กดแชร์เอาไว้อ่านทีหลัง หรือแชร์ให้เพื่อน คลิกด้านล่างเลยจ้า
ประกวดแข่งขัน

การแข่งขันทักษะความเป็นเลิศในทศวรรษ 21

ปิดรับสมัครแล้ว

ข้อมูลเบื้องต้นของการประกวดแข่งขัน

รูปแบบของการแข่งขัน

การจัดการแข่งขันแบบออนไลน์

วันที่จัดกิจกรรม

เสาร์ 23 พฤศจิกายน 2567

วันที่รับสมัครวันสุดท้าย

พุธ 20 พฤศจิกายน 2567

การจัดทีมสมัครเข้าร่วม

ประเภทเดี่ยว และ ประเภททีมละไม่เกิน 4 คน

ค่าใช้จ่ายในการสมัคร

ประเภททีม 1,350 บาท
ประเภทเดี่ยว 450 บาท

คุณสมบัติ (ระดับการศึกษา/ช่วงอายุ/อื่นๆ)

มํธยมศึกษาตอนต้น ตอนปลาย ปวช.และปริญญาตรี

ของรางวัล

โล่ห์รางวัลและเกียรติบัตรเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองเเดง

สถานที่จัดกิจกรรม

เป็นกิจกรรมออนไลน์

กิจกรรมนี้จัดโดย (ติดต่อผู้จัด คลิกที่ไอคอนด้านล่าง)

สถาบันคิด ทำ และสำเร็จ (Think Act Succeed)


อย่าลืมแอดไลน์ @CAMPHUB

คำอธิบายกิจกรรม

การแข่งขันทักษะความเป็นเลิศในทศวรรษที่ 21 จัดให้มีการแข่งขันและสร้างความท้าทายให้กับเยาวชน 3 รายการด้วยกัน
ประกอบด้วย
การแข่งขันเยาวชนยอดนักพูด นักสื่อสาร
การแข่งขันเยาวชนยอดนักคิดนักวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ
การแข่งขันทักษะการตัดสินใจแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า

รายละเอียดการแข่งขันแต่ละรายการประกอบด้วย
การแข่งขันเยาวชนยอดนักพูด
1.. กลุ่มเป้าหมาย
เยาวชนอายุ 15-22 ปีจากทั่วประเทศ จำนวน 100 คน โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม

  • กลุ่มมัธยมศึกษา (15-18 ปี)
  • กลุ่มอุดมศึกษา (19-22 ปี)
  1. รูปแบบกิจกรรม
    กิจกรรมการแข่งขันประกอบไปด้วย:
  • การอบรมเชิงปฏิบัติการ: ผู้เข้ารอบจะได้เข้าร่วมการอบรมทักษะการพูด การสื่อสาร การเจรจาต่อรอง และการพูดในที่สาธารณะ โดยวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ
  • รอบคัดเลือก: ผู้เข้าแข่งขันพูดในหัวข้อที่กำหนด ความยาว 2 นาที ให้คณะกรรมการคัดเลือกผู้เข้ารอบต่อไป
  • รอบรองชนะเลิศ : ผู้เข้าแข่งขันพูดในหัวข้อที่กำหนด ความยาว 3 นาที ให้คณะกรรมการคัดเลือกผู้เข้ารอบต่อไป
  • รอบชิงชนะเลิศ: ผู้เข้ารอบจะขึ้นเวทีพูดในหัวข้อที่เตรียมการมาในระยะเวลา 5 นาที และตอบคำถามจากคณะกรรมการ
  1. กำหนดการจัดการแข่งขัน
    ช่วงเช้า: การเปิดงานและการอบรมเชิงปฏิบัติการ
  • เวลา 08:00 – 08:30 น.: ลงทะเบียนและรับเอกสาร
    o ผู้เข้าร่วมทุกคนลงทะเบียนและรับป้ายชื่อ รวมถึงเอกสารข้อมูลการแข่งขัน
  • เวลา 08:30 – 9:30 น.: อบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เรื่องทักษะการพูดและการสื่อสาร
    o ผู้เข้าร่วมจะได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ด้านการพูดในที่สาธารณะ และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
    o วิทยากรจะสอนเทคนิคการสื่อสาร การจัดโครงสร้างคำพูด และการใช้ภาษากายอย่างมืออาชีพ
  • เวลา 09:30 – 13:00 น.: รอบคัดเลือก (รอบที่ 1)
    o รูปแบบการแข่ง: ผู้เข้าร่วมทั้งหมดจะขึ้นพูดทีละคนในหัวข้อที่กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยแต่ละคนจะมีเวลา 2 นาทีในการนำเสนอ
    o เกณฑ์การให้คะแนน: ผู้เข้าร่วมจะถูกประเมินจากความชัดเจนของเนื้อหา ทักษะการสื่อสาร และความสามารถในการดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง
    o คณะกรรมการจะคัดเลือกผู้ที่มีคะแนนสูงสุด 20 คน เพื่อเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ
  • เวลา 13:00 – 14:00น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
  • เวลา 14:00 – 15:30 น.: รอบรองชนะเลิศ
    o ผู้เข้ารอบ 20 คนจะได้รับหัวข้อใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและได้รับเวลา 5 นาทีในการเตรียมตัวก่อนขึ้นพูด
    o รูปแบบการแข่ง: แต่ละคนจะมีเวลา 3 นาทีในการพูด โดยคณะกรรมการจะประเมินจากการประยุกต์ใช้ทักษะการสื่อสาร การวิเคราะห์เนื้อหา ความคิดสร้างสรรค์ และความน่าเชื่อถือในการสื่อสาร
    o คัดเลือกผู้ที่มีคะแนนสูงสุด 5 คน เพื่อเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
  • เวลา 15:30 – 16:00 น.: รอบชิงชนะเลิศ
    o ผู้เข้ารอบสุดท้าย 5 คน จะได้รับหัวข้อสุดท้ายแบบสุ่ม ซึ่งเป็นหัวข้อที่เน้นการนำเสนอแนวคิดสร้างสรรค์หรือการแก้ปัญหาสังคม
    o รูปแบบการแข่ง: แต่ละคนจะมีเวลา 5 นาทีในการพูดและตอบคำถามจากคณะกรรมการ
    o เกณฑ์การตัดสิน: ประเมินจากความชัดเจนและความแข็งแรงของแนวคิด การจัดการเนื้อหา ความสามารถในการตอบคำถาม และการใช้ภาษากายเพื่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
    o ประกาศผลและมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศ 3 อันดับแรก
    พิธีปิด
  • เวลา 16:00 – 16:30 น.: พิธีมอบรางวัลและปิดงาน
    o ประธานในพิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะชนะเลิศและกล่าวปิดงาน
    o ผู้ที่ได้รับรางวัลจะได้รับประกาศนียบัตรและของรางวัลตามลำดับดังนี้
     รางวัลชนะเลิศ: ประกาศนียบัตรและทุนการศึกษา
     รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง: ประกาศนียบัตรและทุนการศึกษา
     รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง: ประกาศนียบัตรและทุนการศึกษา
     รางวัลชมเชย 2 รางวัล: ประกาศนียบัตร

  1. สถานที่จัดกิจกรรม อาคารสำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
  2. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  3. เยาวชนมีทักษะการพูดและการสื่อสารในที่สาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  4. เยาวชนสามารถนำทักษะที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคมได้
  5. เกิดเครือข่ายเยาวชนผู้มีความสามารถในการพูดและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาสังคม

การแข่งขันเยาวชนยอดนักวางแผนกลยุทธ์
รูปแบบและกำหนดการจัดการแข่งขัน
กำหนดการจัดการแข่งขัน
เวลา รายละเอียดกิจกรรม
08.30 – 09.30 น. การอบรมให้ความรู้ในหัวข้อ เทคนิคการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ
09.30 – 09.45 น. พักเบรก
09.45 – 12.00 น. การแข่งขันรอบแรก (ทีมที่ 1-25)
12.00 – 13.00 น. พักกลางวัน
13.00 – 15.15 น. การแข่งขันรอบที่ 2 (ทีมที่ 26-50)
15.15 – 16.30 น. ประเมินผลและคัดเลือกทีมที่มีคะแนนสูงสุด
16.30 – 17.00 น. ประกาศผลและมอบรางวัล
รายละเอียดการแข่งขัน

  • การอบรมให้ความรู้: 08.30 – 09.30 น. จะมีการอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ
  • พักเบรก: 09.30 – 09.45 น. เพื่อเตรียมตัวสำหรับการแข่งขัน
  • การแข่งขันรอบแรก: ทีมที่ 1-25 จะนำเสนอในช่วงเวลา 09.45 – 12.00 น.
    o ทีมแต่ละทีมมีเวลา 3 นาทีในการนำเสนอและ 3 นาทีในการตอบคำถาม (รวม 6 นาทีต่อทีม)
    o จะมีการนำเสนอทั้งหมด 25 ทีมในเวลา 2 ชั่วโมง 15 นาที
  • พักกลางวัน: 12.00 – 13.00 น. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้พักผ่อน
  • การแข่งขันรอบที่ 2: ทีมที่ 26-50 จะนำเสนอในช่วงเวลา 13.00 – 15.15 น.
    o ทีมแต่ละทีมจะใช้เวลาเช่นเดียวกันคือ 3 นาทีในการนำเสนอและ 3 นาทีในการตอบคำถาม (รวม 6 นาทีต่อทีม)
  • ประเมินผล: 15.15 – 16.30 น. กรรมการจะทำการรวบรวมคะแนนและคัดเลือกทีมที่มีคะแนนสูงสุด
  • ประกาศผลและมอบรางวัล: 16.30 – 17.00 น. เพื่อสรุปผลและมอบรางวัลให้แก่ทีมที่มีผลงานโดดเด่น

การแข่งขันเยาวชนยอดนักคิดนักตัดสินใจเฉพาะหน้า
รูปแบบการแข่งขัน แบ่งเป็น 4 ส่วนประกอบด้วย

  1. การบรรยายให้ความรู้แก่ผู้ที่เข้าร่วมการแข่งขัน
  2. การแข่งขันในรอบคัดเลือก
  3. การแข่งขันในรอบรองชนะเลิศ
  4. การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ
    กำหนดการจัดกิจกรรมการแข่งขัน
  • 08.30 – 09.30 น. การอบรมให้ความรู้
    o ผู้เข้าร่วมจะได้รับการอบรมเบื้องต้นเกี่ยวกับทักษะการตัดสินใจและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รวมถึงการคิดวิเคราะห์เชิงระบบและการจัดการความเครียดในสถานการณ์กดดัน
    o หัวข้ออบรม:
     การคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ: พื้นฐานการวิเคราะห์ปัญหาและการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ
     เทคนิคการจัดการความเครียดความกดดันและการคิดเชิงสร้างสรรค์: แนวทางการรักษาความสงบในสถานการณ์เร่งด่วนและใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการหาทางออก
    o วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ จะให้ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมซักถาม

ส่วนที่ 2 การแข่งขันแบ่งเป็น 3 รอบ ได้แก่ รอบคัดเลือก รอบรองชนะเลิศ และรอบชิงชนะเลิศ
เวลา: 09.30 – 17.00 น.
การแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 รอบ โดยผู้เข้าร่วมจะแข่งขันเป็นทีม ทีมละ 4-5 คน ในแต่ละรอบ ทีมจะได้รับสถานการณ์ที่ต้องแก้ไขและนำเสนอแนวทางภายในเวลาที่กำหนด
รอบที่ 1: รอบคัดเลือก (09.30 – 11.30 น.)

  • รูปแบบ: ทีมจะได้รับสถานการณ์จำลองง่าย ๆ ที่ทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์พื้นฐาน
  • วิธีการแข่งขัน แต่ละทีมจะได้รับการแข่งขันเป็นรอบๆ รอบละ 10 ทีม มีรายละเอียดดังนี้
    o 09.30 -10.00 น. รอบที่ 1 ทีมที่ 1 – 10 คัดเหลือเพียง 3 ทีม
    o 10.00 – 10.30 น. รอบที่ 2 ทีมที่ 11 – 20 คัดเหลือเพียง 3 ทีม
    o 10.30 – 11.00 น. รอบที่ 3 ทีมที่ 21 – 30 คัดเหลือเพียง 3 ทีม
    o 11.00 – 11.30 น. รอบที่ 4 ทีมที่ 31-40 คัดเหลือเพียง 3 ทีม
    o 11.30 – 12.00 น. รอบที่ 5 ทีมที่ 41 – 50 คัดเหลือเพียง 3 ทีม
    เกณฑ์การให้คะแนนรอบคัดเลือก
  • การวิเคราะห์สถานการณ์ (30 คะแนน)
    o การเข้าใจปัญหา (15 คะแนน): ทีมเข้าใจสถานการณ์ที่ได้รับอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และสามารถระบุปัญหาได้อย่างชัดเจน
    o การระบุสาเหตุและผลกระทบ (15 คะแนน): ทีมสามารถวิเคราะห์และชี้ให้เห็นถึงสาเหตุหลักของปัญหา และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ
  • ความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหา (20 คะแนน)
    o การนำเสนอแนวทางที่หลากหลาย (10 คะแนน): ทีมเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่แตกต่างและหลากหลาย ไม่ยึดติดกับแนวทางเดิมๆ
    o ความเหมาะสมของแนวทางแก้ไข (10 คะแนน): แนวทางที่นำเสนอสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและเหมาะสมกับข้อจำกัดของสถานการณ์ที่ได้รับ
  • ความชัดเจนในการสื่อสาร (20 คะแนน)
    o การนำเสนออย่างเป็นระบบ (10 คะแนน): ทีมสามารถนำเสนอคำตอบอย่างเป็นระบบ มีการเรียบเรียงความคิดที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และสอดคล้องกัน
    o การใช้ภาษาสุภาพและมืออาชีพ (10 คะแนน): ภาษาที่ใช้สื่อสารมีความสุภาพ และแสดงถึงการทำงานอย่างมืออาชีพ รวมถึงความสามารถในการสื่อสารในทีม
  • การทำงานเป็นทีม (15 คะแนน)
    o การแบ่งหน้าที่ในทีมอย่างมีประสิทธิภาพ (7 คะแนน): ทีมมีการจัดการแบ่งหน้าที่การทำงานในทีมอย่างชัดเจน และสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจ
    o การสนับสนุนและรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมทีม (8 คะแนน): ทีมมีการรับฟังความคิดเห็นจากทุกคนอย่างเปิดใจ และช่วยเหลือกันในการทำความเข้าใจปัญหาและแนวทางแก้ไข
  • การตอบคำถามจากกรรมการ (15 คะแนน)
    o ความเข้าใจคำถามและตอบได้ตรงประเด็น (10 คะแนน): ทีมสามารถตอบคำถามจากกรรมการได้ตรงประเด็น แสดงถึงความเข้าใจที่ลึกซึ้งในปัญหาและแนวทางแก้ไข
    o การแสดงออกอย่างมั่นใจและมีเหตุผลรองรับ (5 คะแนน): ทีมตอบคำถามด้วยความมั่นใจ มีการใช้เหตุผลในการอธิบายคำตอบที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือ
  • คัดเลือกทีม: ทีมที่ได้คะแนนสูงสุด 15 ทีม จะผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ
    11.30 – 12.30 น. พักกลางวัน
    รอบที่ 2: รอบรองชนะเลิศ (12.30 – 15.00 น.)
  • รูปแบบ: ทีมที่ผ่านรอบแรกจะได้รับสถานการณ์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยมีข้อจำกัดในด้านทรัพยากรและเวลา
  • แต่ละทีมได้รับโจทย์ผ่านซองที่คณะกรรมการมอบให้ แต่ละทีมมีเวลาคิด 5 นาทีและนำเสนอ 3 นาที
  • แบ่งรอบการแข่งขันเป็นรอบละ 5 ทีม
    12.30 – 13.00 ทีมที่ 1 – 5 คัดเหลือเพียง 1 ทีม
    13.00 – 13.30 ทีมที่ 6-10 คัดเหลือเพียง 1 ทีม
    13.30 – 14.00 ทีมที่ 11-15 คัดเลือกเหลือเพียง 1 ทีม
    เกณฑ์การให้คะแนนรอบรองชนะเลิศ
  1. การวิเคราะห์สถานการณ์และระบุปัญหา (25 คะแนน)
    o ความเข้าใจในรายละเอียดของปัญหา (15 คะแนน): ทีมสามารถเข้าใจสถานการณ์ที่ซับซ้อนและสามารถระบุปัญหาได้อย่างชัดเจน แม้จะมีหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง
    o การวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบของปัญหา (10 คะแนน): ทีมสามารถชี้ให้เห็นถึงสาเหตุหลักและผลกระทบของปัญหาในมุมมองที่หลากหลายและครอบคลุม
  2. การจัดการทรัพยากรและการวางแผนภายใต้ข้อจำกัด (25 คะแนน)
    o การจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (15 คะแนน): ทีมสามารถวางแผนและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เช่น เวลา เงิน หรือบุคลากร ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
    o การพิจารณาข้อจำกัดและการปรับแผน (10 คะแนน): ทีมสามารถปรับเปลี่ยนแผนหรือแนวทางการแก้ไขตามข้อจำกัดที่กำหนดได้อย่างยืดหยุ่น และยังคงความมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา
  3. ความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหาเชิงกลยุทธ์ (20 คะแนน)
    o การคิดเชิงกลยุทธ์และการมองภาพรวม (10 คะแนน): ทีมสามารถมองเห็นภาพรวมของปัญหาและนำเสนอแนวทางแก้ไขที่ครอบคลุมผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว
    o การสร้างสรรค์แนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม (10 คะแนน): แนวทางการแก้ไขมีความแปลกใหม่และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง โดยคำนึงถึงผลกระทบของข้อจำกัดที่มี
  4. ความชัดเจนในการสื่อสารและการนำเสนอ (15 คะแนน)
    o การนำเสนออย่างเป็นระบบและเข้าใจง่าย (8 คะแนน): ทีมสามารถนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ มีลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน และอธิบายให้เข้าใจง่าย
    o การใช้เหตุผลและความน่าเชื่อถือ (7 คะแนน): ทีมสามารถแสดงเหตุผลที่สนับสนุนแนวทางการแก้ไขได้อย่างชัดเจน น่าเชื่อถือ และตรงประเด็น
  5. การตอบคำถามจากกรรมการ (15 คะแนน)
    o ความสามารถในการตอบคำถามอย่างมีเหตุผล (10 คะแนน): ทีมสามารถตอบคำถามจากกรรมการได้ตรงประเด็น มีเหตุผลรองรับชัดเจน และแสดงถึงความเข้าใจในปัญหา
    o การแสดงออกอย่างมั่นใจและยืดหยุ่น (5 คะแนน): ทีมแสดงความมั่นใจในการตอบคำถาม พร้อมยืดหยุ่นและปรับตัวตามคำถามหรือข้อท้าทายจากกรรมการ
  • คัดเลือกทีม: ทีมที่ได้คะแนนสูงสุด 3 ทีม จะผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
    รอบที่ 3: รอบชิงชนะเลิศ (14.00 – 17.00 น.)
  • รูปแบบ: ทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงจะได้รับสถานการณ์ที่ท้าทายและมีมิติหลากหลาย รวมถึงการจำลองผลกระทบที่ซับซ้อน
  • แต่ละทีมจะได้รับโจทย์จากคณะกรรมการ มีเวลาคิดและแก้ไขสถานการณ์ 1 ชม.และมีเวลาเตรียมตัวในการนำเสนอได้ทุกรูปแบบ ทีมละ 10 นาที และตอบคำถามจากกรรมการ 10
    การตัดสิน: เกณฑ์การให้คะแนนรอบชิงชนะเลิศ
  1. การวิเคราะห์เชิงลึกของสถานการณ์ (30 คะแนน)
    o การเข้าใจปัญหาซับซ้อนและประเด็นสำคัญ (15 คะแนน): ทีมสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ได้อย่างละเอียด เข้าใจถึงความซับซ้อนและประเด็นสำคัญที่ซ่อนอยู่ภายในโจทย์
    o การวิเคราะห์ปัจจัยและความเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่าง ๆ (15 คะแนน): ทีมสามารถระบุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงผลกระทบของแต่ละปัจจัยต่อภาพรวมของสถานการณ์ได้อย่างชัดเจน
  2. ความคิดสร้างสรรค์และความแปลกใหม่ในการแก้ปัญหา (25 คะแนน)
    o การนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์และน่าสนใจ (15 คะแนน): ทีมสามารถนำเสนอแนวทางแก้ไขที่มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ แสดงถึงการคิดนอกกรอบและมีวิธีการที่แตกต่าง
    o ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางแก้ไข (10 คะแนน): แนวทางที่นำเสนอมีความเหมาะสมในเชิงปฏิบัติ สามารถนำไปใช้ได้จริง และตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างครอบคลุม
  3. การสื่อสารและความชัดเจนในการนำเสนอ (20 คะแนน)
    o การนำเสนออย่างชัดเจนและลำดับขั้นตอนที่เข้าใจง่าย (10 คะแนน): ทีมสามารถนำเสนอความคิดได้อย่างมีลำดับขั้นตอนชัดเจน เข้าใจง่าย และสร้างความเข้าใจแก่ผู้ฟังได้ดี
    o การใช้ภาษาที่มืออาชีพและมั่นใจ (10 คะแนน): ทีมใช้ภาษาที่เหมาะสม มีความเป็นมืออาชีพและมีความมั่นใจในทุกขั้นตอนของการนำเสนอ
  4. การประเมินและอธิบายผลกระทบจากการตัดสินใจ (25 คะแนน)
    o การคาดการณ์ผลกระทบระยะสั้นและระยะยาว (15 คะแนน): ทีมสามารถอธิบายผลกระทบของการตัดสินใจในทั้งระยะสั้นและระยะยาวได้อย่างชัดเจน ครอบคลุม และมีความสมเหตุสมผล
    o การพิจารณามิติด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม (10 คะแนน): ทีมสามารถวิเคราะห์และอธิบายผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อมิติต่าง ๆ เช่น สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรอบคอบในการตัดสินใจ

ประกาศผลและมอบรางวัล: เวลา 17.00 น.


CAMPHUB ไม่ได้เป็นผู้จัดกิจกรรมนี้ หากมีข้อสงสัยน้องๆ สามารถสอบถามจากผู้จัดได้โดยตรงนะครับ

กดแชร์เอาไว้อ่านทีหลัง หรือแชร์ให้เพื่อน คลิกด้านล่างเลยจ้า

ข้อมูลผู้เขียน

ทีมข่าวค่าย/กิจกรรม CAMPHUB

ส่งข้อมูลค่ายและกิจกรรมการศึกษามาประชาสัมพันธ์ที่เว็บแคมป์ฮับ ฟรี! คลิกเลยที่ www.camphub.in.th/sendcamp