กดแชร์เอาไว้อ่านทีหลัง หรือแชร์ให้เพื่อน คลิกด้านล่างเลยจ้า
วิทยาศาสตร์

ค่ายวิทย์จรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 4

ปิดรับสมัครแล้ว

วันที่จัดค่าย

5 – 8 พฤษภาคม 2558

ปิดรับสมัคร

26 มีนาคม 2558

จำนวนที่รับ

100 คน

ระดับการศึกษา

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 สายวิทย์ – คณิต

ค่าใช้จ่าย

ฟรีตลอดค่าย

จัดโดย

ส่วนกิจการพิเศษ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงกลาโหม

รายละเอียดค่าย

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงกลาโหมจัดกิจกรรม “ค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 4 ”เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยอบรมให้ความรู้และสอนการประดิษฐ์จรวด เพื่อจุดประกายความคิดในการวิจัยค้นคว้าจรวด ซึ่งเป็นยุทโธปกรณ์ป้องปรามที่สำคัญในการสร้างความมั่นคงแก่ประเทศ โดยรับสมัครนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 สายวิทย์ – คณิต หรือเทียบเท่า จำนวน 100 คน เข้าร่วมโครงการในวันที่ 5-8 พฤษภาคม 2558 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สวทช. และศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พี่โด่ง 081-1904246 พี่เก๋ 093-9355664

ค่ายกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ ครั้งที่ 4

1. หลักการและเหตุผล

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) / สทป. จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินภารกิจด้านการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์ป้องกันประเทศให้เหล่าทัพใช้งาน โดยมีโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดหลายลำกล้องเป็นโครงการแรก ที่มีจรวดหลายลำกล้อง DTI-1 เป็นผลงานรูปธรรมที่ชัดเจน ทำให้ สทป. เป็นที่รู้จักทั่วไปในฐานะองค์กรวิจัยและพัฒนาจรวดยุทโธปกรณ์ป้องปรามเพื่อสร้างความมั่นคงด้วยการพึ่งพาตนเอง นอกจากยุทธศาสตร์การวิจัยพัฒนาแล้ว
การพัฒนาองค์ความรู้สู่สังคมและการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือยังเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการดำเนินงานของ สทป. และการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมเป็นแผนงานหนึ่งตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว
เยาวชนบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญอันจะเติบโตเป็นกำลังหลักสำคัญของชาติ การส่งเสริมให้เยาวชนสนใจ และสามารถเติบโตเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถในอนาคตเป็นการสร้างรากฐานสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถสร้างความมั่นคงของประเทศชาติ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ สทป. ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมพัฒนาความรู้ของเยาวชนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยให้ความสำคัญกับความรู้ที่องค์กรมีอยู่และใช้ศักยภาพของบุคลากรของสถาบันที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์
สทป. จึงได้ริเริ่มดำเนินการจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ขึ้น ตั้งแต่ปี 2555 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นต้นมา โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กลุ่มเป้าหมายในสังคม ซึ่งคือ กลุ่มเยาวชน เพื่อส่งเสริมการพัฒนานักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ผลของการจัดกิจกรรมค่ายวิทยาศาสาตร์จรวดประดิษฐ์ทั้ง 3 ครั้ง มีเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนต่าง ๆ จากทั่วประเทศเข้าร่วมกิจกรรม ผลสัมฤทธ์จากกิจกรรมดังกล่าวสามารถเสริมสร้างความรู้และความสนใจด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเกี่ยวกับยุทโธปกรณ์จรวดในกลุ่มเยาวชนที่เข้าร่วมเป็นอย่างมากที่สุด และสนับสนุนให้จัดกิจกรรมต่อเนื่อง ทั้งนี้มาจากผลสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มเยาวชนดังกล่าว โดยได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้ง ครูอาจารย์ หน่วยงานที่สนับสนุน และสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก
ปี 2558 สทป. จึงกำหนดจัดกิจกรรม “ค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์” ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 โดยมุ่งกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และพัฒนาเนื้อหาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับจรวดในเชิงวิชาการและการปฏิบัติให้เข้มขึ้น การจัดกิจกรรมเน้นความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและขอรับการสนับสนุนจากองค์กรเอกชน ในรูปของความร่วมมือด้านทรัพยากรบุคคลและวัสดุอุปกรณ์
กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์จรวดประดิษฐ์ เป็นกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ที่มุ่งหวังส่งเสริมความรู้ของเยาวชน จุดประกายความคิดเยาวชนในการใฝ่ค้นคว้าความรู้ และต่อยอดความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจรวดประดิษฐ์ เพื่อเป็นนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสู่สังคม นอกจากนั้นยังเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ตอกย้ำบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมของ สทป. ในฐานะองค์กรที่มุ่งเน้นการดำเนินงานที่มีธรรมาภิบาล

2. วัตถุประสงค์

  1. เผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจรวดสู่สังคม
  2. สร้างความสนใจและใฝ่ค้นคว้า และสร้างรากฐานการเป็นนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอันเป็นทรัพยากรบุคคลในอนาคต
  3. สร้างความเชื่อมั่น สทป. เป็นองค์กรวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  4. เสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

3. กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 – 6 สายวิทย์ – คณิต หรือสถานศึกษาของเหล่าทัพที่เทียบเท่า ชายหญิง จำนวนรวม 100 คน

4. ระยะเวลาดำเนินงาน

พฤศจิกายน 2557 – พฤษภาคม 2558 กำหนดระยะเวลาดำเนินการดังนี้

  • พฤศจิกายน 2557 จัดทำแผนรายละเอียดกิจกรรมเบื้องต้น ประสานงานหน่วยงาน, ปรับแผนกิจกรรม และนำเสนอ
  • ธันวาคม 2557 เสนออนุมัติดำเนินการ จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ จัดทำหนังสือเชิญ
  • มกราคม 2558 ประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านหน่วยงานต่าง ๆ กิจกรรม Road Show สถานศึกษา และรับสมัครเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม
  • กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2558 เตรียมเนื้อหาความรู้ สถานที่ บุคลากรดำเนินการกิจกรรม
  • เมษายน 2558 คัดเลือกเยาวชน และประกาศผล
  • 5 – 8 พฤษภาคม 2558 จัดกิจกรรม

เยาวชนที่มีระดับการศึกษาที่กำหนด และสนใจเข้าร่วมกิจกรรม ส่งใบสมัคร พร้อมบทเรียงความในหัวข้อที่กำหนด และกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาจาก

  • บทเรียงความ พิจารณา แนวความคิดสร้างสรรค์ และความรู้ในกรอบเรื่องที่กำหนดให้
  • ใบสมัคร พิจารณา ผลการศึกษาที่ผ่านมา เหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรม

5. รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม

  1. ความร่วมมือจากบุคลากรผู้เชี่ยวชาญภายนอกและบุคลากรภายในจัดการบรรยายความรู้
  2. การจัดกิจกรรมค่าย 4 วัน 3 คืน
  3. สถานที่จัดค่าย

– บรรยายความรู้/ฝึกประดิษฐ์/พักค้าง ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สวทช.
– สนามทดสอบ ณ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จ.ลพบุรี

6. การประชาสัมพันธ์

  1. การประชาสัมพันธ์เชิญชวนเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม
  2. การประชาสัมพันธ์กิจกรรม
  3. การทำสื่อเผยแพร่

7. เนื้อหาและกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์

  1. เป้าประสงค์ต่อนักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
    – พัฒนาศักยภาพกลุ่ม ในด้านการทำงานเป็นทีม การปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร
    – สร้างกระบวนทัศน์การค้นคว้าทดลอง
  2. กิจกรรมแบ่งเป็นกระบวนการ
  3. กรอบเนื้อหาความรู้
    – ความรู้ด้านฟิสิกส์ เคมี เกี่ยวกับจรวด
    – ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการออกแบบจรวด
    – ความรู้ในการประดิษฐ์จรวดประดิษฐ์
  4. วิทยากร
    – สอนประดิษฐ์จรวด และทดสอบจรวดประดิษฐ์ โดย สทป.
    – สันทนาการ โดย วิทยากรภายนอก
    – ดำเนินรายการ โดย สทป.
  5. ขอรับการสนับสนุนทีมนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ สทป. เข้าร่วมจัดกิจกรรม
    – ทีมทดสอบและวัดผล
    – วิทยากรสอนประดิษฐ์จรวด

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เยาวชนได้รับความรู้และเข้าใจถึงการนำวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการวิจัยพัฒนายุทโธปกรณ์ป้องกันประเทศ
  2. เยาวชนสนใจในการค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และต่อยอดความรู้
  3. เยาวชนมีโอกาสในการฝึกลงมือปฏิบัติเพื่อเป็นนักวิจัยในอนาคต
  4. เยาวชนได้ฝึกทักษะการสื่อสารและการปฏิสัมพันธ์ เสริมสร้างทักษะในการร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และการปรับตัว
  5. ได้เผยแพร่ความรู้ด้านจรวดของ สทป. สู่ประชาสังคม
  6. เสริมสร้างภาพลักษณ์ให้ สทป. เป็นหน่วยงานด้านการวิจัยเทคโนโลยีของเหล่าทัพ

 

button_www button_fb button_tw
กดแชร์เอาไว้อ่านทีหลัง หรือแชร์ให้เพื่อน คลิกด้านล่างเลยจ้า

ข้อมูลผู้เขียน

พี่ออฟ

เราพี่ออฟ สาระไม่ค่อยมีหรอก หน้าตาดีไปวันๆ :p
หากน้องๆ มีปัญหาอะไร เข้ามาสอบถามได้น้า เดะตอบได้จะตอบให้