ข้อมูลเบื้องต้นของการประกวดแข่งขัน
รูปแบบของการแข่งขัน
ส่งผลงานทางออนไลน์ แล้วรอการประกาศผล
วันที่จัดกิจกรรม
ธันวาคม 2566 – มิถุนายน 2567
วันที่รับสมัครวันสุดท้าย
อาทิตย์ 4 กุมภาพันธ์ 2567
การจัดทีมสมัครเข้าร่วม
ทีมละ 3 คน
ค่าใช้จ่ายในการสมัคร
ฟรี
คุณสมบัติ (ระดับการศึกษา/ช่วงอายุ/อื่นๆ)
นักเรียน ม. ปลาย และ นักศึกษาปริญญาตรี
ของรางวัล
เงินรางวัลมูลค่ารวม 100,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและประกาศนียบัตร
สถานที่จัดกิจกรรม
เป็นกิจกรรมออนไลน์
กิจกรรมนี้จัดโดย (ติดต่อผู้จัด คลิกที่ไอคอนด้านล่าง)
กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
คำอธิบายกิจกรรม
โครงการประกวดแนวคิดเพื่อพัฒนาระบบ
การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยมหิดล
“MU (x) Gamification Hackathon”
1. หัวข้อการประกวด
1.1. Improving MUx Learning Engagement Via Gamification
2. หลักเกณฑ์การประกวด
2.1. คุณสมบัติผู้เข้าประกวด
– ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือระดับอุดมศึกษาปริญญาตรี
– ทีมละ 3 คน (ชื่อไม่ซ้ำในทีมอื่น)
– ทุกทีมต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษา 1 ท่าน
– สามารถส่งผลงานได้สูงสุด 2 ผลงาน (คณะกรรมการจะคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุดเพียงผลงานเดียวเพื่อผ่านเข้ารอบต่อไป)
2.2. คุณสมบัติของผลงานที่ส่งเข้าประกวด
ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่ผู้ส่งเข้าประกวดคิดด้วยตนเอง มิได้ลอกเลียนแบบ หรือดัดแปลงจากผลงานอื่น หรือละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และผลงานนี้ต้องไม่เคยส่งเข้าประกวดที่ใดมาก่อน ทั้งนี้ข้อขัดแย้งใด ๆ
ที่เกิดขึ้นให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งผลงานเข้าประกวด
3. การสมัครและการส่งผลงานเข้าประกวด
3.1. กรอกรายละเอียดการสมัคร พร้อมแนบลิงก์ผลงานที่สามารถดาวน์โหลดได้ผ่าน Google Form
3.2. การส่งผลงานรอบคัดเลือก
1) ไฟล์ Poster 1 ชิ้น
– อธิบายแนวคิด เนื้อหา ที่สื่อถึงคอนเซปต์ของชิ้นงาน
– ขนาด A3 แนวตั้ง
– ขนาดไฟล์ไม่เกิน 10 MB
2) ร่างโครงการ Project Proposal
– รายละเอียดผลงาน ไม่เกิน 2 หน้า A4
– ฟอนต์ TH Sarabun PSK ตัวพิมพ์ 14 pt
3) เอกสารรับรองสภาพการเป็นนักเรียน/นักศึกษาจากสถานศึกษา
ทั้งนี้ หากมีผู้ส่งผลงานมาไม่ถึงจำนวนที่กำหนด จะขอขยายเวลาการส่งผลงานเข้าประกวดไปอีก
2 สัปดาห์ และปิดรับสมัครตามจำนวนที่ได้จริง
4. รางวัลสำหรับผู้เข้าร่วมการประกวด
ระดับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
รางวัลชนะเลิศ
– เงินรางวัล 30,000 บาท
– โล่รางวัล
– ประกาศนียบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1
– เงินรางวัล 20,000 บาท
– ประกาศนียบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่2
– เงินรางวัล 10,000 บาท
– ประกาศนียบัตร
รางวัลชมเชย 2 รางวัล
– เงินรางวัล 5,000 บาท
– ประกาศนียบัตร
รางวัล Popular vote
– เงินรางวัล 3,000 บาท
– ประกาศนียบัตร
ระดับอุดมศึกษาในระดับปริญญาตรี
รางวัลชนะเลิศ
– เงินรางวัล 30,000 บาท
– โล่รางวัล
– ประกาศนียบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1
– เงินรางวัล 20,000 บาท
– ประกาศนียบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2
– เงินรางวัล 10,000 บาท
– ประกาศนียบัตร
รางวัลชมเชย 2 รางวัล
– เงินรางวัล 5,000 บาท
– ประกาศนียบัตร
รางวัล Popular vote
– เงินรางวัล 3,000 บาท
– ประกาศนียบัตร
หมายเหตุ ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดจะได้รับประกาศนียบัตร (E-Certificate) เข้าร่วมโครงการ
5. ระยะเวลาการประกวด
5.1. วันพฤหัสบดีที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2566 – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
ส่งผลงานเข้าประกวด
ผู้สมัครส่งผลงานเข้าประกวด
– Project proposal
– Poster ตัวอย่างผลงาน
– เอกสารรับรองสภาพการเป็นนักเรียน/นักศึกษาจากสถานศึกษา
5.2. วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2567
ประกาศผล 20 ทีมที่ผ่านการคัดเลือก เข้าสู่รอบ Online Pitching
-ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 10 ทีม
-ระดับอุดมศึกษาปริญญาตรี 10 ทีม
5.3. วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2567
ประกวดรอบ Online Pitching คัดเลือกให้เหลือ 10 ทีม
ผู้เข้าประกวดนำเสนอผลงานในรูปแบบออนไลน์
-นำเสนอไอเดีย ทีมละ 5 นาที
-ตอบคำถามคณะกรรมการ ทีมละ 5 นาที
5.4. วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567
ประกาศผล 10 ทีมที่ผ่านการคัดเลือก เข้าสู่รอบ Final
-ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 5 ทีม
-ระดับอุดมศึกษาปริญญาตรี 5 ทีม
5.5. วันจันทร์ที่ 10 – วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2567
ประกวดรอบ Final
ผู้เข้าประกวดเข้าร่วมกิจกรรม Hackathon 2 วัน 1 คืน
– จัดกิจกรรม Workshop & Hack Day
– คณะกรรมการคัดเลือกผลงานที่ได้รับรางวัล
5.6. วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2567
ประกาศผลทีมที่ได้รับรางวัล
6. หลักเกณฑ์การตัดสิน
6.1. รอบคัดเลือกจากผลงานที่ส่งเข้าประกวด (30 คะแนน)
6.1.1 มีการวิเคราะห์ปัญหาของการเรียนออนไลน์บนระบบ MUx 10 คะแนน
6.1.2 สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการแข่งขัน 5 คะแนน
6.1.3 มีความชัดเจนของแนวคิดและโจทย์ 5 คะแนน
6.1.4 มีความสร้างสรรค์ของแนวคิด 5 คะแนน
6.1.5 มีความครบถ้วนของ Proposal และความสวยงามของ Poster 5 คะแนน