ข้อมูลเบื้องต้นของการประกวดแข่งขัน
รูปแบบของการแข่งขัน
การแข่งขันที่มีการจัดงานในสถานที่จริง
วันที่จัดกิจกรรม
1 ธันวาคม 2567 – 9 กุมภาพันธ์ 2568
วันที่รับสมัครวันสุดท้าย
พุธ 25 ธันวาคม 2567
การจัดทีมสมัครเข้าร่วม
ทีมละ 4 -5 คน (โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษา 1 ท่าน รวมไม่เกิน 5 คน)
ค่าใช้จ่ายในการสมัคร
ฟรี
คุณสมบัติ (ระดับการศึกษา/ช่วงอายุ/อื่นๆ)
ม.ปลาย และ ปวช.
ของรางวัล
โล่รางวัลและทุนการศึกษารวม 18,000 บาท
สถานที่จัดกิจกรรม
จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
กิจกรรมนี้จัดโดย (ติดต่อผู้จัด คลิกที่ไอคอนด้านล่าง)
สภาการศึกษา และ Hackathon Thailand
คำอธิบายกิจกรรม
โอกาสสำหรับเยาวชนไทยระดับชั้น ม.ปลาย และ อาชีวศึกษา ในการพัฒนาทักษะที่จำเป็น จากการเรียนรู้อย่างมีความสุข ด้วยกิจกรรมแฮกกาธอน สู่การพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนในประเด็นที่ตนเองสนใจ กับโครงการ “OEC Hackathon เรียนดี มีความสุข ชุมชนยั่งยืน”
โดย 10 ทีมที่ผ่านเกณฑ์และได้รับคะแนนสูงสุดจะได้รับการคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมค่าย OEC Hackathon Camp 3 วัน 2 คืน (7 – 9 ก.พ. 2568 ณ กรุงเทพมหานคร) ทางโครงการสนับสนุนที่พักในการเข้าร่วมกิจกรรมให้ทีมผู้ผ่านเข้ารอบ
⚙️พบกับกิจกรรมการเรียนรู้แสนสนุกใน OEC Hackathon Camp ⚙️
Knowledge Sharing การแบ่งปันความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ
Mini-Workshop กิจกรรม Workshop เสริมทักษะในการแข่งขัน
Mentoring Session ปรึกษาไอเดียแข่งขันกับตัวจริงในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การพัฒนาสังคม
Idea Pitching การประกวดการนำเสนอไอเดียนวัตกรรม ในเวลา 7 นาที
🏆รางวัล🏆
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล: โล่รางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง จำนวน 1 รางวัล: โล่รางวัลจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง จำนวน 1 รางวัล: โล่รางวัลจากผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ และเงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
ประกาศนียบัตรผู้ผ่านเข้าค่าย OEC Hackathon สำหรับนักเรียนและครูที่ปรึกษาที่มาร่วมงานทุกท่าน
🗓️กำหนดการสำคัญ 🗓️
หมดเขตรับสมัคร: วันพุธที่ 25 ธันวาคม 2567 เวลา 18.00 น.
ประกาศรายชื่อทีมที่ได้รับคัดเลือก: ภายในวันที่ 24 มกราคม 2568
กิจกรรมปฐมนิเทศทีมที่ได้รับคัดเลือก: วันเสาร์ที่ 25 มกราคม 2568 (ออนไลน์)
ค่ายกิจกรรม Hackathon Camp (10 ทีม): วันที่ 7 – 9 กุมภาพันธ์ 2568 กรุงเทพมหานคร
📑เกณฑ์การคัดเลือก 📑
- การประเมินด้านทักษะของทีมผู้เข้าร่วม (Skill Evaluation) ได้แก่
1.1 ทักษะในการแก้ไขปัญหา เช่น มีการค้นคว้า รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล และใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อเอาชนะอุปสรรคในการแก้ปัญหา
1.2 ทักษะในการสื่อสาร ประกอบด้วย การให้เหตุผล การตอบคำถาม และชี้แจงแนวคิดที่เกี่ยวข้อง มีเทคนิคในการการนำเสนอผ่านสื่อ/เครื่องมือที่เหมาะสม
1.3 ทักษะในการบริหารจัดทำโครงการ ประกอบด้วยการจัดการงานและการแบ่งหน้าที่ในทีม มีการเรียนรู้ด้วยตนเองจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ รวมถึงการพัฒนาต่อยอดจากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญและแก้ไขข้อผิดพลาด - การประเมินด้านนวัตกรรมของทีมผู้เข้าร่วม (Innovation Evaluation)
2.1 ความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ความชัดเจนและความเข้าใจในปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย และสามารถำเสนอนวัตกรรมที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
2.2 ความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ หมายถึง การใช้รูปแบบหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยมีแนวทางการพัฒนาที่ทำได้จริง
2.3 ความยั่งยืนของโครงการ มีกลยุทธ์สร้างการมีส่วนร่วมและการรับฟังผู้มีส่วนได้เสีย มีการนำเสนอวิธีประเมินและวัดผลกระทบที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบ เช่นในด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือสิ่งแวดล้อม
✏️ คุณสมบัติผู้สมัคร✏️
สมัครเป็นทีม จำนวนสมาชิก 4 – 5 คน (รวมครูที่ปรึกษา)
เป็นผู้เรียนในระดับชั้น ม.ปลาย และอาชีวศึกษา (ปวช.) ไม่จำกัดสังกัดและสาขาวิชา
หากผ่านเข้ารอบสามารถเข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศ และค่าย OEC Hackathon Camp ได้ครบ
✏️คำแนะนำในการกรอกใบสมัคร✏️
ใน 1 ทีม ให้กรอกใบสมัคร 1 ใบ โดยหัวหน้าทีม หรือครูที่ปรึกษา
โปรดอ่านและทำความเข้าใจกำหนดการ และรายละเอียดการกรอกสมัคร ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน (โปรดเตรียมข้อมูลให้พร้อมก่อนเริ่มกรอกใบสมัคร
ส่วนของไอเดียนวัตกรรม “เพื่อสร้างสรรค์ชุมชนยั่งยืน”
ส่วนข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับทีม (สมาชิก 4 – 5 คน รวมอาจารย์ที่ปรึกษา)
ส่วนแบบสอบถามก่อนเข้าร่วมโครงการ (คำตอบไม่มีผลต่อการคัดเลือก)
💡แนวทางการส่งไอเดียนวัตกรรมของท่าน💡
กำหนดหรือเลือกชุมชนในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงหรือละแวกสถานศึกษาของท่านในโครงการนวัตกรรม (Area-based Level)
ระบุปัญหาที่เกี่ยวกับความยั่งยืนของชุมชน และกลุ่มเป้าหมายของโครงการ
เสนอไอเดียนวัตกรรมการแก้ไขปัญหา หรือเพิ่มคุณค่าให้ชุมชนมีความยั่งยืน
ทีมผู้เข้าแข่งขันกำหนดประเด็นความยั่งยืนของชุมชนที่สนใจได้เอง โดยเลือกด้านใดด้านหนึ่งที่ตรงกับความต้องการของชุมชนนั้นๆ ตัวอย่างเช่น การสร้างความเท่าเทียม การแก้ปัญหามลภาวะ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การแก้ปัญหาภัยพิบัติ การส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชน การสร้างงานสร้างอาชีพ การแก้ไขปัญหาการศึกษา หรืออื่นๆ เป็นต้น
ทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถกำหนดผลกระทบด้านความยั่งยืนด้วยตนเองตามความเหมาะสมของโครงการ เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์จังหวัด หรือ เป้าหมายความยั่งยืนโดยสหประชาชาติ (SDG Goals)
⚠️ เงื่อนไขการพิจารณา ⚠️
ทางโครงการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาใบสมัครที่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเป็นความจริงและครบถ้วนเท่านั้น
หากมีการนำไอเดียโครงการที่เคยใช้ประกวดมาเข้าแข่งขัน จะต้องแจ้งให้ผู้ประสานงานโครงการทราบตั้งแต่เริ่มสมัคร
🔍 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
FB Page: Hackathon Thailand
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม: www.hackathonthailand.com/oec
ติดต่อผู้ประสานงานทาง Email: [email protected] (พี่อร)