ข้อมูลเบื้องต้นของค่ายนี้
วันที่จัดค่าย
7-9 สิงหาคม 2562 (ค้างคืน)
ปิดรับสมัคร
17 กรกฎาคม 2562
จำนวนที่รับ
10 โรงเรียนๆ ละ 3 คน (ครู 1 คนและนักเรียน 2 คน)
ระดับการศึกษา (ปีการศึกษา 2562)
ม.ปลาย รับเฉพาะนักเรียนสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ในจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอนเท่านั้น
ค่าใช้จ่าย
ฟรี
สถานที่จัดค่าย
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จัดโดย
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มีประกาศนียบัตรให้หรือไม่?
มี
[button color=”website” size=”medium” link=”http://202.28.24.43/news_photo/news_01_detail.php?id_news=2848″ icon=”fa-external-link” target=”_blank”]เว็บไซต์ค่าย[/button] [button color=”facebook” size=”medium” link=”https://www.facebook.com/agroindustrialyouthcamp/” icon=”fa-facebook” target=”_blank”]สอบถามพี่ค่ายทาง Facebook[/button] [button color=”line” size=”medium” link=”http://line.me/ti/p/~@agrocmu” icon=”fa-comment” target=”_blank”]Line @agrocmu[/button] [button color=”download” size=”medium” link=”http://202.28.24.45/mis/document/file_link/150619_004405.pdf” icon=”fa-download” target=”_blank”]โหลดใบสมัครตรงนี้เลย![/button]
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสวทช. ภาคเหนือ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จัดกิจกรรม “ค่ายอุตสาหกรรมอาหาร ๒๕๖๒”
“ค่ายอุตสาหกรรมอาหาร: เติมร้อยเพิ่มล้าน อาหารเพิ่มค่า (Value-added foods)” ระหว่างวันที่ ๗ – ๙ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒ ณ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับสมัคร น้อง ๆ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 – ปีที่ 6 ในสายวิทยาศาสตร์ จากโรงเรียนในจังหวัดภาคเหนือ 5 จังหวัด รวม 10 โรงเรียนๆ ละ 3 คน (ครู 1 คนและนักเรียน 2 คน) โดยเขียนโครงการออกแบบนวัตกรรมอาหารเพื่อสมัครเข้าร่วมค่าย ในหัวข้อ “เติมร้อยเพิ่มล้าน อาหารเพิ่มค่า (Value-added foods)”
“ผลิตภัณฑ์อาหารเพิ่มมูลค่า เป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านกายภาพ เช่น การนำข้าวมาสีเป็นแป้งข้าว หรือกระบวนการผลิต เช่น การนำแป้งข้าวมาปรับการขึ้นรูปเป็นพลาสติก ในการเปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มคุณค่าจะส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าในระบบทางการตลาด สามารถถูกสื่อสารถ่ายทอดผ่านแผนธุรกิจได้ การเปลี่ยนแปลงนั้นยังผลให้ฐานของผู้บริโภคหรือลูกค้าขยายกว้างขึ้น มีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้น ทำให้ส่วนแบ่งกำไรธุรกิจนั้นสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องมีความเป็นไปได้ในการผลิต รวมถึงมีความเป็นไปได้ในการตลาดหรือเชิงพาณิชย์เช่นกัน มีแรงกระตุ้น เรียกความสนใจ ของกลุ่มผู้บริโภคคาดหวังได้เป็นอย่างดี ส่วนหนึ่งของการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดกับผลิตภัณฑ์อาหารนั้น ต้องประกอบไปด้วย เทคนิคความรู้หรือเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์อาหาร และหลักความเข้าใจในการแปรรูป รวมถึงเทคโนโลยีและศิลปะในการสร้างความดึงดูดผ่านบรรจุภัณฑ์ เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างเหมาะสม และคุ้มค่าต่อการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่นั้นด้วย เพื่อเป้าหมายในการเพิ่มผลกำไรนั่นเอง ดังเช่น “เติมร้อยเพิ่มล้าน อาหารเพิ่มค่า (Value-added foods)”
กิจกรรมในค่ายพบกับ
- การบรรยายในหัวข้อ Value-added foods
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าเพิ่มอาหาร
- กิจกรรม Lab เทคนิคการแปรรูปอาหาร และ Ice Cream Homemade
*สิทธิพิเศษสาหรับนักเรียนผู้ผ่านการคัดเลือก
นักเรียนผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมค่ายอุตสาหกรรมอาหาร สามารถนำใบประกาศนียบัตรมาสมัครเข้าศึกษาต่อ ในโครงการรับบุคคลผู้มีความสามารถพิเศษเข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะอุตสาหกรรม เกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รอบที่ 1 (Portfolio) ได้ โดยไม่ต้องใช้คะแนนสอบ