ข้อมูลเบื้องต้นของค่ายนี้
วันที่จัดค่าย
24-27 มกราคม 2563 (ค้างคืน)
ปิดรับสมัคร
24 พฤศจิกายน 8 ธันวาคม 2562
จำนวนที่รับ
ไม่จำกัดจำนวน
ระดับการศึกษา
ม.ปลาย
ค่าใช้จ่าย
ค่ามัดจำ 500 บาท (จ่ายตอนผ่านการคัดเลือก และจะคืนให้ในวันสุดท้ายของโครงการ)
สถานที่จัดค่าย
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จ.สระบุรี
จัดโดย
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มีประกาศนียบัตรให้หรือไม่?
มี
สอบถามพี่ค่ายทาง Facebook โหลดใบสมัครตรงนี้เลย!
ค่ายเยาวชนนักรัฐศาสตร์เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้เข้ามา สัมผัสกับองค์ความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์ผ่านการทํากิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ อาทิ การทํากิจกรรมในรูปแบบกลุ่ม ย่อย การฟังบรรยายทางวิชาการ การชมภาพยนตร์และอภิปรายบทเรียนจากภาพยนตร์ การตั้งคําถามกับ ตนเอง และการเล่นกิจกรรมสถานการณ์จําลอง (simulation) รวมถึงเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ทําความรู้จัก แลกเปลี่ยนทัศนะ และซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับประเด็นทางด้านรัฐศาสตร์กับเพื่อนใหม่ รุ่นพี่คณะรัฐศาสตร์ รวมถึงวิทยากรและคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ
จุดมุ่งหมายสําคัญของค่ายเยาวชนนักรัฐศาสตร์ คือการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์แก่เยาวชน ไปพร้อมกับการส่งเสริมให้เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการสามารถอภิปรายความคิดเห็นหรือข้อถกเถียงของตนเอง ร่วมกับผู้อื่น ดังนั้นทางค่ายฯ จึงพยายามคัดเลือกหัวข้อกิจกรรมในแต่ละปีให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตประจําวัน ของเยาวชนมากที่สุด ซึ่งหัวข้อกิจกรรมในครั้งนี้คือ “สังคมและการเมืองในสื่อดิจิทัล” เนื่องจากเยาวชนใน ปัจจุบันนั้นโดยส่วนมากจะมีลักษณะที่เป็นชาวดิจิทัลโดยกําเนิด (Digital Native) ที่มีประสบการณ์ ทักษะ และความเช่ียวชาญ เกี่ยวกับสื่อดิจิทัลชนิดต่าง ๆ อาทิ สื่อออนไลน์ สื่อภาพยนตร์ มีม โซเชียลมีเดีย รวมถึงส่ือ ชนิดที่เป็นเทคโนโลยีโลกเสมือน (Augmented Reality, AR) มากกว่าประชากรรุ่นอื่น ๆ แต่ด้วยความเคยชิน กับสิ่งเหล่านี้ก็อาจส่งผลให้เยาวชนไม่ได้มีมุมมองเชิงวิพากษ์ (critical view) ต่อสื่อดิจิทัลท่ีมากพอ ดังนั้นทาง ค่ายฯจึงต้องการที่จะนําเสนอมุมมองเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับสื่อดิจิทัลให้กับเยาวชน เพื่อส่งเสริมให้เยาวชน ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักรู้และสามารถอธิบายปรากฏการณ์รูปแบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสื่อดิจิทัลได้ อย่างมีวิจารณญาน ไม่ว่าจะเป็น การปลอมแปลงอัตลักษณ์หรือการใช้อัตลักษณ์ปลอม (fake identity) การ นําเสนอข่าวปลอม (fake news) และการใช้ประทุษวาจา (hate speech) ด้วยการมองในมุมมองเชิงรัฐศาสตร์
นอกจากการจัดทําค่ายเยาวชนนักรัฐศาสตร์จะเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านรัฐศาสตร์ให้แก่ เยาวชนเพื่อนําไปพัฒนาตนเองและสังคมแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการ วิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ความเข้าใจทางวิชาการของนิสิตผู้ปฏิบัติงานเพื่อนําไปพัฒนาประเทศชา ติใน ฐานะนิสิตรัฐศาสตร์อีกทางด้วยเช่นกัน