ข้อมูลเบื้องต้นของกิจกรรมนี้
รูปแบบกิจกรรม
จัดกิจกรรมในสถานที่จริง แบบไม่ค้างคืน
วันที่จัดกิจกรรม
เสาร์ 16 – อาทิตย์ 17 กันยายน 2566
วันที่รับสมัครวันสุดท้าย
ศุกร์ 15 กันยายน 2566
จำนวนที่รับ
ไม่จำกัด
ค่าใช้จ่าย
ฟรี
คุณสมบัติ (ระดับการศึกษา/ช่วงอายุ/อื่นๆ)
ม.ปลาย / ปริญญาตรีขึ้นไป
สถานที่จัดกิจกรรม
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ดูแผนที่)
กิจกรรมนี้จัดโดย (ติดต่อผู้จัด คลิกที่ไอคอนด้านล่าง)
สาขาดนตรีศึกษาและการสอน วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เพิ่มเติม
คำอธิบายกิจกรรม
📢 งาน Open House นี้ จะได้พูดคุยและได้ทำกิจกรรมสนุกๆ กับอาจารย์ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์ เกี่ยวกับดนตรีศึกษาและการสอนในแนวคิดต่างๆ พร้อมกับจะมีแขกรับเชิญและพี่ๆศิษย์เก่าจากสาขาดนตรีศึกษาและการสอน วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาให้ความรู้และพูดคุยประสบการณ์ทั้งการเรียน รวมไปถึงการทำงานหลังจากเรียนจบออกไป🤩 โดยกิจกรรมที่จัดในครั้งนี้ ได้แก่
- กิจกรรมในห้องเรียนดนตรี ครั้งนี้ได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญสุดพิเศษ Prof. Dr.Sezen Ozeke จาก Uludag University Turkiye ประเทศตุรกี มานำทำกิจกรรมดนตรีแบบกลุ่มไปพร้อมๆกัน
- กิจกรรมดนตรีตามแนวคิดโคดาย การเรียนการสอนของโคดายมุ่งเน้นไปที่การฝึกขับร้อง ควบคู่กับการอ่านโน้ต ซึ่งสามารถพัฒนาโสตทักษะของผู้เรียน จากขั้นง่ายไปถึงยาก ได้รับเกียรติจาก อ.วิภาวรรณ จำเนียรพันธุ์ อาจารย์ผู้สอนวิชา Kodaly Pedagogy มาเป็นผู้นำกิจกรรมในช่วงนี้
- กิจกรรมดนตรีตามแนวคิดดาลโครซ กิจกรรมของดาลโครซเน้นการเชื่อมโยงดนตรีกับร่างกาย เช่น กิจกรรมเคลื่อนไหวตามดนตรี เกมตบจังหวะแบบ echo เกมการตอบสนองอย่างรวดเร็ว และอื่นๆ ได้รับเกียรติจาก อ.วิสุทธิจิตร จำรูญ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนดาลโครซมาเป็นวิทยากร
- พูดคุยตอบคำถามเกี่ยวกับดนตรี กับอาจารย์ ศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบัน เรียนดนตรีศึกษาเป็นอย่างไร❓ สังคมในการเรียน❓เนื้อหาวิชาโดยภาพรวม❓งานเยอะไหม❓เรียนจบแล้วจะสามารถทำงานอะไรได้บ้าง❓ทุกๆคำถามจะได้รับการตอบจาก รุ่นพี่ ศิษย์เก่า และอาจารย์ โดยตรงในกิจกรรมนี้
- กิจกรรมดนตรีสำหรับเด็กเล็ก การสอนดนตรีสำหรับเด็กเล็กมีรายละเอียดหลากหลายที่ต้องคิดถึง พบกับตัวอย่างกิจกรรมดนตรีสำหรับเด็กเล็กไปด้วยกัน ควบคุมกิจกรรมโดย อ.ปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล อาจารย์ผู้สอนจากแขนงดนตรีศึกษาและการสอน
- กิจกรรมดนตรีตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟ เช่น ใช้ร่างกายเป็นเสียงดนตรี การอิมโพรไวส์ การเคลื่อนไหวร่างกาย และมีการใช้เครื่องดนตรีเข้ามาในกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็น Glockenspiel, Xylophone กิจกรรมเหล่านี้ได้รับเกียรติจาก อ. สุธาวดี ชัยชนะวงศ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนคาร์ล ออร์ฟมาเป็นวิทยากร