ข้อมูลเบื้องต้นของการประกวดแข่งขัน
รูปแบบของการแข่งขัน
การแข่งขันที่มีการจัดงานในสถานที่จริง
วันที่จัดกิจกรรม
ช่วงเดือนกรกฎาคม – พฤศจิกายน 2567
วันที่รับสมัครวันสุดท้าย
จันทร์ 9 กันยายน 2567
การจัดทีมสมัครเข้าร่วม
ทีมละ 1-5 คน
ค่าใช้จ่ายในการสมัคร
ฟรี
คุณสมบัติ (ระดับการศึกษา/ช่วงอายุ/อื่นๆ)
บุคคลทั่วไป
ของรางวัล
เงินรางวัล มูลค่ารวม 240,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
สถานที่จัดกิจกรรม
ตึก ปตท. สำนักงานใหญ่ และ ร้านเด็ดแฟร์ สยามสแควร์
กิจกรรมนี้จัดโดย (ติดต่อผู้จัด คลิกที่ไอคอนด้านล่าง)
บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
คำอธิบายกิจกรรม
วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
- เพื่อเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ในชุมชนได้ใช้ศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนา ต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชน
- เพื่อขยายโอกาสในการสร้างฐานลูกค้าและผู้บริโภคกลุ่มใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชน
- เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชน
โจทย์การประกวด
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสร้างแผนพัฒนาสินค้าและการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน ประเภท “อาหารแปรรูป” ภายใต้แนวคิด “ปรับปรุง แปลงโฉม ปั้นแบรนด์”
- “ปรับและปรุง” ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปของไทย ให้ถูกใจ และ ถูกปากลูกค้าได้มากขึ้น
- “แปลง” โฉมสินค้า ให้บรรจุภัณฑ์ทันสมัย เพิ่มมูลค่าในราคาเหมาะสม
- “ปั้น” แบรนด์ให้ปัง เล่าเรื่องราวสะท้อนเอกลักษณ์ชุมชนและความโดดเด่นของสินค้าให้เป็น ที่จดจำ
เงื่อนไขการส่งผลงาน
- ในการส่งผลงานเข้าประกวด กำหนดให้ใช้ผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชน ประเภทอาหารแปรรูป ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานรับรอง และชุมชนเจ้าของผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชนต้องมีความสนใจในการพัฒนาสินค้าในอนาคต
- ผู้สมัครจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชนที่เลือก หรือได้รับการยินยอมให้ใช้ผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชนนั้นในการส่งประกวด
- ผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชนที่เลือกมาส่งประกวด จะต้องสามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน
- ผู้สมัครจะต้องกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม (Google Form) ให้ครบถ้วน และ Upload ไฟล์นำเสนอผลงานในรูปแบบคลิปสั้น (ถ้ามี) โดยเป็นคลิปที่มีความยาวไม่เกิน 5 นาทีและขนาดไฟล์ไม่เกิน 10GB และ/หรือ Upload ไฟล์นำเสนอผลงานในรูปแบบไฟล์ pdf (ถ้ามี)
- ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้นๆ ด้วยตนเอง ห้ามทำซ้ำ ดัดแปลง เลียนแบบผลงานของบุคคลอื่นๆ หรือนำผลงานของผู้อื่นมาส่งหรือส่งในนามผู้อื่น โดยผู้ส่งผลงานเข้าประกวดต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งเข้าประกวดนั้น เป็นผลงานที่ตนเองเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียง ผู้เดียว รวมถึงไม่มีข้อผูกมัดเรื่องลิขสิทธิ์ในตัวผลงานกับหน่วยงานหรือองค์กรใดๆ และไม่ขัดต่อกฎหมาย และต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยเผยแพร่สู่สาธารณะมาก่อน หากตรวจพบว่ามีการทุจริต ถือว่าสละสิทธิ์การแข่งขันและรับรางวัล แม้จะประกาศผลไปแล้วทางผู้จัดงานสามารถเรียกคืนรางวัลได้
- ผู้สมัครยินดี และตกลงยินยอมให้ผลงานเป็นกรรมสิทธิ์ และลิขสิทธิ์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยขอสงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ หรือลดทอนเนื้อหาได้ตามความเหมาะสม โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ตอบแทนทั้งสิ้น
- ผู้สมัครจะต้องไม่เปิดเผย ทําสําเนาหรือทําการอื่นใดทํานองเดียวกันแก่องค์กรหรือบุคคลอื่น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เท่านั้น
- เงินรางวัลที่ได้รับ จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เงินรางวัลตามกฎหมาย 5%
- ผู้เข้าแข่งขันทุกคน ถือว่าได้รับทราบ และยอมรับในเงื่อนไขการเข้าร่วมการประกวดเรียบร้อยแล้ว
- ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
คุณสมบัติและเงื่อนไขการสมัคร
- ผู้สมัคร จะต้องมีอายุระหว่าง 18-40 ปี (หรือเทียบเท่า) ณ วันที่สมัครเข้าร่วมการประกวด
- จำนวนสมาชิกในทีมไม่เกิน 5 คน/ทีม โดยผู้สมัครทุกคน สามารถลงชื่อสมัครได้เพียงทีมเดียวเท่านั้น หากเกิดกรณีทีมที่มีผู้แข่งขันซ้ำ ทีมจะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันทันที
- แต่ละทีมมีสิทธิ์ส่งผลงานได้ทีมละ 1 ผลงานเท่านั้น
- หากทีมหรือสมาชิกภายในทีมมีคุณสมบัติไม่ตรงกับกฎระเบียบการแข่งขัน หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือทำผิดกฎกติกาที่ตั้งไว้ ทีมจะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันทันที
- ผู้สมัครยินยอมให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นำภาพกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอดโครงการ ไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ และสามารถนำมาใช้พัฒนาต่อเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและองค์กร โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ และไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
กำหนดการการประกวด
- 15 กรกฎาคม – 9 กันยายน 2567 – เปิดรับสมัคร
- 9 กันยายน 2567 (เวลา 18.00 น.) – ปิดรับผลงาน
- 10-12 กันยายน 2567 – คณะกรรมการคัดเลือกผลงานรอบแรก (15 ทีม)
- 13 กันยายน 2567 – ประกาศรายชื่อทีมที่เข้ารอบ 15 ทีม
- 18 กันยายน 2567 – 15 ทีม นำเสนอผลงาน รอบ Audition ณ ปตท. สำนักงานใหญ่
- 20 กันยายน 2567 – ประกาศรายชื่อทีมที่เข้ารอบ Final (5 ทีม)
- 25 กันยายน 2567 – 5 ทีม รับข้อเสนอแนะและคำปรึกษาจากที่ปรึกษาโครงการ
- 26 กันยายน – 7 พฤศจิกายน 2567 – พัฒนาผลงานเพื่อนำเสนอในรอบ Final
- 8-10 พฤศจิกายน 2567 – นำเสนอผลงานรอบ Final ที่งานร้านเด็ดแฟร์
การคัดเลือกผลงานรอบที่ 1 : ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม – วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2567
ผู้สมัครต้องส่งแผนพัฒนาสินค้าและการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน ประเภท “อาหารแปรรูป” ภายใต้แนวคิด “ปรับปรุง แปลงโฉม ปั้นแบรนด์” โดยใส่รายละเอียดให้ครบถ้วนลงในแบบฟอร์ม (Google Form) ที่ทาง ปตท. กำหนดไว้ ภายในวันจันทร์ 9 กันยายน 2567 เวลา 18.00 น. ซึ่งคณะกรรมการจะทำการคัดเลือกผลงานที่ส่งเข้าประกวด จำนวน 15 ผลงาน เพื่อผ่านเข้าสู่รอบ Audition โดยจะประกาศรายชื่อ 15 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบ Audition ในวันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2567 ทาง Facebook : ชุมชนยิ้มได้ โดยกลุ่ม ปตท.
การคัดเลือกผลงานรอบ Audition : นำเสนอผลงานในวันพุธที่ 18 กันยายน 2567
15 ทีมที่เข้ารอบจะต้องนำเสนอผลงานกับคณะกรรมการ ณ ปตท. สำนักงานใหญ่ ถ.วิภาวดีรังสิต หรือผ่านทาง Online (ในกรณีที่ไม่สามารถเดินทางมาได้) ในวันพุธที่ 18 กันยายน 2567 โดยแต่ละทีมจะมีเวลาในการนำเสนอ 10 นาที และเปิดโอกาสให้คณะกรรมการซักถาม 5 นาที โดยทีมงานจะทำการติดต่อเพื่อนัดหมายเวลาในการนำเสนออีกครั้ง โดยจะประกาศรายชื่อ 5 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบ Final ในวันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2567 ทาง Facebook : ชุมชนยิ้มได้ โดยกลุ่ม ปตท.
เกณฑ์การตัดสินผลงานรอบที่ 1 และรอบ Audition
- ด้านผลิตภัณฑ์ (20 คะแนน)
1.1 คุณภาพของสินค้า (คุณภาพของวัตถุดิบ กระบวนการแปรรูป และมาตรฐานรับรองที่ได้รับ) (10 คะแนน)
1.2 เอกลักษณ์ ความโดดเด่นและแตกต่างของสินค้า (10 คะแนน) - ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (30 คะแนน)
2.1 ความสวยงามและความคิดสร้างสรรค์ (15 คะแนน)
2.2 ความสะดวกในการใช้งาน (15 คะแนน) - ด้านการตลาด (30 คะแนน)
3.1 ระบุกลุ่มเป้าหมาย ช่องทางการสื่อสาร ช่องทางจำหน่าย ชัดเจนและสอดคล้องกัน (15 คะแนน)
3.2 เอกลักษณ์ของแบรนด์โดดเด่น สวยงาม น่าจดจำ และมีเรื่องราวที่สนใจ (15 คะแนน) - ด้านความยั่งยืน (10 คะแนน)
4.1 ด้านสังคม (การทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน การสะท้อนเอกลักษณ์ อนุรักษ์วัฒนธรรม ฯลฯ) (10 คะแนน) - มีแผนการพัฒนาที่ชัดเจน เห็นภาพ (10 คะแนน)
รับคำแนะนำจากที่ปรึกษา : พบที่ปรึกษาวันพุธที่ 25 กันยายน 2567
5 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบ Final เข้าพบที่ปรึกษาพัฒนาผลงาน ณ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ ถ.วิภาวดีรังสิต ในวันพุธที่ 25 กันยายน 2567 เพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยน รับคำแนะนำ สำหรับนำไปปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชนตามที่ได้นำเสนอ ให้เกิดเป็นรูปธรรม ซึ่งแต่ละทีมจะมีเวลาในการเข้าพบคณะกรรมการไม่เกิน 60 นาที โดยทีมงานจะทำการติดต่อเพื่อนัดหมายเวลาในการนำเสนอ อีกครั้ง
หลังจากได้รับคำแนะนำจากที่ปรึกษาพัฒนาผลงานแล้ว ทั้ง 5 ทีมที่ผ่านเข้ารอบ Final จะต้องทำการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชน ให้เห็นภาพชัดเจนทั้งก่อนและหลัง รวมถึงออกแบบแผนการตลาดที่สามารถใช้ได้จริง เพื่อนำเสนอและวางจำหน่ายจริงในรอบ Final ที่งานร้านเด็ดแฟร์ โดย ปตท. จะมีงบประมาณในการพัฒนาผลิตภัณฑ์/สินค้าชุมชนต้นแบบ และเตรียมการต่างๆ ทีมละไม่เกิน 20,000 บาท
เงินจำนวน 20,000 บาทจะต้องนำไปใช้ในการพัฒนาสินค้าต้นแบบตามที่ได้นำเสนอต่อคณะกรรมการ
การตัดสินผลงานรอบสุดท้าย (Final) : นำเสนอผลงานในวันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567
5 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบ Final สมาชิกในทีมทุกคนจะต้องมานำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการที่งาน “ร้านเด็ดแฟร์” ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2567 โดยแต่ละทีมจะได้รับการจัดสรรพื้นที่บูธสำหรับจำหน่ายและจัดแสดงสินค้า จำนวน 1 บูท
แต่ละทีมจะมีเวลาในการนำเสนอผลงาน 15 นาที และเปิดโอกาสให้คณะกรรมการซักถาม 10 นาที ไม่จำกัดเทคนิคหรือรูปแบบในการนำเสนอ โดยจะประกาศทีมที่ได้รับรางวัลภายในงานร้านเด็ดแฟร์
เกณฑ์การตัดสินรอบ Final
- ด้านผลิตภัณฑ์ (15 คะแนน)
1.1 คุณภาพของสินค้า (คุณภาพของวัตถุดิบ กระบวนการแปรรูป และมาตรฐานรับรองที่ได้รับ) (5 คะแนน)
1.2 เอกลักษณ์ ความโดดเด่นและแตกต่างของสินค้า (10 คะแนน) - ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (35 คะแนน)
2.1 ความสวยงามและความคิดสร้างสรรค์ (15 คะแนน)
2.2 ความสะดวกในการใช้งาน (10 คะแนน)
2.3 ความเป็นไปได้จริง (Feasibility ในด้านการผลิตและด้านต้นทุน) (10 คะแนน) - ด้านการตลาด (35 คะแนน)
3.1 ระบุกลุ่มเป้าหมายชัดเจน (5 คะแนน)
3.2 เอกลักษณ์ของแบรนด์สวยงามและเป็นที่จดจำ (10 คะแนน)
3.3 เรื่องราวของแบรนด์น่าสนใจ (10 คะแนน)
3.4 วางแผนการสื่อสารแบรนด์ได้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในด้านช่องทางการสื่อสารและเนื้อหา และช่องทางการจัดจำหน่าย (10 คะแนน) - ด้านความยั่งยืน (15 คะแนน)
4.1 คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (5 คะแนน)
4.2 ผลกระทบต่อชุมชน (10 คะแนน)
4.2.1 ด้านเศรษฐกิจ (ผลประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับจากการพัฒนาสินค้านี้)
4.2.2 ด้านสังคม (การทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน การสะท้อนเอกลักษณ์ อนุรักษ์วัฒนธรรม ฯลฯ)
รางวัลการประกวด
รางวัลชนะเลิศ : เงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 : เงินรางวัล 70,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 : เงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 3 และ 4 : เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
และโอกาสในการเข้าร่วมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนร่วมกับ ปตท.
ติดต่อสอบถาม
E-Mail: [email protected]
Facebook : ชุมชนยิ้มได้ โดย กลุ่ม ปตท.
Tel : 02-537-2169 และ 02-537-1118