ข้อมูลเบื้องต้นของการประกวด/แข่งขัน
รูปแบบของกิจกรรม
การแข่งขันที่ส่งผลงานทางออนไลน์/ออฟไลน์ แล้วรอการประกาศผล
วันที่จะประกาศผลรางวัล
20 เมษายน 2564
วันสุดท้ายของการรับสมัคร/ส่งผลงาน
31 มีนาคม 2564
การจัดทีมสมัครเข้าร่วม
บุคคลเดี่ยว
ระดับการศึกษา หรือระดับอายุของผู้สมัคร
ไม่จำกัดอายุและระดับการศึกษาของผู้สมัคร
ค่าใช้จ่ายในการสมัคร
ฟรี
ของรางวัล
เงินรางวัลและใบประกาศนียบัตร รวมมูลค่ากว่า 100,000 บาท
สถานที่จัดกิจกรรม
พิจารณาและประกาศผลทางออนไลน์
จัดโดย
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
[button color=”website” size=”medium” link=”http://contest.nsm.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=108&Itemid=701″ icon=”fa-external-link” target=”_blank”]เว็บไซต์กิจกรรม[/button] [button color=”facebook” size=”medium” link=”https://www.facebook.com/NSMthailand/videos/221578816232799″ icon=”fa-facebook” target=”_blank”]สอบถามพี่ๆ ทาง Facebook[/button]
อพวช. ขอเชิญชวนนักวิทย์ นักคิด นักวิจัยมาร่วมถ่ายทอดเรื่องราวในงานทางด้านวิทยาศาสตร์ของท่าน ผ่านภาพพร้อมคำบรรยายถึงความงามและความสำคัญของภาพนั้น
ประเภทที่เปิดคือ ผลงานยอดเยี่ยม และผลงานยอดนิยม
ผู้สนใจเข้าร่วมส่งผลงานโปรดเตรียมข้อมูล 4 ส่วนหลัก คือ ภาพ ชื่อภาพ คำบรรยายประกอบภาพ และข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ เทคโนโลยี หรือเทคนิคที่ใช้สร้างภาพ
1. ภาพ
- เป็นภาพที่เกี่ยวข้องหรือเกิดขึ้นในการปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของเจ้าของภาพเอง
- เป็นภาพเชิงวิทยาศาสตร์ที่อาจจะเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์พื้นฐาน หรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์สาขาใดก็ได้ เช่น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิศวกรรมศาสตร์ ธรณีศาสตร์ สิ่งแวดล้อม สุขภาพและการแพทย์ เป็นต้น โดยขอสงวนสิทธิ์สำหรับภาพที่สร้างขึ้นมาเพื่อความสวยงามเป็นหลัก อย่างเช่น ภาพในเชิงวิจิตรศิลป์ ทัศนศิลป์ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน ไฟล์ภาพควรมีความละเอียดระดับ HD ขึ้นไป ด้านที่สั้นที่สุดของภาพไม่ต่ำกว่า 720 pixels และควรมีขนาดไฟล์ไม่ต่ำกว่า 2 MB โดยส่งในรูปแบบไฟล์ JPEG PNG หรือ TIFF
2. ชื่อภาพ
ตั้งชื่อภาพยาวไม่เกิน 100 ตัวหนังสือ (character)
3. คำบรรยายประกอบภาพ
- คำบรรยายต้องเป็นภาษาไทย และใช้ภาษาที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่าย ที่อาจจะอธิบายถึงสิ่งที่ปรากฎอยู่ในภาพ วิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สาระความรู้ หรือแรงบันดาลใจที่เกี่ยวข้องกับภาพ ตลอดจนบทบาท หรือความสำคัญของภาพที่มีต่อการปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของเจ้าของภาพ
- ประเภทยอดเยี่ยม คำบรรยายต้องมีความยาวไม่ต่ำกว่า 250 ตัวหนังสือ (character)
- ประเภทยอดนิยม คำบรรยายต้องมีความยาวไม่ต่ำกว่า 150 ตัวหนังสือ (character)
4. ข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ เทคโนโลยี หรือเทคนิคที่ใช้สร้างภาพ
- ประเภทยอดเยี่ยม จำกัดไม่รับ ผลงานที่ถ่ายจากกล้องโทรศัพท์มือถือ
- ประเภทยอดนิยม รับ ผลงานที่ถ่ายจากกล้องโทรศัพท์มือถือ
ดูตัวอย่างผลงานได้ที่
ศึกษารายละเอียดกติกาเพิ่มเติมและส่งผลงานได้ที่
http://contest.nsm.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=108&Itemid=701