กดแชร์เอาไว้อ่านทีหลัง หรือแชร์ให้เพื่อน คลิกด้านล่างเลยจ้า
บทความ

วิศวฯ อินเตอร์ จุฬาฯ คืออะไร ? มาหาคำตอบกันที่นี่ [EP.4]

บทความนี้แคมป์ฮับร่วมมือกับค่ายลานเกียร์ คณะวิศวจุฬาฯ จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้กับน้องๆ ที่สนใจคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เดินทางมาถึง EP. สุดท้ายกันแล้ว ในเมื่อน้อง ๆ ได้รู้จักกับความหมายของคำว่า “วิศวกร” ใน EP. ที่ 1 และทำความรู้จักกับภาควิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรปกติของวิศวฯ จุฬาฯ ใน EP. ที่ 2 และ 3 กันไปแล้ว จะขาดภาควิชาจากหลักสูตรนานาชาติไปได้ยังไง พี่ๆ ค่ายลานเกียร์ วิศวฯ จุฬาฯ ขอเชิญน้องๆ พบกับภาควิชาจากหลักสูตรนานาชาติ หรือ “ภาคอินเตอร์” ที่เรียกได้ว่าน่าสนใจไม่แพ้ภาคอื่นกันเลยทีเดียว

เริ่มที่ภาคแรก.. วิศวการบิน

น้องๆ อาจจะเคยได้ยินมาแล้วในหลายๆ ชื่อ เช่น วิศวกรรมการบินและอวกาศ หรือวิศวกรรมอากาศยาน แต่ไม่ว่าจะใช้ชื่อไหนก็ตาม ภาควิชาเหล่านี้ต่างก็เป็นสาขาหนึ่งที่แยกออกมาจากวิศวกรรมเครื่องกลนั่นเอง

โดยวิศวกรการบินนั้น ไม่ใช่นักบิน ไม่ใช่ช่างเครื่อง แต่จะเน้นไปทางด้านการออกแบบอากาศยาน ชิ้นส่วนอากาศยาน และวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับอากาศยานในระหว่างการบิน

เรียนเกี่ยวกับอะไร ?

น้องๆ ที่เข้ามาศึกษาในสาขาวิศวกรรมการบินจะต้องศึกษา

  • อุณหพลศาสตร์ (Thermodynamic) เพื่อเรียนรู้การทำงานของเครื่องยนต์อากาศยาน
  • กลศาสตร์ของไหล (Fluid dynamic)
  • อากาศพลศาสตร์ (Aerodynamic) เพื่อเรียนรู้ลักษณะการไหลของอากาศผ่านผิวอากาศยาน
  • โครงสร้างอากาศยาน (Aircraft structure) เพื่อเรียนรู้ลักษณะของโครงสร้างและความสามารถในการรับแรงของโครงสร้างอากาศยาน

และยังมีวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมายอีกด้วย การเรียนในระดับปริญญาตรีเป็นเพียงความรู้พื้นฐานเท่านั้น

จบไปทำงานอะไร ?

ตลาดแรงงานสำหรับวิศวกรการบินในประเทศไทยยังมีค่อนข้างน้อย ทำให้ตำแหน่งงานตรงสายส่วนใหญ่จะมีในบริษัทผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินที่มีโรงงานในประเทศไทย เช่น TRIUMPH AVIATION, MICHELIN (ผลิตยางเครื่องบิน) และตามสายการบินต่างๆ แต่อย่างไรก็ดี น้องๆ ยังสามารถทำงานในบริษัทผลิตรถยนต์ ซึ่งนำความรู้ Aerodynamic มาประยุกต์ใช้ต่อได้

มาต่อกันที่.. วิศวนาโน

ถ้าหากจะถามว่าวิศวกรรมนาโนคืออะไรแล้ว พี่ก็ต้องขอตอบเลยว่าภาควิชาที่โดดเด่น ไม่เหมือนใครนี้ เพราะภาควิชานี้คือภาควิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ ในระดับอนุภาคนาโน (Nano Particle) และนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นสาขาวิชาที่ผสานศาสตร์ทางด้าน เคมี ไฟฟ้า วัสดุศาสตร์ และชีวการแพทย์เข้าด้วยกัน โดยที่จุฬาฯ จะมีการแบ่งกันเป็นสองภาคย่อยๆ คือ

  • Advance Material ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับเคมีและวัสดุศาสตร์ ในระดับโครงสร้าง เช่นการศึกษาการจัดเรียงตัวของอนุภาคนาโน
  • Bioengineering ซึ่งจะศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้วัสดุและเคมีเพื่อการแพทย์ เช่นการคิดค้นวัสดุเพื่อสร้างอวัยวะเทียมเป็นต้น

จบไปทำงานอะไร ?

เนื่องด้วยตัววิชาเรียนส่วนใหญ่จะเป็นวิชาในหมวด Pure Science ไม่ใช่วิชาประยุกต์ แบบที่วิศวะสายอื่นๆ เขาเรียนกัน ทำให้ภาคเราจะมีความคล้ายคลึงกับทางคณะวิทยาศาสตร์มากกว่า งานหลักๆ จึงเกี่ยวกับการวิจัย เช่น เป็นนักวิจัยตามสถาบันวิจัยต่างๆ หรือจะเป็นการทำอาชีพที่สามารถประยุกต์จากสายงานที่ศึกษา เช่น วิศวกรวัสดุ เป็นต้น

ก็จบกันไปแล้วสำหรับภาควิชาที่น่าสนใจในหลักสูตรนานาชาติจาก วิศวฯ จุฬาฯ ของเรา บอกเลยว่าเนื้อหาในบทความที่พึ่งได้อ่านไปนี้เป็นเพียงแค่น้ำจิ้มเท่านั้น เพราะถ้าน้องๆ ได้มาสัมผัสและเรียนรู้ด้วยตัวเองที่ “ค่ายลานเกียร์” ครั้งที่ 18 นี้ น้องอาจจะไม่เพียงแต่ได้คณะที่อยากเรียนกลับไป แต่บางทีอาจจะได้ภาควิชาที่เข้ากับเรา กลับไปเป็นตัวเลือกไว้ในใจอีกด้วย

สุดท้ายนี้ สำหรับใครที่ยังลังเล หรือยังไม่ได้สมัคร “ค่ายลานเกียร์” ครั้งที่ 18 คลิกเข้ามาดูรายละเอียดกันได้ที่ www.camphub.in.th/larngear-camp-18  ถึงวันที่ 16 ตุลาคม 2561 นี้เท่านั้น (พรุ่งนี้ละนะ !!) อันนี้ไม่ได้ขายนะ 55555 แต่อยากให้น้องได้ลองเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของค่ายนี้ไปด้วยกัน เพราะประสบการณ์นี้หาไม่ได้อีกแล้วจริงๆ จากมุมมองพี่ค่ายคนหนึ่งที่พลาดโอกาสเป็นเด็กค่ายลานเกียร์

หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ติดต่อ..
Facebook : LarnGear Camp
พี่แพ็ค 085-167-2293
พี่ป่าน 087-830-9292
พี่ลูกไม้ 097-921-4568

อย่ารอเวลาให้ความฝันเข้ามาหาเรา
ออกมาตามหาตัวตนไปด้วยกันที่ “ค่ายลานเกียร์”
#LARNGEARCAMP #LG18
กดแชร์เอาไว้อ่านทีหลัง หรือแชร์ให้เพื่อน คลิกด้านล่างเลยจ้า

ข้อมูลผู้เขียน

พี่ฟิวส์

พี่ชื่อฟิวส์ ตอนนี้จบวิศวเคมี บางมดแล้ว ตอน ม.ปลาย ก็เป็นเด็กล่าค่ายประมาณนึงเลย พูดเลยว่า "ถ้าไม่ได้เข้าค่าย ก็ไม่ได้มาทำ CAMPHUB นะ" อยากให้น้องๆ หาโอกาสไปลองเข้าค่าย ทำกิจกรรมกันดูนะ เผื่อเราจะได้เจอคำตอบว่า "เราอยากเรียน อยากทำสิ่งๆ นี้ จริงๆ มั้ย?"