บทความนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Warwick Institute
จากระบบคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยแบบใหม่ (TCAS) ปีการศึกษา 2561 ที่ผ่านมา เชื่อว่ามีน้องๆ หลายคนที่สมหวังได้ที่นั่งในคณะที่ต้องการ และผิดหวังจากคณะที่ฝันไว้ เพราะเป็นปีแรกของระบบดังกล่าว ทำให้น้องๆ ไม่สามารถคาดเดาคะแนนได้อย่างปีอื่นๆ ที่ผ่านมา
เพื่อไขข้อสงสัยและเตรียมความพร้อมสำหรับ TCAS 62 ปีหน้า วันนี้พี่ช้างจึงได้มาสัมภาษณ์พี่ๆ 3 ท่านจากโรงเรียนเตรียมอินเตอร์ฯ จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ “Warwick Institute” นำโดย
- พี่แบงค์ อภิชัย ไชยวินิจ ผู้บริหารสถาบัน Warwick Institute
- พี่บี เกรียงศักดิ์ ไชยวินิจ อาจารย์ผู้ก่อตั้งสถาบัน
- พี่จี กมลพร สุวรรณสิงห์ นักวิเคราะห์ด้านการศึกษาของสถาบัน
ระบบ TCAS ในปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร?
พี่จี – ถือเป็นปีแรกที่เริ่มระบบนี้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาฯ ได้มอบหมายให้สมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ปรับรูปแบบการรับเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งมีหลักการที่สำคัญ คือ
- ให้นักเรียนอยู่ในห้องเรียนจนจบหลักสูตร
- ให้จัดการสอบเพื่อคัดเลือกได้หลังจากนักเรียนเรียนจบแล้วโดยใช้ข้อสอบของส่วนกลาง
- ให้มีการบริหารสิทธิ์ในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย
โดย ทปอ. ได้แบ่งการยื่นคะแนนออกเป็น 5 รอบ โดยแต่ละคณะจะเปิดรับคะแนนในรอบที่ต่างกันออกไป เช่น คณะอินเตอร์ฯ จุฬาฯ เปิดรับแค่ 3 รอบแรกเท่านั้น ในขณะที่ของธรรมศาสตร์เปิดทุกรอบ
ข้อดีคือระบบทำให้มีความชัดเจนเรื่องโควต้าการรับของแต่ละคณะ
แต่ข้อเสียคือรอบแรกนั้นจะเป็นการแข่งขันด้านคะแนนล้วน ซึ่งน้องๆ จะไม่สามารถอิงคะแนนจากระบบเก่าได้เลย เนื่องด้วยฐานข้อมูลด้านคะแนนยังไม่เสถียร ทำให้น้องๆ เกิดความลำบากในการตัดสินใจเลือกคณะ บางคนถึงกับยอมยืนยันสิทธิ์และเข้าเรียนในคณะที่ไม่ได้อยากเข้ามากนัก ด้วยกลัวว่ารอบต่อไปจะไม่ได้คณะที่ฝันไว้ เพราะรอบหลังๆ จะเป็นรอบเก็บตก (Clearing house) ซึ่งที่นั่งจะน้อยลงมากๆ
พี่บี – ตอนแรกที่ออกมา ผมดีใจมาก เพราะเชื่อว่าระบบ TCAS จะทำให้เกิดความเท่าเทียมทางการศึกษา
สำคัญคือเราต้องชัดเจนที่สุดว่าเราอยากเข้าคณะอะไร เพราะเราจะไม่มีสิทธิ์กันที่คนอื่น ทำให้โอกาสทางการศึกษากระจายถึงทุกคนได้ ซึ่งถ้าเราเปรียบเทียบกับระบบเก่า น้องๆ อาจยื่นคะแนนและได้ 6 คณะพร้อมกัน แต่สุดท้ายเลือกแค่คณะเดียว ซึ่งมันเป็นการตัดโอกาสคนอื่น
โดย TCAS ทั้ง 5 รอบ เป็นการกรองเด็กให้มีที่นั่งเรียนในมหาวิทยาลัยทุกคน รอบแรกจะกรองเด็กมีความสามารถสูงมากๆ เข้ามาก่อน น้องๆ ต้องมี Portfolio ที่ดีระดับประเทศ และลดหลั่นกันในรอบต่อๆ ไป
แต่ถ้าน้องๆ รอยื่นรอบ 4-5 จะทำให้มีความกดดันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะคณะที่มีการแข่งขันสูง
พี่แบงค์ – ผมมองว่า TCAS เป็นระบบที่ทางกระทรวงศึกษาฯ และ ทปอ. ต้องการร่วมกันแก้ปัญหาการสูญเปล่าของที่นั่งในมหาวิทยาลัย โดยใช้ระบบเป็นตัวกรองให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
น้องๆ สามารถเลือกเรียนได้เพียงคณะเดียวเท่านั้นในแต่ละรอบ ซึ่งช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถจัดการโควต้าที่เหลืออยู่ได้โดยการนำไปเปิดรับรอบถัดไป
ในทางกลับกัน ระบบ TCAS เพิ่มความกดดันให้น้องๆ กว่าที่เคย เพราะไม่มีสถิติคะแนนมาเปรียบเทียบให้ทราบถึงโอกาสติด และความไม่แน่นอนของระบบที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ส่งผลให้เกิดข่าวในแง่ลบอย่างที่ทุกคนเห็นมา
เตรียมตัวสอบเข้าอินเตอร์ จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ สำหรับ TCAS 62 ได้อย่างไร?
พี่แบงค์ – ในขณะที่ TCAS 61 ค่อนข้างมีปัญหาสำหรับนักเรียนที่ต้องการเข้าหลักสูตรปกติอย่างที่เราเห็นในสื่อต่างๆ แต่สำหรับหลักสูตรอินเตอร์ จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์นั้นกลับมีผลกระทบทางด้านลบน้อยกว่าเพราะ
- น้องๆ ไม่ต้องสอบข้อสอบส่วนกลาง ซึ่งมีโอกาสสอบเพียงครั้งเดียว แต่ต้องสอบวัดระดับผลประเภทต่างๆ ตามที่คณะนั้นๆ กำหนด (อาทิ SAT / IELTS / CU-TEP / TU-GET) ซึ่งสามารถสอบกี่ครั้งก็ได้จนได้คะแนนที่ดีที่สุด เพื่อรอยื่นเข้า TCAS ทำให้น้องๆ กดดันน้อยลง
- คะแนนแอดมิชชั่นหลักสูตรอินเตอร์จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ในปีนี้อาจจะสูงขึ้นบ้าง แต่ไม่ได้พุ่งสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด ทำให้น้องๆ ไม่ต้องมาพะวงเรื่องคะแนนที่จะต้องทำ (Warwick Institute มีข้อมูลคะแนนจากศิษย์เก่าที่แอดติด 2,500 คนในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา)
- คะแนนเหล่านี้ที่น้องๆ สอบจะมีอายุ 2 ปี และไม่จำกัดอายุคนสอบ แปลว่าน้องๆ สามารถเตรียมตัวสอบได้ตั้งแต่ ม.4 และทำคะแนนใหม่ได้เรื่อยๆ เก็บคะแนนที่ดีที่สุด ถึงแม้ว่าคะแนนน้องจะน้อยลงบ้างในบางครั้ง แต่ทางคณะก็จะดูคะแนนที่สูงที่สุดที่น้องๆ เคยทำได้ ทำให้เราทะยอยเก็บคะแนนได้ อันไหนเราได้คะแนนแล้วเราก็หยุดเพื่อที่จะไปพัฒนาคะแนนส่วนอื่นต่อไป
จากเหตุผลทั้ง 3 นี้ ทำให้ผมค่อนข้างมั่นใจว่าในปี 2019 จะมีนักเรียนจำนวนมากตัดสินใจหันมายื่นคะแนนหลักสูตรอินเตอร์ จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ เพิ่มสูงขึ้นอย่างแน่นอน
พี่จี – จากผลของปีที่ผ่านมา เราเชื่อว่ากระทรวงศึกษาฯ จะปรับระบบให้ดีขึ้นอย่างแน่นอน
ทั้งนี้น้องๆ จะต้องเตรียมตัวให้มากขึ้น เพราะการแข่งขันอาจจะสูงขึ้น ถ้าน้องเตรียมตัวดี มีการวางแผนการสอบที่ชัดเจนและถูกต้อง เรามั่นใจว่าน้องๆ จะสามารถสอบเข้าคณะที่ใฝ่ฝันได้ตั้งแต่รอบแรกที่เปิดรับ แต่ถ้าไม่ติดรอบแรกก็อย่าหมดความหวัง เราแค่ต้องวางแผนใหม่อีกครั้งเท่านั้นและทำมันให้ดีที่สุด
งาน Warwick Open House 2018 ที่กำลังจะเกิดขึ้น มีอะไรบ้าง?
พี่แบงค์ – งานนี้จัดทุกปีครับ โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะช่วยน้องๆ เรื่องข้อมูลและการวางแผน แทนที่จะให้ไปค้นคว้าเองทั้ง 35 หลักสูตรอินเตอร์ จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ซึ่งใช้เวลาหลายวันและมีโอกาสพลาดข้อมูลสำคัญได้
แต่ถ้ามาที่นี่วันเดียวจะได้ข้อมูลครบ เพราะมีคณาจารย์และเจ้าหน้าที่แอดมิชชั่นของแต่ละคณะมาให้ข้อมูลเอง นอกจากนี้ยังมีศิษย์เก่าของสถาบันที่จะมาร่วมแชร์ประสบการณ์การเรียนในมหาวิทยาลัย มั่นใจได้ว่าจะได้ข้อมูลที่ครบถ้วนทุกมุมแน่นอน
ที่สำคัญเราจะนำผลคะแนน TCAS 61 มาวิเคราะห์ให้เห็นเลยว่าในการยื่นแต่ละคณะเป็นอย่างไร น้องๆ ต้องเตรียมตัวอะไรบ้างเพื่อให้มั่นใจว่าจะติดรอบแรกในการเปิดรับสมัคร
พี่จี – ในงานนี้น้องๆ จะรู้ว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร ส่วนตัวอยากให้น้องๆ ที่อยากเข้าภาคไทยลองมาดูข้อมูลด้วย เพราะรู้ไว้กว้างๆ ไม่เสียหาย
ที่สำคัญผู้ปกครองควรมาด้วย เพราะคุณคือคนสำคัญ เป็นแรงสนับสนุนที่ช่วยให้น้องๆ ไปถึงฝัน หากน้องส่งผ่านข้อมูลที่ได้รับไปหาผู้ปกครองอีกทอดหนึ่ง อาจมีข้อมูลที่ผิดพลาดจากการสื่อสารได้
พี่บี – ถ้าเราวางแผนไม่ดี อาจทำให้เราไปไม่ถึงจุดที่ฝันไว้ ผมอยากให้ทุกคนมาเริ่มต้นไปด้วยกัน ถ้าไม่มีข้อมูลมากกว่าคนอื่น น้องๆ จะชนะคนอื่นได้อย่างไร
Warwick Open House 2018 ครั้งนี้จึงจะมีรายละเอียดที่มากกว่าหน้าเว็บไซต์ของคณะ รวมถึงเคล็ดลับและเทคนิคต่างๆ ในการสอบข้อเขียน และนี่คือเหตุผลที่นักเรียนของเรากว่า 2,500 คนแอดมิชชั่นติดหลักสูตรอินเตอร์ จุฬาฯ-ธรรมศาตร์
กิจกรรมที่เกิดขึ้นในโรงเรียนล้วนมีจุดประสงค์เดียวกันทั้งสิ้น คือทำอย่างไรให้นักเรียนที่เดินเข้ามาด้วยกางเกงขาสั้น กระโปรงนักเรียน เดินออกไปพร้อมกับเข็มพระเกี้ยวและตราธรรมจักร
[button color=”facebook” size=”medium” link=”http://bit.ly/WarwickInstituteFB” icon=”fa-facebook” target=”_blank”]สอบถามพี่ๆ ทาง Facebook[/button] [button color=”download” size=”medium” link=”http://bit.ly/WarwickOPH2018Regis” icon=”fa-download” target=”_blank”]ลงทะเบียนออนไลน์ตรงนี้เลย![/button]
ในงานนี้ น้องๆ จะได้รับข้อมูลจากทุก 35 คณะอินเตอร์ฯ ของจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ รวมถึงการวิเคราะห์ระบบ TCAS 61 อันนำไปสู่การวางแผนที่เป็นระบบในการพิชิต TCAS 62 จากนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ การพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากศิษย์เก่าของสถาบันฯ ที่ได้เข้าไปเรียนในคณะที่ฝันไว้อีกด้วย
Warwick Open House กำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้ง!
วันที่ 5 สิงหาคม 2561
เวลา 8:30 – 18:30 น.
ณ Warwick Institute ชั้น 12A
อาคารสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ ด้านหลัง Siam Discovery
(คลิกเพื่อ)
เดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้า BTS ลงสถานีสยาม (Exit 1)
หรือจอดรถที่อาคารจอดรถสยาม (Siam Car Park)
นอกจากการสอนสดโดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางแล้ว Warwick Institute ยังมีการจัดการสอบเสมือนจริง (Simulation Test) เป็นแห่งแรกของไทย การแนะแนวและวางแผนการยื่นคะแนนแบบรายคนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการแอดมิชชั่น กิจกรรมเสริมสร้างกำลังใจ พร้อมทั้งการสอนเสริมฟรีเพื่อความมั่นใจก่อนลงสอบสนามจริง ทำให้น้องๆ กว่า 85% (รวม 8 ปีที่ผ่านมากว่า 2,500 คน) สอบติดหลักสูตรอินเตอร์ จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ตามที่ตนหวังไว้