บทความนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Warwick Institute
อนาคตกำหนดได้ คำกล่าวนี้จะจริงหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นและการลงมือทำเป็นหลัก อยากประสบความสำเร็จก้าวไกลสู่ระดับสากล อยากมีหน้าที่การงานที่ดี อยากเข้าเรียนคณะที่ชอบ อยากมีอาชีพที่ใช่ ล้วนแต่ต้องอาศัยความพยายามของตัวเองทั้งสิ้น แต่แรงบันดาลใจก็เป็นอีกสิ่งสำคัญที่ผลักดันให้ก้าวเข้าไปใกล้ความฝันได้มากขึ้น
ใครที่เริ่มรู้ตัวตนค้นหาความชอบของตัวเองจนเจอแล้วว่า สนใจอยากจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาคอินเตอร์ฯ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลองมาอ่านและศึกษาเรื่องราวของเหล่ารุ่นพี่ตัวท็อปที่ปัจจุบันนี้ล้วนประสบความสำเร็จก้าวหน้าในสิ่งที่ทำไปไกลถึงระดับ Global ข้ามชาติ อาจจะช่วยจุดไฟและแรงบันดาลใจให้ฮึกเหิมยิ่งขึ้นกว่าเดิมได้อีกหลายเท่า
รุ่นพี่ตัวท็อปคนแรก
คุณ Natt WinittThumkul
Automotive Engineer, VECOVT Group
ศิษย์เก่า ISE Chula
“ที่บ้านผมทำธุรกิจเกี่ยวกับรถยนต์มาตั้งแต่รุ่นคุณปู่ เราก็โตมากับตรงนี้ตั้งแต่เด็ก ตอนมัธยมก็เข้าไปเรียนรู้ไปคลุกคลีอยู่กับพวกช่าง ดังนั้นการที่เราเข้ามาเรียนที่ ISE Chula ก็เหมือนกับได้ตัววิชามาปรับพื้นฐาน เพื่อเตรียมความพร้อมให้มากขึ้น ให้เราได้เอาสิ่งที่เราเคยเรียนรู้จากหน้างานมาเรียนรู้เรื่องทฤษฏีเพิ่มขึ้น
นอกจากเรื่องวิชาความรู้แล้วสิ่งที่ได้ติดตัวมาจนถึงปัจจุบันก็คือเรื่องเพื่อน ตอนรุ่นผมนี่เป็นรุ่นแรกที่การพิจารณาคือต้องผ่านเกณฑ์ทุกอย่างถึงจะรับ ทั้งรุ่นเลยมีแค่ 18 คน ทุกคนจะเป็นอันดับต้นๆ ของทุกโรงเรียน บางคนจะคิดว่าเรียนภาคอินเตอร์ฯ จะสบายๆ ไม่หนัก แต่จริงๆ คือทุกคนเข้ามาเพื่อจะเป็นที่หนึ่ง ทำให้การเรียนรู้ของเราต้องพัฒนาให้มากขึ้นกว่าเดิม แต่ในขณะเดียวกันพวกเราก็สนิทกันมาก คบกันมาจนถึงปัจจุบันและก็ยังอยู่ในแวดวงใกล้ๆ กัน อาจารย์ที่สอนก็ยังติดต่อกันอยู่
ตอนเรียนก็มีโอกาสได้ไปฝึกงานที่ญี่ปุ่น ที่ Tokyo Institute of Technology ถือเป็นการเปิดโลกทัศน์อีกทางหนึ่ง เพราะสิ่งที่เราไปรู้ไปเจอก็ไม่เกี่ยวกับยานยนต์ โปรเจคต์ที่ทำตอนนั้นเป็นเรื่องของหุ่นยนต์ผ่าตัด เป็นของทางมหาวิทยาลัยส่งไป แต่อีกครั้งคือการไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่อินเดียในโครงการ IAESTE อันนั้นคือผมไปสมัครสอบเอง ก็เป็นคนไทยคนเดียวไปอยู่ร่วมกับเพื่อนต่างชาติ ได้ทั้งประสบการณ์และภาษาติดตัวกลับมา ภาษาพัฒนาขึ้นเยอะ
จบมาตอนแรกก็มาทำ Startup “Drivebot a Fitbit for cars” เป็นการส่งข้อมูลจากรถเข้ามือถือ Drivebot นี่ถือเป็นบริษัท Startup แรกที่เป็น Thai Hardware ที่ทำ Crownfunding สำเร็จ ได้มากกว่ายอด 300% ที่ตั้งไว้
และปัจจุบันตอนนี้ผมเป็น Automotive Engineer อยู่ที่ VECOVT Group แต่ขอบเขตงานที่ทำจริงๆ คือทำทุกอย่าง เหมือนเป็น One Stop Service ของบริษัท เป็นผู้ช่วยจีเอ็ม เรื่องติดต่อกับราชการหรือบริษัทคู่ค้าในจีนก็เป็นหน้าที่ของผมเช่นกัน เป้าหมายของหุ้นส่วนในการตั้งบริษัทนี้คืออยากบุกเบิกเรื่องรถยนต์ไฟฟ้า เราก็มีการสั่งเข้ามาทดสอบ แต่ตอนนี้มีเพียงแค่สี่คันที่ถือเป็นรถยนต์ไฟฟ้าร้อยเปอร์เซ็นต์ ตัวหลักของเราช่วงนี้เลยเป็นรถมินิบัสและก็ยังมองหาความเป็นไปได้ในการนำรถยนต์ไฟฟ้ามาวิ่งบนท้องถนนในเมืองไทยต่อไป”
รุ่นพี่ตัวท็อปคนที่สอง
คุณ Wasin Wachiradilok
Strategic Planning Senior Associate, Grab
ศิษย์เก่า ISE Chula
“ตอนนี้ผมดูแลในส่วน Strategic Planning ของ Grabfood ตัวงานที่รับผิดชอบก็จะแบ่งเป็นสองส่วนหลัก คือการวางแผน ทั้งเรื่องงบประมาณ มีวิธีทำอย่างไรให้ธุรกิจโต เพราะธุรกิจนี้มีคู่แข่งเยอะมาก อีกส่วนก็คือการพัฒนา process ทุกอย่าง เหมือนเป็น Internal Consultant อย่างทีม Merchandise เค้าจะเป็นทีมที่ต้องดีลติดต่อกับลูกค้าโดยตรง เราก็ไปช่วยเค้าคิดเรื่อง Pitching นำเสนองาน หรือทางฝั่ง Operation เราก็จะเข้าไปช่วยพัฒนาระบบ คอย monitor ตรงนี้
ซึ่งทักษะจากการเรียนที่ ISE Chula ก็จะนำมาช่วยตรงนี้ได้ ทั้งการนำ Business Intelligence Tools มาใช้หลายตัว การพัฒนา Dashboard โปรแกรมก็เป็นสิ่งที่ได้ใช้โดยตรง เรื่องการพัฒนาจัดการก็ด้วย
ลักษณะของคอร์สที่ผมเรียนมาจะเป็นส่วนผสมระหว่างวิศวะฯ คอมพิวเตอร์ อุตสาหกรรมและไฟฟ้า ถ้าจะให้ตรงสายจริงๆ ส่วนมากก็จะเป็นการทำงานในส่วนของ Programmer หรือพัฒนา Application หรือจะไปเป็น IT Consultant ก็ได้ ยิ่งถ้าอยากมาสายเทคโนโลยีในทุกธุรกิจ ทุกบริษัทก็ต้องใช้เทคโนโลยีอยู่แล้ว
สาขานี้ก็จะมีความยืดหยุ่นมากกว่าสาขาอื่นในคณะ อย่างคนที่เก่งเรื่องโปรแกรมมากๆ ส่วนมากก็จะไปเป็น Consult ในส่วนของผมหลังจากจบที่ ISE Chula ก็ไปสอบทุน กพ ของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตอนนั้นทางภาครัฐกำลังขาดคนที่จะมาดูเรื่อง Supply Chain Management ซึ่งผมเคยศึกษาเรื่องนี้ ตอนปี 4 ผมก็ได้ทุนไปเรียนที่ Columbia University ทางด้าน Industrial Engineering and Operation Research พอกลับมาอยู่สภาพัฒน์ฯ ก็ได้มาอยู่ทีม Logistic ได้ช่วยวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวฉบับที่สอง
ผมมองว่าเทรนด์ในอนาคต Industry ที่จะโตต่อไปน่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยี ซึ่งตรงนี้ภาษาก็เป็นส่วนสำคัญมาก ในสายงานของผมก็ต้องดีลกับลูกค้าต่างชาติเยอะ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับตัวเองด้วยว่าชอบเรื่องเทคโนโลยีมากแค่ไหน
อย่างสาขา ICE ที่ผมเรียนมา สังคมที่นั่นช่วยให้เราพัฒนาความคิดของเราได้ดี เอามาต่อยอดได้ในการทำงาน เพื่อนร่วมชั้นแต่ละคนก็เป็นคนเก่งทั้งนั้น มีเพื่อนผมที่ดีดตัวเองไปทำงานกับ Facebook ที่สหรัฐอเมริกาอยู่ตอนนี้ก็มี ผมเองก็สนใจเรื่องเทคโนโลยีอยู่แล้ว ตอนเรียนก็ได้ไปฝึกงานกับไมโครซอฟท์ของประเทศไทยและสิงคโปร์ด้วยเหมือนกัน”
รุ่นพี่ตัวท็อปคนที่ 3
คุณ Anusorn Preugpaibul
Assistant Managing Director, PTT Oil Myanmar
ศิษย์เก่า ISE Chula
“ตั้งแต่เรียนจบมาผมก็ทำงานที่ ปตท. มาจนถึงตอนนี้แปดปีแล้ว แต่ก็มีช่วงที่ได้ทุนไปเรียน MBA ที่ Harvard Business School สองปี ทาง ปตท. จะช่วย support ทุกอย่าง มีรุ่นพี่มาช่วยให้คำปรึกษา เพราะ ปตท. ต้องการที่จะสร้างผู้บริหารรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ เราเองก็เห็นโอกาส เพราะ ปตท.ก็เป็นองค์กรใหญ่ พอเรียนจบแล้วก็กลับมาทำงานที่นี่ต่อ
ผมผ่านการทำงานที่ ปตท. มา 4-5 หน่วยงานแล้ว ทั้งไฟฟ้า ปิโตรเคมี น้ำมันและธุรกิจรีเทลอื่นๆ โดยตอนแรกเริ่มก่อนที่จะไปเรียนต่อก็ได้ทำโครงการเกี่ยวกับปิโตรเคมีจนเข้าใจภาพใหญ่ก่อน ได้เรียนรู้การทำ Financial Model ต่างๆ พอรู้ภาพกว้างแล้วก็มาสโคปให้แคบลง มาอยู่บริษัทลูกที่ทำเกี่ยวกับไบโอพลาสติก คราวนี้ได้ลงลึกถึงการทำงานหน้าที่อื่นๆ อีกหลายอย่าง ทั้งการวางแผน จัดหาเงินทุน แล้วก็มีโอกาสได้ไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปปินส์ ลาว พม่า วางรากฐานให้กับ Amazon ในพม่า
ตอนนี้ผมทำหน้าที่ Assistant Managing Director ของ PTT Oil Myanmar หน้าที่หลักก็คือการขยายธุรกิจ ซึ่งล่าสุดสดๆ ร้อนๆ ก็เพิ่งแถลงข่าว Joint Venture กับบริษัทคู่ค้าในพม่าสำเร็จ มีโปรเจ็คต์จะขยายธุรกิจคลังน้ำมัน ค้าปลีก และคาเฟ่อเมซอนต่อไป
ซึ่งการพัฒนาธุรกิจเราต้องเข้าใจก่อนว่าธุรกิจนั้นเป็นอย่างไร ทำกำไรได้อย่างไร ต้องคำนวนว่าลงทุนไปแล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมาอย่างไร ต้องรู้จักการ convince เริ่มจาก convince ตัวเองก่อน แล้วก็ต่อไปที่เพื่อนร่วมทีม ไปถึงผู้บริหาร
สิ่งที่ผมได้มาจากการเรียนที่ ISE Chula ก็คือการคิดให้มี Logic สอนให้คิดแบบเป็นเหตุเป็นผล จากเอไปบีไปซี มีภาพในหัวที่สามารถวาดเป็นแผนผังออกมาได้
อีกอย่างผมมองว่าการค้นหาตัวเองคือสิ่งสำคัญ ควรจะลงมือทำ ลงมือออกไปค้นคว้าหาประสบการณ์ด้วยตัวเอง ยิ่งเร็วจะยิ่งดีที่สุด ก้าวออกไปจาก Comfort Zone เพื่อ expand ความรู้ การเดินทางไปต่างประเทศก็ช่วยได้มาก ได้ไปเห็นไปเรียนรู้อะไรที่แตกต่าง ตัวผมเองก็ได้เดินทางตั้งแต่เด็กและมันช่วยเปิดโลกทัศน์ให้เราได้มาก”
รุ่นพี่ตัวท็อปคนที่ 4
คุณ Joez Charanwattanakit
Co-founder & CMO, Seekster
Managing Director, Workforce
Vice President, Thailand Tech Startup Association
ศิษย์เก่า ISE Chula
“ตั้งแต่สมัยเรียนผมจะเป็นเด็กกิจกรรมมาตลอด ไม่ได้ตั้งใจเรียน เกรดเฉลี่ยไม่สูงมาก แต่ทำกิจกรรมทุกอย่างที่มีในมหาวิทยาลัย ทั้งกิจกรรมของภาควิชา คณะ มหาวิทยาลัย และกิจกรรมข้างนอก ชอบหาอะไรใหม่ๆ ทำ
เรียนจบก็มีโอกาสทำงานฟรีแลนซ์หลายอย่าง หนึ่งในนั้นก็คือเป็น Project manager ที่ Hubba Co-working Space ซึ่งเป็น Co-working Space แห่งแรกของประเทศไทย ก็เป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสรู้จักกับ Startup
แล้ว Crowdfunding ก็ติดต่อมา ก็เลยตัดสินใจทำ Seekster ขึ้นมา เพื่อจัดหาแม่บ้านส่งไปทำงาน ผมต้องใช้ทักษะการสัมภาษณ์ทุกอย่าง ทิ้งอีโก้ แล้วก็ลงไปคลุกคลีกับพวกเค้าด้วยตัวเอง ขับรถพาแม่บ้านไปส่งด้วยตัวเองก็ทำมาแล้ว ผมอยากศึกษาอยากรู้ว่าแม่บ้านเค้ามีตัวตนยังไง ก็เริ่มจากเรียกเค้ามาคุย ให้นั่งรถเมล์มา เลี้ยงข้าว นั่งคุยกันสามชั่วโมง เรียนรู้จากเค้า จนได้ต้นแบบของ Application ซึ่งถ้าเราออกแบบขึ้นมาเองเลย เค้าก็จะใช้งานไม่เป็นแน่นอน จนถึงตอนนี้เราเปลี่ยนชีวิตแม่บ้านไปหลายหมื่นคน ให้บริการไปมากกว่า 300,000 ครั้งแล้ว จนเป็นอันดับหนึ่งในประเทศไทยในเรื่องแพลตฟอร์มแม่บ้าน
และผมก็ขยายมาเปิดอีกบริษัทเป็นบริษัท consult ที่ผมอยากทำมานานแล้ว งานนี้ถูกจริตมาก และผมก็ยังดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคม Thailand Tech Startup Association เป็นตัวแทน เป็นกระบอกเสียงในการคุยกับภาครัฐ ควบคู่ไปกับงานสอน
ผมสอนค่อนข้างเยอะมาก สอนเรื่อง Startup ควรเริ่มยังไง หลักการทำการตลาดออนไลน์ทำอย่างไร สอนเรื่อง Design Thinking ด้วย สอนเด็กตามชุมชนให้รู้จักเป็นผู้ประกอบการ อยากให้เค้ารู้ว่าบางครั้งการศึกษาก็ไม่ใช่ทุกอย่างและไม่ใช่สำหรับทุกคน บางครั้งตั้งใจเรียนแต่ไม่มีทุนเรียนต่อ ก็สามารถหาโอกาสให้เค้าได้ในการทำธุรกิจ แต่การตั้งใจเรียนก็เป็นสิ่งที่ดี
ที่สำคัญก่อนจะทำอะไรเราต้องวางแผนตั้งเป้า ถ้ายังไม่ชัดเจนก็ไม่เป็นไร ขอให้มีภาพกว้าง และเราก็ต้อง flexible สามารถพลิกแพลงยืดหยุ่นได้”
รุ่นพี่ตัวท็อปคนสุดท้าย
Dr. Atthavit Watcharapongchai
Project Director, Rice Project in Thailand, GIZ – Deutsche Gesellschaft für International Zusammenarbeit
ศิษย์เก่า SIIT Thammasat
“ประสบการณ์การทำงานของผมหลังจากเรียนจบคือการสร้างโรงงาน ซึ่งเริ่มตั้งแต่พื้นที่ว่างๆ ผมก็เริ่มศึกษาหาข้อมูล ออกแบบดีไซน์ วางระบบต่างๆ จนกลายเป็นโรงงานน้ำดื่มที่ติด 1 ใน 5 ของประเทศ
ซึ่งผมเป็นทั้ง Project Manager และรองผู้จัดการโรงงาน และผมยังเป็นคนนำเอา Robot เข้ามาใช้กับโรงงานที่สอง เพื่อลดปัญหาต้นทุนการผลิตและการสิ้นเปลืองพลังงาน ซึ่งก็ถือว่าประสบความสำเร็จ
และหลังจากเรียนจบปริญญาโทด้านบริหารการเงินที่ NIDA ผมก็เปลี่ยนมาดูแล Thai Rice Project ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลเยอรมนี กรมการข้าว และภาคีภาคเอกชน เพราะอยากลองก้าวออกจาก Comfort Zone และก็มีความฝันอยากจะทำงานในองค์กรที่มีความร่วมมือระหว่างประเทศ
ส่วนหนึ่งก็มีเรื่องที่ต้องเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด ซึ่งผมก็ทำงานตรงนี้ไปด้วยเรียนปริญญาเอกเรื่องส่งเสริมการเกษตรไปด้วย ต้องมีการทำการวิจัยเรื่องเนื้องานที่ทำอยู่
สิ่งที่เราทำก็คือการให้ความรู้กับเกษตรกร เข้าไปช่วยเค้า พูดคุยกับเค้า ช่วยลดต้นทุน ช่วยให้ผลผลิตดีขึ้น ถ้าเราสามารถสื่อสารให้เค้าเข้าใจ และรู้สึกว่าเราเข้าไปช่วย นอกจากตัวเกษตรกรเองแล้วมันก็จะส่งผลไปถึงสิ่งแวดล้อม การลดโลกร้อน เราต้องหาวิธีช่วยไปพร้อมๆ กัน เพราะถ้าเราไปบอกเค้าอย่างเดียวให้เค้าเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกเค้าก็คงไม่อยากทำ แต่ถ้าช่วยได้ทั้งสองทาง ช่วยตัวเค้าด้วย เค้าก็จะเต็มใจมากกว่า
ซึ่งทางผู้บริโภคก็มีส่วน แนวโน้มผู้บริโภคในระดับโลกเค้าต้องการบริโภคสิ่งที่มาจากกระบวนการผลิตที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นทาง เราก็ต้องศึกษาและใส่ใจตั้งแต่การรักษาดิน ลดการใช้น้ำ ทำไปด้วยกันทุกส่วน
ผมว่าการเรียนวิศวะฯ อินเตอร์ฯ จะช่วยให้เรามี Skill ที่สามารถนำมาใช้ในการทำงานได้ทั้งสองด้าน คือ Hard Skill อย่างการเขียนโปรแกรมต่างๆ อย่างตอนสร้างโรงงานก็ต้องใช้ Hard Skill เยอะ กับอีกด้านหนึ่งก็คือ Soft Skill คือการคิดอย่างเป็นระบบ มองเห็นภาพที่ช่วยให้เอาไปต่อยอดได้ คิดวิเคราะห์ได้ ต้องเอาระบบอะไรเข้ามาช่วย ทำอย่างไรถึงจะลดต้นทุน มีองค์ประกอบอะไรบ้างที่ยังขาด”
Decode Your Engineering DNA Forum
5 คน 5 โปรไฟล์ แต่แนวคิดน่าสนใจไม่แพ้กัน จัดเป็นตัวท็อปของแต่ละวงการที่ขับเคลื่อนให้เกิดความสำเร็จที่สร้างวงกระเพื่อมไปให้ถึงระดับ Global ที่ว่ามานี่เป็นแค่การเรียกน้ำย่อยเท่านั้น
ถ้าอยากฟังแบบเวอร์ชั่นจัดเต็ม พร้อมโอกาสในการถามตอบแบบฟรีสไตล์ และข้อมูลแน่นๆ เรื่องการเรียนการสอนในคณะวิศวะฯ อินเตอร์ฯ รวมถึงเวิร์กช็อปที่รวบรวมทุกเรื่องทุกสิ่งที่ควรรู้และต้องรู้เกี่ยวกับ TCAS ตั้งแต่ A-Z สำหรับโปรแกรมอินเตอร์ฯ จุฬาฯ และธรรมศาสตร์ อย่าพลาดงาน Decode Your Engineering DNA Forum
พบกันวันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2562
เวลา 08.30 – 17.00 น.
ณ ห้องประชุมเกษม สุวรรณกุล ชั้น 13 อาคารเกษม อุทยานิน (รัฐศาสตร์ 60 ปี) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ราคาบัตรเข้างานเพียง 30 บาท
รับจำนวนจำกัด 350 ที่นั่งเท่านั้น
ถ้าคิดว่ามีใจและมีไฟ รีบลงทะเบียนให้ไวก่อนใคร
โอกาสดีที่จะได้เช็ค DNA ความเป็น Engineer ในตัวว่าเข้มข้นและมุ่งมั่นแค่ไหน พร้อมร่วมกันแกะรอยถอดรหัสจากความสำเร็จของรุ่นพี่ 5 ตัวท็อปศิษย์เก่าวิศวะฯ อินเตอร์ฯ จากทั้งจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์
ดูรายละเอียดกิจกรรม สอบถามพี่ๆ ทาง Facebook Line @warwick ลงทะเบียนออนไลน์ตรงนี้เลย!