กดแชร์เอาไว้อ่านทีหลัง หรือแชร์ให้เพื่อน คลิกด้านล่างเลยจ้า
CAMPHUB up tcas with TCASter

TCAS64: ความแตกต่างของการรับสมัครแต่ละรอบ

สวัสดีฮะน้องๆ ชาวค่าย หลังจากที่เราได้ไปดูวิธีลงทะเบียน MyTCAS.com อย่างละเอียดและเอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียนกันมากับบทความของซีรีส์ CAMPHUB up tcas with TCASter ก่อนหน้านี้แล้ว..

วันนี้ พี่ช้าง จะมาอธิบายความแตกต่างของระบบ TCAS64 ให้น้องๆ ได้ฟังว่าจริงๆ แล้วในปีนี้มีการปรับให้เหลือเพียงแค่ 4 รอบ แล้วในแต่ละรอบมีการรับสมัครแบบไหนบ้าง ถ้าน้องๆ คนไหนยังตัดสินใจไม่ถูกว่าจะสมัครรอบไหนดี ลองตามไปดูกันในบทความนี้กันเลยจ้า


1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

เป็นการรับสมัครและคัดเลือกตามแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ขึ้นอยู่กับระเบียบการรับสมัครของแต่ละมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่เน้นการดูผลงานที่เกี่ยวข้องกับคณะนั้นๆ รวมถึงบางคณะที่เปิดรับในรอบนี้ อาจมีการสอบวัดระดับความสามารถเพิ่มเติมจากการยื่นพอร์ต (Portfolio) ด้วย

น้องๆ ที่เหมาะกับรอบนี้เรียกได้ว่าเป็น “สายกิจกรรม” ก็ได้ โดยกิจกรรมในที่นี้มีหลากหลายรูปแบบมาก พี่ขอแบ่งผลงานออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ

ประเภทที่ 1

ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัย อาจเป็นผลงานที่เคยส่งประกวด หรือผลงานการแข่งขัน การสอบต่างๆ ที่เป็นระดับประเทศ หรือจังหวัด ในทุกๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับทางคณะนั้นๆ

ประเภทที่ 2

กิจกรรมที่น้องเคยทำที่โรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นผลงานด้านการเป็นผู้นำ การแข่งขันภายในโรงเรียน แต่ขอแนะนำว่าให้เลือกเฉพาะกิจกรรมที่มีผลงานโดดเด่น และควรเลือกผลงานที่เกี่ยวข้องกับสายคณะที่น้องๆ เลือกเท่านั้น

ประเภทที่ 3

เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย หรือคณะโดยตรง น้องๆ คนไหนที่เคยมีผลงานที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย หรือคณะที่น้องๆ ต้องการยื่นพอร์ต (Portfolio) เข้าโดยตรง บอกเลยว่าห้ามพลาดที่จะใส่ลงไป เช่น การเข้าค่าย การเข้าฟังแนะแนว การไปร่วมกิจกรรมที่ถูกจัดขึ้นโดยคณะ หรือมหาวิทยาลัยนั้นๆ แนะนำให้น้องๆ ถ่ายรูปเก็บไว้ เพื่อนำมาประกอบในพอร์ต (Portfolio) เราด้วยนั่นเอง


2. โควตา (Quota)

ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ / ความสามารถ / หรือข้อกำหนดในแต่ละโควตา เช่น โควตาจังหวัด โควตาโรงเรียนในเขตพื้นที่ รวมถึง โควตาความสามารถพิเศษที่เป็นที่ต้องการของคณะนั้นๆ

ในรอบนี้สำหรับน้องๆ คนไหนที่รักษาเกรดไว้ในระดับที่ดี จะช่วยให้น้องๆ มีเปอร์เซ็นต์การติดมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าน้องๆ คนไหนตัดใจเรื่องเกรดไปแล้ว ก็ยังมีอีกหลายโควตาที่น้องๆ สามารถผ่านเกณฑ์การรับสมัครได้ และที่สำคัญ บางโควตายังมีทุนสนับสนุนให้น้องๆ อีกด้วย แนะนำให้ลองสอบถามทางโรงเรียน หรือคุณครูแนะแนวได้เลย

น้องๆ ที่เหมาะกับรอบนี้คงหนีไม่พ้นคำว่า “เด็กพื้นที่” แต่ก็ขึ้นอยู่กับระเบียบการโควตาในการรับสมัครด้วย เพราะนอกจากได้อยู่ในพื้นที่ที่กำหนดแล้ว ยังมีคุณสมบัติเฉพาะอีกมากมาย เช่น เกณฑ์คะแนนสอบ หรือความสามารถต่างๆ เพื่อเป็นการหาผู้ที่เหมาะสมกับการเป็นเด็กโควตามากที่สุดนั่นเอง


3. แอดมิชชั่น (Admission)

เป็นการรับสมัครแบบมีเกณฑ์กำหนดคะแนน / คุณสมบัติที่ตายตัว มีการเรียงคะแนน ถ้าคะแนนสูงก็จะมีสิทธิ์ในการเข้าในคณะ และมหาวิทยาลัยที่ต้องการได้มากกว่า

ในรอบนี้ น้องๆ จะต้องมีการวางแผนคะแนนอย่างเป็นระบบ ไม่งั้นอาจเสียเปรียบ และทำให้หลุดในคณะ หรือมหาวิทยาลัยที่หวังได้ ทางที่ดี ก่อนวางแผนจัดอันดับน้องๆ อย่าลืมเข้าไปเช็กคะแนนของรุ่นพี่เพื่อเป็นการประมาณเกณฑ์คะแนนของคณะนั้นๆ ไว้ด้วย รวมถึงการเช็กเกณฑ์คะแนน และคุณสมบัติของคณะที่เปิดรับ เพื่อความปลอดภัยในการเลือกใส่ในอันดับของเรา

ในปีนี้ ได้มีการรวม Admission 1 และ Admission 2 ไว้ในรอบเดียวกัน หมายถึง ถ้าในการ Admission น้องๆ สามารถเลือกได้ถึง 10 อันดับ และสามารถยื่นขอประมวลผลได้ถึง 2 รอบ แต่สามารถยื่นได้เฉพาะอันดับที่เคยเลือกไปเท่านั้น และต้องทำตามเงื่อนไขของทางทปอ.นั่นเอง

น้องๆ ที่เหมาะกับรอบนี้พี่ขอเรียกว่า “เด็กจัดอันดับ” เพราะน้องๆ ในรอบนี้ต้องผ่านการจัดอันดับอย่างเข้มข้นแน่นอน พี่เชื่อว่าน้องๆ ทุกคนต้องมีการวางแผน คำนวณคะแนนต่างๆ มาอย่างดีแน่นอน


4. รับตรงอิสระ (Direct Admission)

เป็นการรับตรงที่ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยทั้งหมด ทั้งการเปิดรับสมัคร และเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณารับผู้เข้าเรียน

ในรอบนี้จะไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่ามีมหาวิทยาลัยไหนเปิดรับบ้าง อีกทั้ง เกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยใช้พิจารณามีความหลากหลายมาก เช่น กำหนดเกณฑ์คะแนน การแสดงพอร์ต รวมถึงความสามารถพิเศษ

ส่วนใหญ่รอบนี้เป็นการรับนักศึกษาเพิ่มมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่ทำการยืนยันสิทธิ์ในรอบก่อนหน้านั้นด้วยนั่นเอง ดังนั้น น้องๆ อย่าเพิ่งตัดใจจากเกรด คะแนนสอบ หรือไม่ทำพอร์ตเตรียมไว้นะ

น้องๆ รอบนี้เรียกได้ว่าเป็น “เด็กเก็บตก” แต่ต้องบอกก่อนว่าน้องๆ ที่อยู่ในรอบนี้มีความท้าทายมาก เพราะถือว่าเป็นรอบสุดท้ายที่จะได้เข้าในระบบ TCAS ถึงจะไม่ได้เปิดรับในทุกๆ คณะ หรือทุกๆ มหาวิทยาลัย แต่อยากให้น้องๆ ลองหาข้อมูลคณะที่เปิดรับในรอบนี้ให้ดีๆ เพื่อที่จะเป็นผลประโยชน์ต่ออนาคตของน้องๆ นั่นเอง


สรุป 7 ประเด็นการรับสมัคร TCAS64 อย่างละเอียด

สำหรับใครที่พลาดไป ยังไม่ได้อ่านบทความ “TCAS64: สรุป 7 ประเด็นการรับสมัครอย่างละเอียด” ก็สามารถคลิกอ่าน พร้อมดูคลิปสรุปใน 8 นาทีได้ที่นี่เลย

[button color=”website” size=”medium” link=”https://www.camphub.in.th/uptcas-ep1-tcas64″ icon=”fa-external-link” target=”_blank”]อ่านบทความ[/button]


ไม่พลาดข่าวสาร TCAS

ติดตามข่าวสารการสอบ TCAS เพิ่มเติมได้ที่ tcaster.net หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น TCASter ที่รวมข้อมูลการสอบ TCAS ไว้ในที่เดียว

[button color=”website” size=”medium” link=”http://bit.ly/iOSTCASter_CH” icon=”fa-download” target=”_blank”]ผู้ใช้ iOS โหลดเลย![/button] [button color=”website” size=”medium” link=”http://bit.ly/AndroidTCASter_CH” icon=”fa-download” target=”_blank”]ผู้ใช้ Android โหลดเลย![/button]


เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย กับความแตกต่างของการรับสมัคร TCAS แต่ละรอบ ~

และสำหรับน้องๆ ทีม #dek64 ที่อยากจะอัปเดตข่าวสารการสมัครสอบทุกรอบก่อนใครก็สามารถติดตามได้ที่ CAMPHUB up tcas with TCASter เลย


เขียนและเรียบเรียงโดย: พี่ช้าง CAMPHUB และ TCASter
กราฟิก: พี่เต้ย CAMPHUB

กดแชร์เอาไว้อ่านทีหลัง หรือแชร์ให้เพื่อน คลิกด้านล่างเลยจ้า

ข้อมูลผู้เขียน

พี่ช้าง

พี่ช้าง ทีมงานแคมป์ฮับสุดคิ้วท์ นักศึกษาคณะ ICT มหิดลที่มีใจรักในค่าย :)

ข้อมูลผู้เขียน

พี่เต้ย

‘ค่าย’ ไม่ได้เป็นเพียงคำในภาษาไทยเท่านั้น แต่คำว่า ‘ค่าย’ เป็นทั้งจุดเริ่มต้นของประสบการณ์ใหม่ๆ และมิตรภาพอันอบอุ่น มาเข้าค่ายกันเถอะ