ข้อมูลเบื้องต้นของกิจกรรมนี้
รูปแบบของกิจกรรม
ดูคลิป Video ที่บันทึกเอาไว้ล่วงหน้า
วันที่จัดกิจกรรม
เสาร์ 26 กุมภาพันธ์ – เสาร์ 16 เมษายน 2565
วันที่รับสมัครวันสุดท้าย
เสาร์ 5 มีนาคม 2565
จำนวนที่รับ
ไม่จำกัด
ค่าใช้จ่าย
ฟรี
คุณสมบัติ (ระดับการศึกษา/ช่วงอายุ/อื่นๆ)
ม.ปลาย / อุดมศึกษา
มีความสนใจในเรื่องการทำงานวิจัย
กิจกรรมนี้จัดโดย (ติดต่อผู้จัด คลิกที่ไอคอนด้านล่าง)
Standing Committee on Research Exchange (SCORE)
เพิ่มเติม
คำอธิบายกิจกรรม
ECRIP หรือ English Course for Research and International Publication เป็น Free Online course สำหรับสอนภาษาอังกฤษเพื่องานวิจัยที่ทุกคนสามารถจัดตารางเรียนได้ด้วยตนเอง โดยไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถทำให้ภาษาและงานวิจัยเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวอีกต่อไป!
โดยในคอร์สของ ECRIP จะมีเลคเชอร์จะมีทั้งหมด 6 ตอนที่อัดแน่นไปด้วยความรู้ในเวลาเพียง 15 นาที สอนโดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาหรืองานวิจัย และหลังจากจบแต่ละเลคเชอร์จะมีแบบประเมิน 10 ข้อเพื่อวัดผลการเรียนในแต่ละครั้ง ✨
🎱 เพื่อที่จะได้รับ certificate นั้น ผู้เข้าร่วมงานทุกคนจะต้องทำฟอร์มประเมินผลการเรียนอย่างน้อย 4 ครั้งจาก 5 ครั้ง และได้คะแนนอย่างน้อย 60% ขึ้นไปในแต่ละครั้ง และทำแบบประเมินให้เสร็จภายในวันที่ 16 เมษายน 2022 ✊🏽
📍รายละเอียดของแต่ละเลคเชอร์ :
EP. 0 – ECRIP คืออะไร? ทำไมภาษาอังกฤษถึงมีความสำคัญกับงานวิจัย? เป็นเพียงนิสิตนักศึกษาจะสามารถตีพิมพ์งานวิจัยได้หรือ? พวกเราผู้ก่อตั้ง ECRIP จะมาตอบคำถามนี้ให้กับทุกคนในหัวข้อ “What is ECRIP?”
EP. 1 – เลคเชอร์นี้ พี่ปารย์ เหรียญกิจการ ติวเตอร์ที่มีประสบการณ์การสอนภาษาอังกฤษมามากกว่า 4 ปี จะมาเจาะลึกไปในคำถามที่ว่า “Can I Publish a Paper With Grammatical Errors?”
EP. 2 – เลคเชอร์นี้ ผศ.ดร.ชาญชัย บุญหล้า อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมาพาทุกคนไปค้นหาไอเดียในการทำงานวิจัยกับหัวข้อ “Help Me! I’m Stuck (with what to write)”
EP. 3 – เลคเชอร์นี้ รศ. สุชาดา นิมมานนิตย์ ผู้อำนวยการสถาบันภาษาอังกฤษ มหาวิยาลัยรังสิตที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางการสอนภาษาอังกฤษ 1 ใน 50 คน จะมาช่วยเพิ่มคลังคำศัพท์ภาษาอังกฤษในการเขียนวิจัยให้กับทุกคนในหัวข้อ “Wordings in Research Paper”
EP. 4 – เลคเชอรนี้ อาจารย์ ดร.นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้มีบทความทางการศึกษา (original article) ตีพิมพ์ถึง 123 ฉบับ มากับวิธีการเขียนวิจัยระดับนานาชาติที่ชัดเจนและเข้าใจง่ายกับหัวข้อ “Semantics and Clarity in Scientific Writing”
และสุดท้ายกับ EP. 5 กับอาจารย์พญ. มณีรัตน์ ชยานุภัทร์กุล ผู้ที่เป็นทั้งอาจารย์ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและแพทย์อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จะมาให้ tips and tricks ที่สำคัญในการเขียนงานวิจัยกับหัวห้อง “Do’s and Don’ts”