ข้อมูลเบื้องต้นของการประกวดแข่งขัน
รูปแบบของการแข่งขัน
การแข่งขันที่มีการจัดงานในสถานที่จริง
วันที่จัดกิจกรรม
1 สิงหาคม – 25 ตุลาคม 2567
วันที่รับสมัครวันสุดท้าย
พุธ 25 กันยายน 2567
การจัดทีมสมัครเข้าร่วม
ทีมละ 4-7 คน ไม่รวมอาจารย์ที่ปรึกษา
ค่าใช้จ่ายในการสมัคร
ฟรี
คุณสมบัติ (ระดับการศึกษา/ช่วงอายุ/อื่นๆ)
ม.ปลาย / ปวช.
ของรางวัล
โล่รางวัลและทุนการศึกษารวม 20,000 บาท
สถานที่จัดกิจกรรม
คณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตหัวหมาก (อยู่ตรงไหน?)
กิจกรรมนี้จัดโดย (ติดต่อผู้จัด คลิกที่ไอคอนด้านล่าง)
คณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
คำอธิบายกิจกรรม
การประกวดแนวคิดนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต 2024
Future Food Innovation Junior Competition 2024
โดย คณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาและสร้างแนวคิดให้แก่นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแห่งอนาคต โดยใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพจากผลผลิตทางการเกษตรในประเทศ ให้รับประทานได้สะดวก รวดเร็ว มีประโยชน์ และปลอดภัยต่อสุขภาพ รวมถึงตอบโจทย์ความยั่งยืนอีกทั้งตอบสนองต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในโลกยุคใหม่
- เพื่อยกระดับการประกอบการ เพิ่มขีดความสามารถการผลิตอาหารแห่งอนาคตแก่นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่สามารถเชื่อมโยงสู่เชิงพาณิชย์
กลุ่มเป้าหมาย
- นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
- จำนวนสมาชิกในทีม 4-7 คน/ทีม ไม่รวมอาจารย์ที่ปรึกษา (อาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน/ทีม)
ระยะเวลาการดำเนินกิจกรรม
- ปิดรับสมัคร วันพุธที่ 25 กันยายน 2567
- กิจกรรม Future Food Army Online Camp วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2567 เวลา 08.00-16.00 น.
- ประกาศผลรายชื่อทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 7 ทีมสุดท้าย ในวันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2567
- กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์แห่งอนาคตตามแนวคิดที่นำเสนอ และทดลองทำผลิตภัณฑ์จริง ณ ห้องปฏิบัติการ คณะเทคโนโลยีชีวภาพมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตหัวหมาก ระหว่างวันที่ 1-15 ตุลาคม 2567
- กิจกรรม Future Food Innovation Junior Competition 2024 วันศุกร์ ที่ 25 ตุลาคม 2567
ขั้นตอนการสมัครเข้าประกวด
- จัดทำ VDO นำเสนอแนวคิดนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต 2024 Future Food Innovation ระยะเวลาไม่เกิน 2-3 นาที ให้มีองค์ประกอบครบตามข้อกำหนด
- สมัครและอัปโหลด VDO ดังกล่าวผ่านลิงก์ /QR-Code ภายในวันที่ 25 กันยายน 2567
ลิงก์สมัคร https://forms.gle/eKbXzNEaxJiejXFe6 - เข้าร่วมกิจกรรม Online Future Food Army Camp วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2567 เวลา 09.00-16.00 น.
หัวข้อ
- เปิดโลก Future Food
- Elevator Pitching: ปิดการขายก่อนถึงชั้น 7
- ประกาศผลรอบชิงชนะเลิศ สุดยอดแนวคิดนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต 7 ทีมสุดท้าย ผ่าน Facebook Page: Biot ABAC วันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2567
- ทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบชิงขนะเลิศจะได้สิทธิทดลองทำผลิตภัณฑ์จริง ณ ห้องปฏิบัติการ คณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตหัวหมาก พร้อม Coach ประจำทีม ระหว่างวันที่ 1-15 ตุลาคม 2567
- นำเสนอแนวคิดผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ Elevator Pitch ไม่เกิน 5 นาที พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่อคณะกรรมการ ณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตหัวหมาก ในวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2567
- รางวัลการเข้าร่วมประกวด ดังนี้
รางวัลชนะเลิศ จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่รางวัล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จะได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่รางวัล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จะได้รับเงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมโล่รางวัล
Future Food VDO popular vote จะได้รับเงินรางวัล 1,000 บาท พร้อมโล่รางวัล - ผู้สมัครทุกคนจะได้รับประกาศนียบัตร พร้อมโอกาสในการต่อยอดผลิตภัณฑ์เชิงธุรกิจกับบริษัทชั้นนำ
- สมัครฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายตลอดกิจกรรม
*เงื่อนไข
- แนวคิดผลิตภัณฑ์ที่นำส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยปรากฏอยู่ในตลาด
- ทุกทีมต้องเข้าร่วมกิจกรรม Online Future Food Army Camp ในวันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2567 เวลา 09.00-16.00 น. ขอสงวนสิทธิกรณีทีมที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม Online Future Food Army Camp จะไม่รับพิจารณาคัดเลือกสู่รอบชิงชนะเลิศ
- ผลิตภัณฑ์ที่นำส่งเข้าประกวดต้องมีลักษณะที่แสดงถึงความใหม่ ของวิธีการ ส่วนประกอบ หรือ วิธีการนำเสนอผลิตภัณฑ์
- หากได้รับคัดเลือก ต้องสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) เป็นอย่างน้อย และเกิดขึ้นจริงภายในระยะเวลาโครงการ
องค์ประกอบของ VDO Presentation
– ปัญหาความต้องการ ปัญหา/ช่องว่าง/ความต้องการของผู้บริโภคคืออะไร ทำไมของเดิมจึงแก้ปัญหาได้ไม่ดีพอ
– ลูกค้า กลุ่มลูกค้าคือใคร ขนาดของตลาดใหญ่แค่ไหน
– แนวคิดของเราสามารถช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ แนวคิดของเราสามารถแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าได้อย่างไร และคุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการส่งมอบให้แก่ลูกค้าคืออะไร
– นวัตกรรม นวัตกรรมของเราคืออะไร ต่างจากของเดิมในตลาดที่มีอยู่อย่างไร
– กระบวนการผลิต เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง และมีกระบวนการผลิตอย่างไร
– ทีม สมาชิกในทีมมีใครบ้าง มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญอย่างไร
– เป้าหมายในอนาคต มีเป้าหมายในอนาคตต่อไปอย่างไร