กดแชร์เอาไว้อ่านทีหลัง หรือแชร์ให้เพื่อน คลิกด้านล่างเลยจ้า
กิจกรรมออนไลน์ พัฒนาทักษะ/เวิร์กชอป

Critical Thinking Skill ทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ

ปิดรับสมัครแล้ว

ข้อมูลเบื้องต้นของกิจกรรม

รูปแบบกิจกรรม

กิจกรรมออนไลน์

วันที่จัดกิจกรรม

เสาร์ 28 ธันวาคม 2567

วันที่รับสมัครวันสุดท้าย

ศุกร์ 27 ธันวาคม 2567

จำนวนที่รับ

ประเภท 15 ทีม (ทีมละไม่เกิน 5 คน) ประเภทเดี่ยว 30 คน

ค่าใช้จ่าย

499-2,000 บาท (จ่ายตอนสมัคร)

ประเภททีม 2,000 บาท/ทีม ประเภทเดี่ยว 499 บาท/คน
คุณสมบัติ (ระดับการศึกษา/ช่วงอายุ/อื่นๆ)

ม.1 - ม.6 / ปวช. / ปริญญาตรี / หรือผู้สนใจ (ปีการศึกษา 2567)

กิจกรรมนี้จัดโดย (ติดต่อผู้จัด คลิกที่ไอคอนด้านล่าง)

Think Act Succeed Institute

เพิ่มเติม
มีประกาศนียบัตร
สายอาชีวะสามารถสมัครได้

สนับสนุนแคมป์ฮับ คลิกที่ QR Code ด้านบน

คำอธิบายกิจกรรม

กิจกรรมพัฒนาทักษะ/เวิร์กชอป หัวข้อ: การพัฒนาเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณสำหรับเยาวชน (Developing and enhancing critical thinking skills for youth)

ผู้จัดกิจกรรม: Think Act Succeed (TAS)

บทนำ
ในโลกยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารและความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การมีทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking Skill) เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เยาวชนสามารถประเมินข้อมูล ตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทักษะนี้ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือในการเรียนรู้ในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานสำคัญของการประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคม

สถาบัน Think Act Succeed มีเป้าหมายที่จะพัฒนาเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ โดยเน้น ความสามารถในการตั้งคำถาม การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และการสร้างความเข้าใจเชิงลึก ซึ่งเป็นทักษะที่ต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พวกเขาสามารถเผชิญกับความท้าทายที่ซับซ้อนได้อย่างมั่นใจและรอบคอบ

หลักการและเหตุผล
การคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการฝึกฝนและการพัฒนาทักษะหลายด้าน เช่น การตั้งคำถามที่เหมาะสม การประเมินหลักฐาน การพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล และการสรุปข้อคิดเห็นอย่างมีเหตุผล เยาวชนที่มีทักษะนี้จะสามารถหลีกเลี่ยงการตัดสินใจที่ขาดข้อมูล ลดความเสี่ยงในการตกเป็นเหยื่อของข่าวลวง และเพิ่มความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อน

เวิร์กชอปนี้จึงถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ในรูปแบบที่สนุกสนาน มีปฏิสัมพันธ์ และสอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเยาวชน โดยเน้นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม การแก้ปัญหาจริง และการสร้างทัศนคติที่พร้อมจะเรียนรู้และตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์
เป้าหมายโครงการ

เพื่อให้เยาวชนได้พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถประยุกต์ใช้ในการเรียน การทำงาน และการตัดสินใจในชีวิตประจำวันได้อย่างมั่นใจและมีคุณภาพ

วัตถุประสงค์หลัก
1. เพื่อให้เยาวชนสามารถเข้าใจหลักการพื้นฐานของการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ และความสำคัญของการใช้ทักษะนี้ในชีวิตประจำวัน
2. เพื่อให้เยาวชนสามารถตั้งคำถามที่ช่วยให้เข้าใจปัญหาเชิงลึก และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
3. เพื่อให้เยาวชนสามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิเคราะห์ความถูกต้อง และหลีกเลี่ยงการเชื่อในข้อมูลที่ผิดพลาดหรือบิดเบือน
4. เพื่อให้เยาวชนสามารถตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้อง เหตุผลที่รอบคอบ และผลกระทบในระยะยาว
5. เพื่อให้เยาวชนมีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยืดหยุ่น และพร้อมปรับตัวต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงสามารถคิดหาแนวทางแก้ไขปัญหาใหม่ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์

กลุ่มเป้าหมาย
 เยาวชน อายุ 16 – 22 ผู้มุ่งมั่นจะพัฒนาเสิรมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 10 – 20 ทีม
o ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และสายอาชีวะ
o นักศึกษาระดับอุดมศึกษา
 สถาบันการศึกษา และองค์กรที่สนับสนุนเยาวชน ในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ

วิธีดำเนินการ
1. การเปิดรับสมัคร: เปิดรับสมัครเยาวชนผ่านช่องทางออนไลน์ โดยผู้สมัครต้องกรอกใบสมัครผ่านทางช่องทางลิงค์การสมัครเท่านั้น
2. กิจกรรมพัฒนาทักษะ: รูปแบบออนไลน์เวิร์กชอป ในหัวข้อการพัฒนาและเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงานร่วมกัน
3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านจะได้รับเกียรติบัตร

สถานที่จัดกิจกรรม: ONLINE ผ่าน ZOOM Meeting (ผู้ที่ลงทะเบียน จะได้รับ ZOOM Meeting Link 1 วันล่วงหน้า ก่อนกิจกรรม)
ระยะเวลาในการดำเนินการ

1. วันที่จัดกิจกรรม วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2567

2. วันที่รับสมัครวันสุดท้าย ศุกร์ 27 ธันวาคม 2567 (ปิดรับสมัครทันทีเมื่อมีผู้สมัครครบตามจำนวน) จำนวนที่รับ 10 – 15 ทีม
กำหนดการกิจกรรม
 เวลา 09:00 น – 14:00 น.
 ระยะเวลา: 4 – 4.5 ชั่วโมง

กำหนดการ Workshop
1. Welcome & Check-in:
o เปิดห้องก่อนเวลา 10 นาทีเพื่อเตรียมพร้อมและพูดคุยเบื้องต้น
o ผู้เข้าร่วมตอบคำถาม เช่น “คุณเคยสงสัยในข่าวหรือข้อมูลที่ได้รับหรือไม่?”
2. Ice-breaking:
o เกม “Fact or Fake?”
3. อธิบายวัตถุประสงค์และเป้าหมายของเวิร์กชอป:
o การคิดวิเคราะห์ช่วยพัฒนาทักษะชีวิตได้อย่างไร

ช่วงที่ 2: กิจกรรมการเรียนรู้พื้นฐานการคิดวิเคราะห์
1. Mini Lecture:
o อธิบายหลักการคิดวิเคราะห์
o กรณีศึกษา
2. Interactive Activity:
o นำเสนอกรณีศึกษาข่าวลวง (Fake News)
o เปิดให้ผู้เข้าร่วมอภิปรายว่าข้อมูลใดที่น่าเชื่อถือ และต้องการตรวจสอบเพิ่มเติม

ช่วงที่ 3: กิจกรรมการตั้งคำถามและวิเคราะห์เชิงลึก
1. Workshop การตั้งคำถาม:
o ให้ผู้เข้าร่วมแบ่งกลุ่ม และฝึกตั้งคำถามเชิงวิเคราะห์จากโจทย์ที่กำหนด
o กลุ่มนำเสนอคำถาม และรับคำแนะนำจากวิทยากร
2. Case Study การวิเคราะห์ข้อมูล:
o นำเสนอข้อมูล 2-3 แหล่งที่มีความน่าสงสัย และให้ผู้เข้าร่วมช่วยกันวิเคราะห์ในกลุ่ม
o ให้กลุ่มเขียนคำตอบร่วมกัน

ช่วงที่ 4: กิจกรรมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
1. โจทย์ปัญหาเชิงสถานการณ์:
o ให้โจทย์
o แบ่งกลุ่ม เพื่อระดมความคิดและเสนอแนวทางแก้ไข
2. การนำเสนอและรับคำแนะนำ:
o แต่ละกลุ่มนำเสนอแนวทางแก้ปัญหา
o วิทยากรให้คำแนะนำและชวนผู้เข้าร่วมคนอื่นแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ช่วงที่ 5: สรุปและสะท้อนการเรียนรู้
1. Reflection Activity:
o ผู้เข้าร่วมตอบคำถาม
 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเวิร์กชอป
 การนำไปใช้ในชีวิตจริง
o เปิดโอกาสให้พูดคุยใน Main Room
2. Q&A และปิดกิจกรรม:
o เปิดช่วงถาม-ตอบกับวิทยากร
o มอบเกียรติบัตรผ่านอีเมล (ภายใน 3 วันหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม)

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

เยาวชนที่เข้าร่วม workshop เพื่อการพัฒนาเสิรมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณจะได้รับประโยชน์หลายด้านที่สำคัญ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้:

1. พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง
ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้และฝึกฝนการคิดเชิงวิเคราะห์ที่ช่วยให้สามารถแยกแยะข้อมูล ประเมินเหตุผล และตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด

2. เพิ่มความสามารถในการตรวจสอบ ประเมินข้อมูลและแหล่งที่มา
ผู้เข้าร่วมจะได้รับเทคนิคในการจัดระเบียบข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้องของแหล่งข้อมูล และประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เสริมสร้างความมั่นใจในการแก้ไขปัญหา
ด้วยการฝึกฝนผ่านกิจกรรมเชิงปฏิบัติ ผู้เข้าร่วมจะรู้สึกมั่นใจมากขึ้นในการเผชิญกับสถานการณ์ที่ท้าทายและสามารถแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้

4. พัฒนาทักษะการสื่อสารและการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ผ่านกิจกรรมกลุ่มและการอภิปราย ผู้เข้าร่วมจะได้ฝึกการแสดงความคิดเห็น การฟัง และการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ

5. สร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการเรียนรู้และการทำงานในอนาคต
ทักษะการคิดวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมสามารถปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลง เรียนรู้สิ่งใหม่ และตัดสินใจในชีวิตส่วนตัวและการทำงานได้
อย่างมีคุณภาพ

6. สร้างทัศนคติที่พร้อมเรียนรู้และตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์
ผู้เข้าร่วมจะมีความพร้อมในการตั้งคำถามเพื่อค้นหาคำตอบที่ถูกต้อง รวมถึงมองปัญหาในมุมมองใหม่ที่สร้างสรรค์และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม

1. ประเภท ทีม ราคาต่อทีม 2,000.00 บาท (จำนวน ไม่เกิน 5 คน)
2. ประเภท เดี่ยว ราคาต่อคน 499.00 บาท (จำนวน 1 คน)

ลงทะเบียน คลิ๊กลิงค์ https://forms.gle/xVopK4QaikXP3Ky58

ติดต่อสถาบัน Think Act Succeed (TAS)

LINE@: https://lin.ee/FrsnqxI
Facebook: https://www.facebook.com/ThinkActSucceedthai/
IG: https://www.instagram.com/think.act.succeed/
Mobile: 0811024565, 0629516887


CAMPHUB ไม่ได้เป็นผู้จัดกิจกรรมนี้ หากมีข้อสงสัยน้องๆ สามารถสอบถามจากผู้จัดได้โดยตรงนะครับ

กดแชร์เอาไว้อ่านทีหลัง หรือแชร์ให้เพื่อน คลิกด้านล่างเลยจ้า

ข้อมูลผู้เขียน

ทีมข่าวค่าย/กิจกรรม CAMPHUB

ส่งข้อมูลค่ายและกิจกรรมการศึกษามาประชาสัมพันธ์ที่เว็บแคมป์ฮับ ฟรี! คลิกเลยที่ www.camphub.in.th/sendcamp