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงที่สำคัญของคนทั่วโลก เป็นการสนับสนุนบริบทความมั่นคงด้านอาหารและการขจัดความยากจนในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)