กดแชร์เอาไว้อ่านทีหลัง หรือแชร์ให้เพื่อน คลิกด้านล่างเลยจ้า
ประกวดแข่งขัน

โครงการ “Young Change World Change : คนรุ่นใหม่เปลี่ยนโลก”

ข้อมูลเบื้องต้นของการประกวดแข่งขัน

รูปแบบของการแข่งขัน

การแข่งขันที่ส่งผลงานแล้วรอการประกาศผล

วันที่จัดกิจกรรม

ช่วงเดือนมีนาคม 2568 – มกราคม 2569

วันที่รับสมัครวันสุดท้าย

เสาร์ 31 พฤษภาคม 2568

การจัดทีมสมัครเข้าร่วม

ส่งผลงานเป็นทีม โดยต้องมีสมาชิกในทีม จำนวน 5 คน (1 ทีม ต่อ 1 ผลงาน)

ค่าใช้จ่ายในการสมัคร

ฟรี

คุณสมบัติ (ระดับการศึกษา/ช่วงอายุ/อื่นๆ)

นิสิตนักศึกษา ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

ของรางวัล

ชิงทุนการศึกษามูลค่ารวมกว่า 1,000,000 บาท

สถานที่จัดกิจกรรม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อยู่ตรงไหน?)

กิจกรรมนี้จัดโดย (ติดต่อผู้จัด คลิกที่ไอคอนด้านล่าง)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


อย่าลืมแอดไลน์ @CAMPHUB

คำอธิบายกิจกรรม

สถานการณ์โลกเดือดในปัจจุบันทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ต้องส่งเสริมให้ คนรุ่นใหม่หันมาปรับและเปลี่ยนด้วยตนเอง เพื่อให้โลกก้าวเดินไปในทิศทางที่ดีขึ้น กองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) จึงได้จัดสรรเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า มาตรา 97 (5) ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินกิจกรรมเฟ้นหานวัตกรรมทางความคิดเพื่อการบริหารจัดการพลังงานในสถาบันอุดมศึกษา “โครงการ Young Change World Change : คนรุ่นใหม่เปลี่ยนโลก” ปลุกพลังนิสิตนักศึกษาให้ลุกขึ้นมาเปลี่ยนตัวเองโชว์ศักยภาพแล้วลงมือทำเพื่อเปลี่ยนโลกนี้ไปด้วยกัน โดยเริ่มจากแนวคิดสู่การนำไปใช้จริงในสถานศึกษาที่ตนเองศึกษาอยู่ พลังสร้างสรรค์ในการคิดค้นนวัตกรรมด้วยตนเองของนิสิตนักศึกษาจะสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการริเริ่มลงมือทำ จนนำไปสู่การส่งต่อในวงกว้าง โลกเปลี่ยนไปทุกวัน นวัตกรรมต่าง ๆ ก็ต้องก้าวตามให้ทัน เราทุกคนจึงต้องร่วมมือกัน change เพราะ เมื่อ Young Change ต้อง World Change สักวันหนึ่งอย่างแน่นอน

– เป็นนิสิตนักศึกษา ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
– ส่งผลงานเป็นทีม โดยต้องมีสมาชิกในทีม จำนวน 5 คน (1 ทีม ต่อ 1 ผลงาน)
– ทีมที่ผ่านเข้ารอบ ต้องเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการได้ตามวันและเวลาที่กำหนด
หมายเหตุ ไม่สามารถเปลี่ยนตัวสมาชิกได้ ยกเว้นในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งต้องผ่านการพิจารณาและได้รับการอนุมัติจากโครงการก่อน
โจทย์การแข่งขัน/กติกาการแข่งขัน
– เป็นแนวคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการพลังงานในสถาบันอุดมศึกษา ที่ตอบโจทย์การจัดการก๊าซเรือนกระจก ลดคาร์บอนฟุตพรินต์ เน้นความเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านพลังงานกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาด หรือเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้านพลังงานสะอาด
– แนวคิดที่นำเสนอต้องสามารถดำเนินการได้จริง โดยใช้พื้นที่สถาบันการศึกษาของตนเองเป็น sandbox เพื่อทดสอบความเป็นไปได้และความสำเร็จของแนวคิด และมีแนวโน้มที่สามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ได้

– เปิดรับสมัคร และส่งผลงาน วันที่ 1 มีนาคม – 31 พฤษภาคม 2568
– ประกาศผลรอบคัดเลือก 10 ทีมสุดท้ายทางสื่อออนไลน์ของโครงการ วันที่ 12 มิถุนายน 2568
– Boot Camp 2 วัน 1 คืน สัปดาห์สุดท้าย เดือน มิถุนายน 2568
– 10 ทีมพัฒนาแนวคิดให้ออกมาเป็นรูปธรรม (Prototype) วันที่ 1 กรกฎาคม – 15 กันยายน 2568
– Demo Day (Online) 10 ทีมสุดท้าย รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ สัปดาห์ที่ 1 เดือนสิงหาคม 2568
– Pitching Day (วันตัดสินผลงาน) 10 ทีมที่ผ่านเข้ารอบนำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการเพื่อตัดสินหาผู้ชนะ สัปดาห์ที่ 4 เดือนกันยายน 2568
– ประกาศผลตัดสินผู้ชนะการแข่งขัน 5 ทีมสุดท้ายทางสื่อออนไลน์ของโครงการ สัปดาห์ที่ 2 เดือนตุลาคม 2568
– ทีมที่ชนะเลิศรางวัลที่ 1 – 3 นำผลงานไปใช้งานในสถานศึกษาของตนเอง สัปดาห์ที่ 3 เดือนตุลาคม – สัปดาห์ที่ 3 เดือนธันวาคม 2568
– กิจกรรมปิดโครงการ และมอบรางวัล พร้อมประกาศผลรางวัลเชิดชูนวัตกรรม สัปดาห์ที่ 3 เดือนมกราคม 2569
หมายเหตุ ช่วงเวลาและวันที่ที่กำหนดไว้ในแผนเป็นการประมาณการ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น

รอบคัดเลือก
– ทุนพัฒนานวัตกรรมต้นแบบสำหรับ 10 ทีมที่ผ่านเข้ารอบ ทีมละ จำนวน 80,000 บาท
รอบชิงชนะเลิศ
– รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล
ทุนการศึกษา 100,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล
– รองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล
ทุนการศึกษา 70,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล
– รองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล
ทุนการศึกษา 50,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล
– รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล ทุนละ 20,000 บาท
ทุนการศึกษา 40,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
รางวัลเชิดชูนวัตกรรม
– รางวัลแก่ทีมที่นำนวัตกรรมของตนเองไปเผยแพร่ได้อย่างดีเด่น จะได้รับทุนเชิดชูความตั้งใจ 50,000 บาท
– รางวัลแก่สถานศึกษา จะได้รับถ้วยเกียรติยศ “การบริหารจัดการพลังงานในสถาบันการศึกษาดีเด่น” พร้อมเงินสนับสนุนสถานศึกษา จำนวน 50,000 บาท

– ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเกิดจากการสร้างสรรค์ด้วยตัวผู้เข้าแข่งขันเท่านั้น และเป็นผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ หรือต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่เดิม แต่ห้ามมีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นโดยเด็ดขาด หากตรวจพบจะตัดสิทธิ์ และหากมีการร้องเรียนผู้เข้าร่วมต้องรับผิดชอบทั้งหมด
– ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยได้รับรางวัลจากโครงการหรือองค์กรอื่นมาก่อน
– ผลงานที่ส่งเข้าประกวดทุกผลงานถือเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เข้าร่วมประกวด และกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ทั้งนี้ สำนักงาน กกพ. สามารถนำผลงานทั้งหมดไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และแก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือตัดทอนเนื้อหาได้ตามความเหมาะสม โดย มิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ตอบแทนทั้งสิ้น
– ผู้เข้าแข่งขันต้องเข้าร่วมทุกกิจกรรมของโครงการจึงจะมีสิทธิ์รับรางวัล
– ผู้เข้าแข่งขันทุกท่านตกลงอนุญาตให้โครงการทำการบันทึกภาพเคลื่อนไหว เสียง และภาพนิ่ง ของผู้เข้าร่วมแข่งขันได้ตลอดระยะเวลาที่เข้าร่วมกิจกรรม และยินยอมให้โครงการนำภาพเคลื่อนไหว เสียง และภาพนิ่งดังกล่าวไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตก่อน และไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแต่อย่างใด
– หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้น ผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
หลักเกณฑ์การให้คะแนน คะแนนเต็ม 100 คะแนน
– ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรม 5 คะแนน

  • ความเป็นมาของแนวคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการพลังงานในสถาบันอุดมศึกษา
  • ไอเดียในการสร้างนวัตกรรม
    – วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์นวัตกรรม 5 คะแนน
    – เป็นแนวคิดที่ตอบโจทย์การจัดการก๊าซเรือนกระจก ลดคาร์บอนฟุตพรินต์ เน้นความเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านพลังงานกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาด 30 คะแนน
    – ความใหม่และความแตกต่างจากแนวคิดที่มีอยู่เดิมในปัจจุบัน 20 คะแนน
    – ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ได้จริง โดยใช้พื้นที่สถาบันการศึกษาของตนเองเป็น sandbox เพื่อทดสอบความเป็นไปได้และความสำเร็จของแนวคิด และมีแนวโน้มที่จะสามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ได้ 25 คะแนน
    – การพัฒนาต่อยอดแนวคิดอย่างยั่งยืนในระยะยาว 10 คะแนน
    – ทักษะการสื่อสาร คุณภาพของสื่อที่นำเสนอที่ถูกต้องชัดเจน และเข้าใจง่าย 5 คะแนน

– Project Proposal Idea ตามหัวข้อที่โครงการกำหนด ในรูปแบบไฟล์ pdf โดยตั้งชื่อไฟล์ “ชื่อทีม…Proposal”
– Infographic สรุป Idea ที่ส่งเข้าประกวด ขนาด A4 จำนวน 1 แผ่น ในรูปแบบไฟล์ pdf, PNG หรือ JPEG โดยตั้งชื่อไฟล์ “ชื่อทีม… Infographic”
– ลงทะเบียน และจัดส่งผลงานผ่าน Google Forms จาก Link https://forms.gle/NXq3uH5iFhHjN8ur9
ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2568 เวลา 23.59 น. (ยึดตามเวลาที่ปรากฏใน Google Forms ของโครงการเป็นสำคัญ)

นางสาวกมลรัตน์ พาณิชย์เอกไพบูลย์ โทร. 06 3373 4569 / 09 3264 1463
E-mail : [email protected]
Line ID : youngchange
https://www.facebook.com/YoungChangeWorldChange


CAMPHUB ไม่ได้เป็นผู้จัดกิจกรรมนี้ หากมีข้อสงสัยน้องๆ สามารถสอบถามจากผู้จัดได้โดยตรงนะครับ

กดแชร์เอาไว้อ่านทีหลัง หรือแชร์ให้เพื่อน คลิกด้านล่างเลยจ้า

ข้อมูลผู้เขียน

ทีมข่าวค่าย/กิจกรรม CAMPHUB

ส่งข้อมูลค่ายและกิจกรรมการศึกษามาประชาสัมพันธ์ที่เว็บแคมป์ฮับ ฟรี! คลิกเลยที่ www.camphub.in.th/sendcamp