ข้อมูลเบื้องต้นของค่ายนี้
วันที่จัดค่าย
18-22 ตุลาคม 2559 (ค้างคืน)
ปิดรับสมัคร
15 กันยายน 2559
(หากเต็มแล้วปิดรับสมัครทันที)
จำนวนที่รับ
35 คน
ระดับการศึกษา
ประถมศึกษา (อายุ 9-12 ปี)
ค่าใช้จ่าย
28,500 บาท (จ่ายตอนสมัคร)
สถานที่จัดค่าย
โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จัดโดย
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์
สอบถามพี่ค่ายทาง Facebook Line @RODMAY_7 โหลดใบสมัครตรงนี้เลย!
สมเด็จย่าเคยมีรับสั่งความตอนหนึ่งว่า
“ต้นไม้นี่มันคล้ายๆคน ต้นบานชื่นนี้ฉันไม่ได้ปลูกด้วยเมล็ด แต่ไปซื้อต้นเล็กๆ ที่เขาเพาะแล้วมาปลูก แต่มันก็งามและแข็งแรงดี เพราะอะไรหรือ เพราะคนที่เขาขายนั้นเขารู้จักเลือกเมล็ดที่ดีและดินที่เขาใช้เพาะก็ดีด้วย นอกจากนั้นเขายังรู้วิธีว่าจะเพาะอย่างไร… เมื่อฉันเอามาปลูก ฉันต้องดูแลใส่ปุ๋ยเสมอ… ต้องคอยรดน้้าพรวนดินบ่อยๆ ต้องเอาหญ้าและต้นไม้ที่ไม่ดีออก เด็ดดอกใบที่เสียๆ ทิ้ง คนเราก็เหมือนกัน ถ้ามีพันธุ์ดีเมื่อเป็นเด็ก ก็แข็งแรงฉลาด เมื่อพ่อแม่คอยสั่งสอน เด็ดเอาของที่เสียออก และหาปุ๋ยที่ดีใส่อยู่เสมอ เด็กคนนั้นก็จะเป็นคนที่เจริญ และดีเหมือนกับต้นและดอกบานชื่นเหล่านั้น”
เช่นเดียวกับเด็ก หากได้รับการบ่มเพาะและสนับสนุนพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ คือ “จิตใจ” ผ่านกระบวนการของ “ศาสตร์” และ “ศิลป์” อันเป็นหนึ่งในปรัชญาการดำเนินพระชนม์ชีพที่สำคัญของสมเด็จย่าที่จะนำมาซึ่งปัญญาที่มั่นคงให้ “เลือกเดินไปในทางที่ดีและเหมาะสม” เติบโตเป็นผู้ใหญ ่ที่สามารถพึ ่งพาตนเองได้ มีเหตุผล มีความคิดริเริ ่มสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบและสามารถทำประโยชน์ให้แก่ตนเอง สังคมและโลก
แต่เด็กโดยเฉพาะในสังคมเมืองทุกวันนี้ เติบโตท่ามกลางกระแสวัตถุนิยมที่ฉาบฉวยและผู้คนให้ความสำคัญแต่คุณค่าภายนอก อิทธิพลโลกเทคโนโลยีที่เคลื่อนเร็วและกระจายตัวกว้าง และปัญหา
ธรรมชาติเศรษฐกิจและสังคมที่รุนแรงขึ้นทุกขณะ เด็กเมืองยังเสียเปรียบเพราะข้อจำกัดในการเรียนรู้และรับแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ตรงในธรรมชาติที่จะเป็นทั้งครูวิทยาศาสตร์และศิลปะ ไม่มีโอกาสฝึกใช้ประสาทสัมผัสกับความงามที่แท้จริง และเข้าถึงวัฒนธรรมประเพณีที่หลากหลายของคนในภูมิภาคอื่นๆ
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ร่วมด้วยมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์จึง ออกแบบค่ายเด็กใฝ่ดีรุ่นที่ 7-8 “สร้างความรัก จากความรู้ อยู่กับความงาม” ขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเมืองได้มีประสบการณ์ตรงที่มีคุณภาพ ในโลกธรรมชาติและในวัฒนธรรมของชุมชนที่อยู่กับป่า โดยเน้นการใช้หลักเหตุผลและศิลปะเป็นสื่อกลาง เพราะเชื่อว่าความเพลิดเพลิน ความมีเหตุมีผล จะน ำไปสู่การเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด ก่อเกิดปัญญาให้เด็กๆ สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมั่นคงในโลกปัจจุบันและอนาคตนั่นเอง