ข้อมูลเบื้องต้นของกิจกรรมนี้
รูปแบบกิจกรรม
จัดกิจกรรมในสถานที่จริง (การกิจกรรมจะเปลี่ยนเป็นรูปแบบออนไลน์หากมีคำสั่งจากประกาศของรัฐบาลตรงกับวันที่จัดกิจกรรม)
วันที่จัดกิจกรรม
เสาร์ 21 มกราคม 2566 (เวลา 13:00-16:30 น.)
วันที่รับสมัครวันสุดท้าย
ศุกร์ 20 มกราคม 2566
(ปิดรับสมัครทันทีเมื่อมีผู้สมัครครบตามจำนวน)
จำนวนที่รับ
30 คน
ค่าใช้จ่าย
2,500 บาท (จ่ายตอนสมัคร)
คุณสมบัติ (ระดับการศึกษา/ช่วงอายุ/อื่นๆ)
ม.1 – ม.6 / บุคคลทั่วไปและผู้ที่สนใจ
สถานที่จัดกิจกรรม
Ko Kreate Space (แผนที่)
กิจกรรมนี้จัดโดย (ติดต่อผู้จัด คลิกที่ไอคอนด้านล่าง)
Talent Hunter Thailand
เพิ่มเติม
คำอธิบายกิจกรรม
“ทุกสัมผัสจะทิ้งร่องรอย ตราบใดที่มีร่องรอย การสืบสวนจะไม่มีวันจบ และศพไม่อาจโกหกได้”
การค้นหาความจริงทั้งจากศพ และสภาพแวดล้อมในที่เกิดเหตุ การผ่าชันสูตรศพ การหาสารพิษ ฯลฯ เป็นหน้าที่ของนิติวิทยาศาสตร์ นิติเวชวิทยาหรือนิติเวชศาสตร์เป็นวิชาแพทย์สาขาหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ซึ่งนำความรู้ทางการแพทย์ รวมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมเพื่ออธิบายเหตุการณ์หรือกรณีต่าง ๆ ที่เกิดผิดธรรมชาติ หรือ เรียกว่า Forensic medicine หรือ Legal medicine
การตาย VS การชันสูตรพลิกศพ
การตาย ตามหลักวิชาการแพทย์ หมายถึง การหยุดทำงานของสมอง ระบบหายใจ และระบบไหลเวียนโลหิต ในขณะที่ การชันสูตรพลิกศพ เป็นกระบวนการที่กำหนดขึ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 148 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “เมื่อปรากฏแน่ชัดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลใดตายโดยผิดธรรมชาติ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานให้มีการชันสูตรพลิกศพ เว้นแต่ตายโดยประหารชีวิตตามกฎหมาย” ซึ่งการตายโดยผิดธรรมชาติ คือ การตาย 5 ลักษณะ ดังนี้ การฆ่าตัวตาย การถูกผู้อื่นทำให้ตาย การถูกสัตว์ทำร้ายตาย การตายโดยอุบัติเหตุ และ การตายโดยยังมิปรากฏเหตุ การตรวจพิสูจน์บุคคล (biometrics) คือการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาศาสตร์แขนงต่าง ๆ ในการตรวจพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคล ว่าบุคคลมีชีวิต ศพ เศษชิ้นส่วนของศพ โครงกระดูก เศษชิ้นส่วนกระดูก เลือดหรือเนื้อเยื่อ ตลอดจนคราบต่าง ๆ ที่เกิดจากเนื้อเยื่อหรือสารคัดหลั่งจากมนุษย์เป็นใครหรือเป็นของใคร ความรู้ทางด้านการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากในการระบุตัวของศพหรือบุคคลวิกลจริตหรือหมดสติ และยังนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากในกระบวนการสืบสวนสอบสวนเพื่อยืนยันตัวบุคคลผู้กระทำผิดกฎหมาย
ค่ายนี้จะทำให้คุณได้รู้จักวิธีการตรวจพิสูจน์บุคคล เช่น การใช้ความจำของมนุษย์ จำได้ว่าบุคคลหรือศพที่พบเห็นเป็นใคร โดยใช้เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และการใช้เครื่องตรวจพิสูจน์ที่สามารถยืนยันตัวบุคคลได้ด้วยเอกลักษณ์ลายพิมพ์นิ้วมือ เอกลักษณ์ฟัน หรือเอกลักษณ์ดีเอ็นเอ รวมถึงเทคนิคการทำภาพเชิงซ้อนที่นำมาใช้เพื่อพิสูจน์บุคคล รวมถึงการตรวจ DNA และแยกสารเคมี สารเสพติดออกจากตัวอย่างศพ หรือ sample โดยข้อมูลที่ได้จะนำมาใช้ที่สถานบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจเป็นที่แรกและที่เดียวในประเทศไทย ค่ายนี้สอนโดย เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้เชี่ยวชาญแลปจาก สถาบันนิติเวช จาก โรงพยาบาลตำรวจ (Ph.D. อาชญาวิทยา)
แล้วพบกัน ในแลปจำลอง 13.00-16.30 น.